การอนุรักษ์ ของ กระซู่

กระซู่ ชนิดย่อย D. s. lasiotis เพศผู้ที่สวนสัตว์ลอนดอน ซึ่งเคยพบในอินเดีย พม่า และไทย ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว,[45]ภาพนี้ถ่ายราวปีพ.ศ. 2447กระซู่ ชนิดย่อย D. s. lasiotis เพศเมีย ชื่อ Begum ในสวนสัตว์ลอนดอน

กระซู่มีการกระจายพันธุ์เกือบตลอดทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันกลับเหลือกระซู่อยู่เพียง 300 ตัวเท่านั้น ถึงแม้ว่ากระซู่นั้นจะไม่หายากเท่าแรดชวา ประชากรของมันก็อยู่กระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ไม่เหมือนกับประชากรของแรดชวาที่อาศัยอยู่ร่วมกันในคาบสมุทรอูจุงกูลอนในชวา ขณะที่จำนวนแรดชวาในอูจุงกูลอนเกือบจะคงที่ เชื่อกันว่าจำนวนกระซู่กลับกำลังลดลง IUCN มีการจัดสถานะการอนุรักษ์ของกระซู่เป็นถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติเพราะจากการล่าอย่างผิดกฎหมายและมีการกระจายพันธุ์ในถิ่นอาศัยที่เป็นป่าดิบชื้นซึ่งถิ่นอาศัยที่เหลืออยู่เป็นพื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาที่ยากจะเข้าถึงในประเทศอินโดนีเซีย[46][47] นอกจากนี้แล้ว ไซเตสได้จัดกระซู่อยู่ในบัญชีอนุรักษ์หมายเลข 1 และกระซู่เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

กระซู่ในกรงเลี้ยง

เอมีและฮาราปัน กระซู่สายพันธุ์ย่อย D.s. sumatrensis ที่สวนสัตว์ซินซินนาติPuntung กระซู่ชนิดย่อย D. s. harrissoni กำลังแช่ปลักในสถานเพาะเลี้ยง กระซู่ตัวนี้จับได้ในรัฐซาบะฮ์ ในปีพ.ศ. 2554 เพื่อเข้าโครงการอนุรักษ์

แม้จะหายาก แต่ก็มีการจัดแสดงกระซู่อยู่ในบางสวนสัตว์เกือบศตวรรษครึ่ง สวนสัตว์ลอนดอนได้รับกระซู่ 2 ตัวในปี พ.ศ. 2415 หนึ่งในนั้นเป็นเพศเมียชื่อ บีกัม (Begum) จับได้ที่จิตตะกอง (Chittagong) ในปี พ.ศ. 2411 และมีชีวิตรอดได้ถึงปี พ.ศ. 2443 เป็นกระซู่ที่มีอายุมากที่สุดในกรงเลี้ยงที่มีบันทึกไว้ ในเวลาที่ได้รับกระซู่มานั้น ฟิลลิป สเคลเตอร์ (Philip Sclater) เลขานุการสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอนอ้างว่ากระซู่ตัวแรกในสวนสัตว์เป็นกระซู่ที่อยู่ในสวนสัตว์ฮัมบวร์คตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 ก่อนที่กระซู่ชนิดย่อย Dicerorhinus sumatrensis lasiotis จะสูญพันธุ์ มีกระซู่ชนิดนี้อย่างน้อย 7 ตัวในสวนสัตว์และโรงละครสัตว์[27] กระซู่มีสุขภาพและการเจริญเติบโตไม่ดีนักเมื่ออยู่นอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ กระซู่ในสวนสัตว์กัลกัตตาได้ให้กำเนิดลูกในปี พ.ศ. 2432 แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ไม่มีลูกกระซู่เกิดในสวนสัตว์อีกเลย ในปี พ.ศ. 2515 กระซู่ตัวสุดท้ายในกรงเลี้ยงได้ตายลงที่สวนสัตว์โคเปนเฮเกน[27] ประเทศไทยเองก็เคยนำกระซู่เพศเมียมาจัดแสดงที่สวนสัตว์ดุสิต โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย มีชื่อว่า ลินจง แต่ตายไปในปี พ.ศ. 2529[48][49]

ถึงแม้ว่าการขยายพันธุ์กระซู่ในกรงเลี้ยงจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1980 องค์กรได้เริ่มโปรแกรมขยายพันธุ์กระซู่อีกครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2527-2539 โปรแกรมการอนุรักษ์ ex situ ได้จับกระซู่จำนวน 40 ตัวจากถิ่นอาศัยและส่งไปตามสวนสัตว์และเขตสงวนทั่วโลก ขณะที่ความหวังในตอนเริ่มโปรแกรมมีสูงมาก และได้มีการศึกษาถึงพฤติกรรมกระซู่ในกรงเลี้ยงมากมาย แต่เมื่อถึงตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ไม่มีกระซู่ในโปรแกรมให้กำเนิดลูกแม้แต่ตัวเดียว ในปี พ.ศ. 2540 กลุ่มเชี่ยวชาญพิเศษในแรดเอเชียของ IUCN ได้เข้ามารับรอง ประกาศถึงความล้มเหลวว่า แม้อัตราการตายเป็นที่ยอมรับได้ แต่ไม่มีลูกกระซู่เกิดขึ้นมาเลย และมีกระซู่ตายถึง 20 ตัว[9][30] ในปี พ.ศ. 2547 มีการระบาดของโรคพยาธิในเลือดทำให้กระซู่ในศูนย์อนุรักษ์ที่อยู่ในมาเลเซียตะวันตกตายทั้งหมด ทำให้จำนวนกระซู่ในกรงเลี้ยงลดลงเหลือ 8 ตัว[35][47]

มีกระซู่ 7 ตัวที่ถูกส่งไปสหรัฐอเมริกา (ที่เหลืออยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) แต่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2540 จำนวนกระซู่ก็เหลือเพียงแค่ 3 ตัวคือ เพศเมียที่สวนสัตว์ลอสแอนเจลิส เพศผู้ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ และเพศเมียที่สวนสัตว์บร็องซ์ ท้ายที่สุดก็ได้ย้ายกระซู่ทั้งสามมาอยู่ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ หลังความพยายามที่ล้มเหลวเป็นปี เพศเมียจากลอสแอนเจลิส เอมี (Emi) ก็ตั้งท้องถึงหกครั้งกับเพศผู้ อีปุห์ (Ipuh) ห้าครั้งแรกจบลงด้วยความล้มเหลว แต่นักวิจัยได้เรียนรู้จากความล้มเหลวนั้น และด้วยการช่วยเหลือด้วยการบำบัดด้วยฮอร์โมนพิเศษ เอมีจึงให้กำเนิดลูกเพศผู้ที่ชื่อ อันดาลัส (Andalas) (คำในวรรณคดีอินโดนีเซียที่ใช้เรียก "สุมาตรา") ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2544[50] การให้กำเนิดอันดาลัสนับเป็นความสำเร็จครั้งแรกใน 112 ปี ที่กระซู่สามารถให้กำเนิดลูกในกรงเลี้ยงได้ ลูกกระซู่เพศเมีย ชื่อ ซูจี (Suci) (มาจากภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า "บริสุทธิ์") ก็ถือกำเนิดเป็นตัวถัดมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[51] ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2550 เอมีได้ให้กำเนิดลูกเป็นครั้งที่สาม เป็นเพศผู้ตัวที่สอง ชื่อ ฮาราปัน (Harapan) (มาจากภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า "ความหวัง") หรือ แฮร์รี่[44][52] ในปี พ.ศ. 2550 อันดาลัสก็ได้ย้ายจากสวนสัตว์ลอสแอนเจลิสกลับสู่สุมาตราเพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมขยายพันธุ์กระซู่กับเพศเมียที่มีสุขภาพดี[42][53] เอมีได้ตายลงเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2552 [54] Harapan กระซู่ตัวสุดท้ายในสวนสัตว์ Cincinnati ได้กลับสู่อินโดนีเซีย เมื่อปี 2558 เพื่อเข้าสู่โปรแกรมการขยายพันธุ์ ปัจจุบันกระซู่ในที่เลี้ยงทั้งหมดอยู่ในอินโดนีเซีย และมาเลเซีย[55]

ทั้งที่การเพาะพันธุ์กระซู่ที่สวนสัตว์ซินซินนาติประสบผลสำเร็จ โปรแกรมการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงก็ยังคงเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่ ผู้เห็นด้วยให้เหตุผลว่าสวนสัตว์ได้ช่วยเหลือถึงความพยายามที่จะอนุรักษ์ด้วยการศึกษาพฤติกรรมการสืบพันธุ์ เพิ่มความตระหนักและการศึกษาในกระซู่ให้แก่สาธารณชน และช่วยเพิ่มแหล่งกองทุนสำหรับความพยายามที่จะอนุรักษ์กระซู่ในสุมาตรา ผู้คัดค้านกลับแย้งว่า มีการสูญเสียมากเกินไป โปรแกรมแพงเกินไป มีการเคลื่อนย้ายกระซู่จากถิ่นอาศัย แม้เพียงชั่วคราว มีการปรับเปลี่ยนบทบาททางนิเวศวิทยา และประชากรที่จับมาเข้าโปรแกรมไม่สมดุลกับอัตราการพบกระซู่ในถิ่นอาศัยทางธรรมชาติที่ได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี[9][42]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กระซู่ ftp://ftp.aip.org/epaps/acoust_res_lett/E-ARLOFJ-4... ftp://ftp.aip.org/epaps/acoust_res_lett/E-ARLOFJ-4... ftp://ftp.aip.org/epaps/acoust_res_lett/E-ARLOFJ-4... http://www.asiageographic.com/html/lilrhino.htm http://books.google.com/books?id=vDijgNs_7Q0C&pg=P... http://www.latimes.com/news/printedition/front/la-... http://www.rhinoresourcecenter.com http://www.rhinoresourcecenter.com/index.php?s=1&a... http://www.rhinoresourcecenter.com/species/sumatra... http://www.sarakadee.com/feature/1999/11/rhinocero...