แหล่งของกรดลิโนเลนิกอัลฟาในอาหาร ของ กรดลิโนเลนิกอัลฟา

สูตรโครงสร้างกรดลิโนเลนิกอัลฟา

น้ำมันจากเมล็ดเป็นแหล่งกรดลิโนเลนิกอัลฟาที่สมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะจากกัญชง ชีอา เพริลลา (perilla) แฟลกซ์ (ที่ให้น้ำมันแฟลกซ์)แต่ก็อาจได้จากเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (thylakoid membrane) จากใบถั่วลันเตา (Pisum sativum)[7]คลอโรพลาสต์ของพืชที่มีเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ซึ่งมีหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงยืดหยุ่นได้ดีมากเพราะมีกรดลิโนเลนิกในระดับสูง[8]

งานศึกษาบางงานระบุว่า ALA จะเสถียรเมื่อสกัดจากเมล็ดหรือเมื่อประกอบอาหาร[9]แต่งานอื่น ๆ ก็ระบุว่า อาจไม่เหมาะใช้อบอาหาร เพราะจะทำพอลิเมอไรเซชันกับตัวเอง เป็นคุณลักษณะที่สามารถใช้ทำสีโดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นโลหะทรานซิชันALA บางส่วนอาจออกซิไดซ์เมื่ออบ[10]เปอร์เซ็นต์ของ ALA ในตารางต่อไปนี้หมายถึงน้ำมันที่สกัดได้จากพืชผลแต่ละอย่าง

ชื่อสามัญชื่ออื่นชื่อสปีชีส์% ALA†(ในน้ำมัน)อ้างอิง
ชีอาchia sageSalvia hispanica64%[11]
เมล็ดกีวีChinese gooseberryActinidia chinensis62%[11]
เพริลลาshisoPerilla frutescens58%[11]
แฟลกซ์linseedLinum usitatissimum55%[11]
LingonberrycowberryVaccinium vitis-idaea49%[11]
CamelinacamelinaCamelina sativa35-45%
ผักเบี้ยใหญ่portulacaPortulaca oleracea35%[11]
Sea buckthornseaberryHippophae rhamnoides L.32%[12]
กัญชงcannabisCannabis sativa20%[11]
วอลนัตEnglish walnut / Persian walnutJuglans regia10.4%[13]
ผักกาดก้านขาวcanolaBrassica napus10%[2]
ถั่วเหลืองsoyaGlycine max8%[2]
  ค่าเฉลี่ย

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรดลิโนเลนิกอัลฟา http://www.drugbank.ca/drugs/DB00132 http://www.chemspider.com/4444437 http://www.monsanto.com/monsanto/layout/media/06/0... http://sofa.mri.bund.de/ http://www.hort.purdue.edu/newcrop/proceedings1999... http://www.metabolicengineering.gov/me2005/Kinney.... http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1066200 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1266662 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3497923