กระแสสีชมพู

กระแสสีชมพู (สเปน: marea rosa; โปรตุเกส: maré rosa; ฝรั่งเศส: mareé rose; อังกฤษ: pink tide) หรือ การเลี้ยวซ้าย (สเปน: giro a la izquierda; โปรตุเกส: guinada à esquerda; ฝรั่งเศส: tourne à gauche; อังกฤษ: turn to the left) เป็นคลื่นการปฏิวัติและการรับรู้ของการหันเหไปทางรัฐบาลฝ่ายซ้ายในระบอบประชาธิปไตยของลาตินอเมริกา โดยออกห่างจากรูปแบบทางเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ มีการนำวลีทั้งสองมาใช้ในการวิเคราะห์ทางการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ร่วมสมัยในสื่อและที่อื่น ๆ เพื่ออ้างถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นตัวแทนของการย้ายไปสู่นโยบายเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามากขึ้น และสอดคล้องกับแนวโน้มคู่ขนานของการทำให้เป็นประชาธิปไตยในลาตินอเมริกา หลังจากนับทศวรรษของความเหลื่อมล้ำ[1][2][3]เหล่าประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มทางอุดมการณ์นี้ถูกเรียกว่ากลุ่มชาติกระแสสีชมพู[4] โดยมีการใช้ศัพท์แนวคิดหลังเสรีนิยมใหม่เพื่ออธิบายการขับเคลื่อนเช่นกัน[5] รัฐบาลกระแสสีชมพูบางแห่งเช่นรัฐบาลของบราซิลและเวเนซุเอลา[6] มีลักษณะที่แตกต่างกันไปในการต่อต้านสหรัฐ[7][8] ประชานิยม[9][10][11][12][13] และความโน้มเอียงไปทางอำนาจนิยม[10][14]กระแสสีชมพูตามมาด้วยคลื่นอนุรักษนิยม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 ในอเมริกาใต้ และเป็นปฏิกิริยาโดยตรงต่อกระแสสีชมพู อย่างไรก็ตาม กระแสสีชมพูฟื้นตัวขึ้นใน ค.ศ. 2018–2019 หลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องของผู้สมัครฝ่ายซ้ายและซ้ายกลางในเม็กซิโก ปานามา และอาร์เจนตินา[15][16]ในช่วงสงครามเย็น หลายรัฐบาลฝ่ายซ้ายได้รับการเลือกตั้งในลาตินอเมริกา รัฐบาลเหล่านี้ต้องเผชิญกับรัฐประหารที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ทางภูมิยุทธศาสตร์ในภูมิภาค[17][18][19][20] รัฐประหารเหล่านั้นคือ รัฐประหารในกัวเตมาลา ค.ศ. 1954, รัฐประหารในบราซิล ค.ศ. 1964, รัฐประหารในชิลี ค.ศ. 1973 และรัฐประหารในอาร์เจนตินา ค.ศ. 1976 รัฐประหารเหล่านี้ตามมาด้วยการปกครองระบอบเผด็จการทหารฝ่ายขวา และเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการคอนดอร์ของรัฐบาลสหรัฐระบอบเผด็จการเหล่านี้ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประการ รวมถึงการควบคุมตัวนักโทษการเมืองและสมาชิกครอบครัวอย่างผิดกฎหมาย การทรมาน การหายตัว และการค้าเด็ก[21][22] ระบอบการปกครองเหล่านี้เริ่มเสื่อมลงเนื่องจากแรงกดดันจากนานาชาติและเสียงคัดค้านอย่างรุนแรงจากภายในสหรัฐ กดดันให้วอชิงตันต้องสละการสนับสนุนพวกเขา และกระบวนการประชาธิปไตยใหม่เริ่มขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 จนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990ยกเว้นคอสตาริกา ทุกประเทศในลาตินอเมริกาจะมีประสบการณ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งกับเผด็จการที่สหรัฐสนับสนุน ได้แก่[23] ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา ของคิวบา, ราฟาเอล ตรูฮิโย ของสาธารณรัฐโดมินิกัน, ตระกูลโซโมซาของนิการากัว, ติบูร์ซิโอ การิอัส อันดิโน ของฮอนดูรัส, การ์โลส กัสติโย อาร์มัส ของกัวเตมาลา, อูโก บันเซร์ ของโบลิเวีย, ฆวน มาริอา บอร์ดาเบร์ริ ของอุรุกวัย, ฆอร์เฆ ราฟาเอล บิเดลา ของอาร์เจนตินา, เอากุสโต ปิโนเช ของชิลี, อัลเฟรโด เอสโตรสเนร์ ของปารากวัย, ฟร็องซัว ดูว์วาลีเย ของเฮติ, อาร์ตูร์ ดา กอสตา อี ซิลวา และผู้สืบทอดตำแหน่ง เอมีลียู การัสตาซู แมจีซี ของบราซิล และมาร์โกส เปเรซ ฮิเมเนซ ของเวเนซุเอลา ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านชาวอเมริกันเป็นอย่างมากในภาคส่วนต่าง ๆ ของประชากร[24][25][26][27]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กระแสสีชมพู http://bennorton.com/victims-of-operation-condor-b... http://www.boston.com/news/globe/ideas/articles/20... http://www.clarin.com/suplementos/especiales/2006/... http://archives.cnn.com/2000/WORLD/americas/09/19/... http://findarticles.com/p/articles/mi_qa3821/is_20... http://www.pittsburghlive.com/x/pittsburghtrib/s_3... http://www.press.uchicago.edu/ucp/books/book/chica... http://yalepress.yale.edu/book.asp?isbn=9780300119... http://www.sustainabilitank.info/category/latin-am... //doi.org/10.1590%2FS0102-8529.2016380100001