บริษัทที่มีส่วนร่วมในการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ของ กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก

บริษัทที่เข้าถือหุ้นใน บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทที่มีส่วนร่วมในกรณีการซื้อขายหุ้นครั้งนี้

กุหลาบแก้ว

บริษัท กุหลาบแก้ว จัดตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549 (ก่อนหน้าการซื้อขายหุ้น 11 วัน) มีผู้ถือหุ้นดังนี้

  1. นายสมยศ สุธีรพรชัย (สัญชาติไทย, อาชีพทนายความ) 5,094 หุ้น (50.09%)
  2. บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ (นิติบุคคลต่างด้าว) 4,900 หุ้น (49%)
  3. และบุคคลธรรมดา (สัญชาติไทย) อีก 6 คน คนละ 1 หุ้น

รวมมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยทั้งหมด 51% และต่างชาติ 49% โดยหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยทั้งหมด เป็นหุ้นบุริมสิทธิ (หุ้นด้อยสิทธิ) และหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติทั้งหมด เป็นหุ้นสามัญ ในการประชุมจัดตั้งบริษัทกุหลาบแก้ว มีมติให้หุ้นบุริมสิทธิ 10 หุ้น มีสิทธิออกเสียงในประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง และจำกัดเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิไว้ที่ร้อยละ 3 รวมสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยมีสิทธิออกเสียง 510 เสียง และผู้ถือหุ้นต่างชาติ 4,900 เสียง อำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จจึงอยู่กับผู้ถือหุ้นต่างชาติ

ซีดาร์ โฮลดิ้งส์

บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์

มีผู้ถือหุ้นดังนี้

  1. บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ (นิติบุคคลต่างด้าว) 48.99%
  2. บริษัท กุหลาบแก้ว (นิติบุคคลสัญชาติไทย) 41.1%
  3. ธนาคารไทยพาณิชย์ (นิติบุคคลสัญชาติไทย) 9.9%

ทำให้ในทางกฎหมายแล้ว บริษัทซีดาร์ฯ เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย (มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ 51%) แต่เมื่อดูเสียงผู้ถือหุ้นในการควบคุมการดำเนินงานของบริษัทแล้ว จะพบว่าเป็นสัดส่วนของต่างชาติถึง 90% ผ่านบริษัทไซเพรส 48.99% และกุหลาบแก้ว (ซึ่งอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจอยู่ที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติ) 41.1%

ใกล้เคียง

กรณีตากใบ กรณีตระกุลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2553 กรณีเรือคารีน เอ กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง