ประวัติ ของ กร็อง-ปลัส

ถูกทำลายและก่อสร้างใหม่

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1695 กองทัพฝรั่งเศสกว่า 70,000 นาย นำโดยจอมพลฟร็องซัว เดอ เนิฟวิลล์ ดยุกแห่งวิเยอรัว ได้เปิดฉากถล่มกรุงบรัสเซลส์เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของกองกำลังฝ่ายสันนิบาตออกส์เบิร์กจากการบุกล้อมนามูร์ซึ่งในขณะนั้นเป็นของฝรั่งเศส โดยได้ถล่มด้วยปืนใหญ่และปืนครกจำนวนมากมายเข้าไปยังภายในใจกลางเมืองทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ไปทั่วนครบรัสเซลส์ในขณะนั้น รวมทั้งสร้างความเสียหายอย่างมากแก่กร็อง-ปลัส และอาคารบ้านเรือนโดยรอบ โดยหลังจากเพลิงสงบลงตัวอาคารของศาลาว่าการนั้นเหลือเพียงแต่โครงเปลือกด้านนอกเท่านั้น

หมู่อาคารโดยรอบจัตุรัสรายละเอียดของอาคารที่สร้างโดยกลุ่มกิลด์ (Guildhalls)

จัตุรัสกร็อง-ปลัสนั้นต่อมาได้ใช้เวลาบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมดกว่าสี่ปีเต็มโดยฝีมือของกลุ่มกิลด์แห่งบรัสเซลส์ โดยมาจากการอนุญาตโดยสภาที่ปรึกษาของเมือง และผู้ว่าการกรุงบรัสเซลส์ในขณะนั้นซึ่งให้ส่งแบบประกวดของกร็อง-ปลัสเพื่ออนุมัติการก่อสร้าง ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ตัวอาคารทั้งหมดโดยรอบจัตุรัสนั้นจึงได้สวยงามกันอย่างกลมกลืนในแบบสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะต้องตั้งอยู่คู่กับศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ ซึ่งถูกสร้างในแบบสถาปัตยกรรมกอทิก บาโรก และหลุยส์ที่ 14

ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เหล่านักปฏิวัติได้บุกเข้ายึดบริเวณจัตุรัสและทำลายรูปปั้นอันเป็นสัญลักษณ์ของระบบศักดินา และศาสนา[2] อาคารโดยรอบซึ่งสร้างและออกแบบโดยกลุ่มกิลด์ (Guildhalls) ได้ถูกริบเป็นของรัฐและถูกขายทอดตลาด ทำให้ต่อมาตัวอาคารต่างๆนั้นถูกทิ้งร้างและอยู่ในสภาพทรุดโทรมจากมลภาวะ และฤดูกาล และต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ว่าฯ ชาลส์ บุล ได้คืนความงดงามของจัตุรัสนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มีโครงการปรับปรุงและบูรณะอาคารต่างๆให้กลับมาอยู่ในสภาพงดงามเช่นเดิม


คริสต์ศตวรรษที่ 20

จัตุรัสกร็องปลัส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นยังคงมีสภาพเป็นตลาดจนกระทั่งวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 และยังคงเรียกว่าเป็น ตลาดใหญ่ หรือ Grote Markt ในภาษาดัตช์ ถนนรายรอบจัตุรัสนั้นยังคงสะท้อนถึงสภาพเดิมในความเป็นตลาด โดยมักจะตั้งชื่อถนนตามห้างร้านต่างๆ เช่น เนย, ชีส, ปลาแฮริ่ง, ถ่านหิน ฯลฯ จุตรัสแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยองค์การยูเนสโกในปีค.ศ. 1998 อาคารหลังหนึ่งในบริเวณจัตุรัสนั้นเป็นของผู้ผลิตเบียร์ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เบียร์

จัตุรัสกร็องปลัส ได้รับการโหวตชื่อให้เป็นจัตุรัสที่สวยงามที่สุดในยุโรปเมื่อปีค.ศ. 2010 จากการสำรวจ[3]โดยเว็บไซต์ดัตช์ (stedentripper.com[4]) โดยให้ร่วมเสนอชื่อโหวตจัตุรัสต่างๆในทวีปยุโรป ผลการสำรวจนั้นได้คะแนนเหนือจัตุรัสแดงที่กรุงมอสโก และจัตุรัสสตานิสลาสที่น็องซี โดยมีคะแนนตามมาเป็นอันดับที่สอง และสาม ตามลำดับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: กร็อง-ปลัส http://www.aam.be/fr/edit_lvres_uni007.html http://www.ilotsacre.be/site/en/curiosities/grand_... http://www.eurobru.com/monum003.htm http://www.stedentripper.com/blog/2792/mooiste-ple... http://www.trabel.com/brussel/brussels-touristattr... http://www.wantedworldwide.net/news/7132/brussels_... http://whc.unesco.org/en/list http://whc.unesco.org/en/list/857 http://whc.unesco.org/en/list/?search=&search_by_c... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...