ประวัติศาสตร์ ของ กลุ่มภาษามองโกล

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

กลุ่มภาษามองโกลมีจุดกำเนิดมาจากภาษามองโกลดั้งเดิมที่เคยใช้พูดในเวลาที่เจงกีสข่านรวบรวมชาวมองโกลหลากหลายเผ่าให้เป็นเอกภาพ ภาษาที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาษามองโกลดั้งเดิมคือภาษาตับคัช ซึ่งพบในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือและภาษาคีตัน ในกรณีของภาษาตับคัช หลักฐานที่เหลืออยู่มีน้อยซึ่งมีเพียงพอที่จะยืนยันว่าความสัมพันธ์นี้เป็นไปได้ ในกรณีของภาษาคีตัน มีหลักฐานเหลืออยู่มากกว่า แต่ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรคีตันทั้งสองแบบที่ยังอ่านไม่ได้ แต่ก็พอสรุปความสัมพันธ์ว่าเป็นไปได้สูง ภาษาที่เป็นจุดกำเนิดของภาษามองโกลดั้งเดิมและสองภาษานี้ เรียกว่าภาษาก่อนมองโกลดั้งเดิม

ยุคประวัติศาสตร์

หลักฐานเอกสารภาษามองโกลชิ้นแรกที่เหลืออยู่คือศิลาจารึกยีซุงเก ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับกีฬา จารึกด้วยอักษรมองโกเลียบนก้อนหิน ซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1763 – 1764 นอกจากนั้น เป็นหลักฐานที่เขียนด้วยอักษรมองโกเลียกับอักษรพักปาส์ อักษรจีน อักษรอาหรับ และอักษรทางตะวันตกอื่นๆ ภาษามองโกลยุคกลางเริ่มปรากฏในพุทธศตวรรษที่ 18-20 เอกสารที่เขียนด้วยอักษรมองโกเลีย มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างไป บางครั้งแยกเป็นภาษามองโกลก่อนคลาสสิก ยุคถัดมาคือภาษามองโกลคลาสสิกซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24 ซึ่งมีการจัดมาตรฐานเกี่ยวกับการสะกดคำและการเรียงประโยค ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษามองโกลสมัยใหม่

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน