ข้อดีและข้อเสีย ของ Humphrey_field_analyser

ผลผิดปกติ (artefacts) ที่ตาขวาเนื่องจากเหตุต่าง ๆ
A: สภาพไร้แก้วตา (Aphakia)
B: ผลผิดปกติเพราะขอบเลนส์ (rim artefact)
C: คางวางไม่ถูก
D: ตำแหน่งเลนส์
E: กระจกตามัว
F: โรคกระจกตารูปกรวย (Keratoconus)
G: เปลือกตาหย่อน
H: รูม่าตาหด - 1 มม.
I: รูม่าตาหด - 3 มม.

ข้อดี

  • ตรวจลานสายตาอย่างละเอียดโดยมีขั้นตอนที่ทำให้ผลน่าเชื่อถือได้[12]
  • เทียบข้อมูลคนไข้กับคนรุ่นเดียวกัน[12]
  • แยกแยะระหว่างการเสียการเห็นโดยทั่วไป (diffuse loss) กับโดยเฉพาะ ๆ (focal loss)[12]
  • สามารถใช้กับคนไข้ที่ใช้รถเข็น หูไม่ดี มีปัญหาการทรงตัวหรือการตรึงตา และ/หรือเห็นไม่ชัดมาก (very low visual acuity)[12]
  • ให้ค่าวัดพื้นฐาน
  • เจ้าหน้าที่ตรวจและตีความผลได้ง่าย

ข้อเสีย

  • คนไข้ต้องเข้าใจและมีสมาธิดีเมื่อตรวจเทียบกับวิธีตรวจอื่น ๆ[9]
  • ใช้เวลามาก
  • การเรียนรู้มีผล คือคนไข้ใหม่จะทำการทดสอบได้ดีขึ้นเพราะเข้าใจสถานการณ์การตรวจสอบ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการตรวจครั้งที่สามเป็นผลบรรทัดฐาน[24]
  • โอกาสเกิดผลผิดปกติ (artefacts) ต่อไปนี้เป็นรายการของผลผิดปกติและรูปแบบที่มันเกิด แต่เป็นเรื่องที่แก้ได้ถ้าเตรียมตัวกับคนไข้ให้ถูกต้อง
    • สายตาผิดปกติ (refractive error) ที่ไม่ได้แก้, สภาพไร้แก้วตา (aphakia) ซึ่งทำให้ลานสายตาไวแสงลดลงอย่างสำคัญ[3]
    • ขอบเลนส์อาจทำให้ตาดูเหมือนเสียหายจากต้อหิน[25]
    • กระจกตาที่ขุ่นหรือโรคกระจกตารูปกรวย (keratoconus) ทำให้ตาไวแสงน้อยลง[3]
    • เปลือกตาหย่อน (Ptosis) ทำให้เสียลานสายตาด้านบน[3]
    • รูม่าตาหด (Miosis) ทำให้เสียลานสายตารอบ ๆ[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: Humphrey_field_analyser http://go.galegroup.com.ez.library.latrobe.edu.au/... http://search.proquest.com.ez.library.latrobe.edu.... http://www.optometry.org.au/vic/practice-info/driv... http://archopht.jamanetwork.com/article.aspx?artic... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2094527 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4064971 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17320924 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18326712 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24802595 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24950300