หน้าที่ ของ กระดูกหู

เมื่อคลื่นเสียงเดินทางเข้ามาในหูชั้นนอก และทำให้เยื่อแก้วหูสั่นสะเทือน จะทำให้กระดูกค้อนซึ่งเป็นกระดูกที่ถัดเข้ามาและยึดเกาะกับเยื่อแก้วหูเคลื่อนที่ กระดูกค้อนจะส่งผ่านความสั่นสะเทือน ผ่านกระดูกทั่ง ไปยังกระดูกโกลน และสุดท้ายไปยังเยื่อของช่องรูปไข่ซึ่งเป็นทางเปิดเข้าสู่เวสทิบูลของหูชั้นใน

กระดูกหูมีประโยชน์ในแง่การขยายสัญญาณเสียงโดยหลักการได้เปรียบเชิงกลผ่านกลไกของคานและการลดพื้นที่ของการกระจายแรง ซึ่งการสั่นสะเทือนลัพธ์จะน้อยกว่าถ้าคลื่นเสียงถูกส่งจากหูชั้นนอกไปยังช่องรูปไข่โดยตรง อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ของกระดูกหูนั้นถูกควบคุมได้โดยกล้ามเนื้อเล็กๆ บางมัด เช่น กล้ามเนื้อเทนเซอร์ ทิมพานี (tensor tympani) และกล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) เชื่อว่ากล้ามเนื้อเหล่านี้หดตัวเพื่อลดการสั่นสะเทือนของกระดูกหูเพื่อป้องกันหูชั้นในจากเสียงที่ดังมากเกินไป และเชื่อว่าช่วยในการจำแนกความถี่ของเสียงความถี่สูงให้ดีขึ้นโดยการลดการส่งผ่านเสียงความถี่ต่ำ กล้ามเนื้อเหล่านี้จะพัฒนาดีในสัตว์พวกค้างคาวซึ่งมีประโยชน์ในการยับยั้งการส่งผ่านเสียงร้องของตัวเองในหูระหว่างการส่งเสียงสะท้อนนำทาง (echolocation) (โซนาร์)

ในบางครั้งข้อต่อระหว่างกระดูกหูอาจเกิดไม่ยืดหยุ่น เช่น โรคหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลน (otosclerosis) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกระดูกโกลนกับช่องรูปไข่ ทำให้เกิดภาวะสูญเสียการได้ยินและต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด

ใกล้เคียง

กระดูกหู กระดูกหุ้มสมอง กระดูกหัก กระดูกหน้าผาก กระดูกหักแบบสมิธ กระดูกหักแบบโรลันโด กระดูกหักแบบคอลลิส กระดูกหักแบบโชเฟอร์ กระดูกห้องหูชั้นใน กระดูกหักแบบเมซอเนิฟว์