กระซู่ในเชิงวัฒนธรรม ของ กระซู่

ภาพวาดกระซู่ในปี ค.ศ. 1927

นอกจากกระซู่สองสามตัวในสวนสัตว์และภาพในหนังสือแล้ว กระซู่เป็นที่รู้จักน้อยมาก มักถูกข่มให้ด้อยลงด้วยแรดอินเดีย แรดดำ และแรดขาว อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ คลิปวิดีโอของกระซู่ในถิ่นอาศัยตามธรรมชาติและในศูนย์เพาะพันธุ์ได้ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์สารคดีธรรมชาติหลายเรื่อง ภาพยนตร์ที่แพร่หลายคือภาพยนตร์สารคดีภูมิศาสตร์เอเชีย The Littlest Rhino (แรดน้อย) Natural History New Zealand (ธรรมชาติประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์) ได้ฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับกระซู่ที่ถ่ายโดยตากล้องอิสระเชื้อสายอินโดนีเซีย อาไลน์ โจมโปส์ต (Alain Compost) ในสารคดีปี พ.ศ. 2544 The Forgotten Rhino (แรดที่ถูกลืม) ซึ่งมีเนื้อเรื่องหลักเป็นแรดชวาและแรดอินเดีย[56][57]

แม้ว่าจะมีรายงานถึงมูล และร่องรอย แต่รูปของกระซู่ใบแรกที่ถ่ายได้และแพร่หลายอย่างกว้างขวางโดยนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ได้มาจากกับดักกล้องที่ถ่ายภาพกระซู่โตเต็มที่ แข็งแรง ในป่าของรัฐซาบะฮ์ในมาเลเซียตะวันออกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549[58] ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 กล้องได้จับคลิปวิดีโอของแรดบอร์เนียวป่าได้เป็นครั้งแรก คลิปวิดีโอในตอนกลางคืนนั้นได้แสดงถึงว่ากระซู่กินอาหาร เดินฝ่าพุ่มไม้ และเข้ามาดมกล้องด้วยความสงสัย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลได้ใช้คลิปวิดีโอนี้มาพยายามที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลท้องถิ่นเพื่อเปิดพื้นที่ให้เป็นเขตอนุรักษ์กระซู่[59][60]

ได้มีการรวบรวมนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับกระซู่โดยนักธรรมชาติวิทยาในสมัยล่าอาณานิคมและนายพรานตอนกลางของคริสต์ทศวรรษ 1800 ถึงตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1990 ในพม่ามีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่ากระซู่กันไฟ ตำนานได้ระบุบว่ากระซู่จะตามควันมาถึงกองไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคมป์ไฟ และจะโจมตีแคมป์ และมีชาวพม่าที่เชื่อว่าเวลาในการล่ากระซู่ที่ดีที่สุดคือเดือนกรกฎาคมเพราะกระซู่จะมาชุมนุมกันใต้ดวงจันทร์เต็มดวง ในมาลายามีคำบอกเล่าว่านอกระซู่กลวงเป็นโพรง สามารถใช้เป็นท่อสำหรับหายใจและฉีดน้ำ ในมาลายาและเกาะสุมาตรามีความเชื่อว่าแรดผลัดนอทุกปีและฝังมันไว้ใต้พื้นดิน ในเกาะบอร์เนียว มีคำบอกเล่าว่ากระซู่มีพฤติกรรมการกินเนื้อที่แปลก หลังจากขับถ่ายในลำธารแล้ว มันก็หันกินปลาที่มึนงงจากมูลของมัน[27]

ในประวัติศาสตร์ไทย มีข้อความพรรณนาถึงการละเล่นชนแรดในสมัยอยุธยา ปรากฏในวรรณคดีสมุทรโฆษคำฉันท์ รวมถึงการบันทึกของชาวตะวันตก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนานหรือเป็นมหรสพอย่างหนึ่งของผู้คนในสมัยนั้น เช่นเดียวกับเสือสู้กับช้าง โดยผู้ที่เลี้ยงแรดเรียกกันว่า ควาญ เช่นเดียวกับช้าง การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดถึงขั้นตัวที่แพ้เป็นฝ่ายหงายท้องล้มตึง เชื่อกันว่าแรดที่ใช้ชนกันนั้นคือ กระซู่ และหนึ่งในนั้นเชื่อกันว่าเป็นกระซู่ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วย [61]

การเผยแพร่ในสื่อ

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า
  • ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า ซึ่งหนึ่งในนั้นด้านหลังเหรียญเป็นรูปกระซู่ ยืนหันหน้าไปทางขวา ตัวเหรียญมีราคา 50 บาท [62]
  • เพราะชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้านของกระซู่ จึงได้มีการพิมพ์แสตมป์เป็นรูปกระซู่เป็นจำนวนหลาย ๆ ครั้ง เช่น แสตมป์ราคา 25 เซนต์ของบอร์เนียวเหนือ แสตมป์ราคา 75 เซน พ.ศ. 2503 และ แสตมป์ชุดองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลของประเทศอินโดนีเซียที่พิมพ์ในปี พ.ศ. 2539 เป็นต้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: กระซู่ ftp://ftp.aip.org/epaps/acoust_res_lett/E-ARLOFJ-4... ftp://ftp.aip.org/epaps/acoust_res_lett/E-ARLOFJ-4... ftp://ftp.aip.org/epaps/acoust_res_lett/E-ARLOFJ-4... http://www.asiageographic.com/html/lilrhino.htm http://books.google.com/books?id=vDijgNs_7Q0C&pg=P... http://www.latimes.com/news/printedition/front/la-... http://www.rhinoresourcecenter.com http://www.rhinoresourcecenter.com/index.php?s=1&a... http://www.rhinoresourcecenter.com/species/sumatra... http://www.sarakadee.com/feature/1999/11/rhinocero...