กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว หรือ เหวยเว่ยจิ้วจ้าว (อังกฤษ: Besiege Wèi to rescue Zhào; จีนตัวย่อ: 围魏救赵; จีนตัวเต็ม: 圍魏救趙; พินอิน: Wéi Wèi jiù Zhào) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้เกิดกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยระแวดระวังมีความห่วงหน้าพะวงหลังแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตามความหมายของตำราพิชัยสงครามคือ การบุกเข้าโจมตีในจุดที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โจมตีในจุดที่ศัตรูไม่ได้เตรียมการตั้งรับและคอยระวังป้องกัน ย่อมถือว่าได้เปรียบและได้รับชัยชนะมาแล้วครึ่งหนึ่งในการทำศึกสงคราม การบุกเข้าโจมตีศัตรูจะบุกเข้าทางด้านหน้า ซึ่งเป็นเพียงกลอุบายหลอกล่อให้ศัตรูหลงทิศและนำกำลังบุกเข้าโจมตีทางด้านหลัง การแสร้งบุกโจมตีทางด้านตะวันออกแต่จริงแล้วบุกเข้าโจมตีทางด้านตะวันตก การทำให้ศัตรูคาดเดาแผนการรบไม่ถูก ทำให้เกิดความสับสนในการวางกำลังป้องกันฐานทัพ พึงหักเอาในขณะที่ศัตรูเป็นฝ่ายที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม เข้าจู่โจมในยามที่ศัตรูไม่ได้คาดคิด ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "เมื่อเห็นจุดอ่อนเปราะของศัตรู เราต้องใช้กลยุทธ์พิสดารโจมตี"[1] ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าวไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกให้โจโฉนำทัพไปรบกับซุนกวน และบุกเข้ายึดฮันต๋งจากโจโฉได้สำเร็จ[2]

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว

ประเภท กลยุทธ์ชนะศึก
สาเหตุ เล่าปี่เกรงจะเสียเสฉวนให้แก่โจโฉ จูกัดเหลียงจึงวางกลอุบายเพื่อรักษาเสฉวน
ผู้ร่วมกลศึก เล่าปี่, อีเจี้ย, ซุนกวน
กลศึกถัดไป กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน
ผู้ต้องกลศึก โจโฉ
สถานที่ ฮันต๋ง
ผู้วางกลศึก จูกัดเหลียง
ผลลัพธ์ โจโฉเสียฮันต๋งให้แก่เล่าปี่
กลศึกก่อนหน้า กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล
หลักการ เข้าตีที่มั่นของศัตรู บีบบังคับให้เข้าหา

ใกล้เคียง

กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงวิวัฒนาการ กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์หลบหนี กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง