กลุ่มอาการไดออจอินีส

กลุ่มอาการไดออจอินีส (อังกฤษ: Diogenes syndrome) กลุ่มอาการคนชราซกมก (อังกฤษ: senile squalor syndrome; ตรงตัว: โรคซกมกวัยชรา) เป็นความผิดปกติที่ประกอบด้วยความไม่ใส่ใจตนเอง (self-neglect) อย่างรุนแรง, ปล่อยเคหสถานสกปรกซกมก (domestic squalor), ถอยห่างจากสังคม (social withdrawal), ความเฉยชาไร้อารมณ์ (apathy), เก็บสะสมขยะ (compulsive hoarding of garbage) หรือ การเก็บสะสมสัตว์ (Animal hoarding) และขาดความละอาย (lack of shame) ผู้ป่วยอาจแสดงอาการเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน (Catatonia)[1][2]อาการนี้เป็นที่รับรู้ครั้งแรกในปี 1966[3] และตั้งชื่อว่าโรคไดออจอินีสโดยคลาร์กและคณะ[4] ชื่อของโรคนั้นตั้งตามชื่อของไดออจอินีส นักปรัชญากรีกโบราณ ผู้ยึดถือลัทธิซีนิก (Cynicism) และผู้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย (simple living) ขั้นสุด มีการบันทึกไว้ว่าไดออจอินีสอาศัยอยู่ในไกขนาดใหญ่ในเมืองเอเธนส์ เขาไม่เพียงแต่ไม่ใช่คนที่สะสมข้าวของแต่ยังไขว่คว้าหาความสัมพันธ์กับผู้คนด้วยการเสี่ยงภัยไปกลับ Agora ทุกวัน ดังนั้นการนำชื่อเขามาตั้งเป็นชื่อโรคนี้จงถือว่าผิดที่ผิดทาง (misnomer)[5][6][7] ชื่ออื่น ๆ ที่มีการเสนอใช้คือ ความแตกหักในวัยชรา (senile breakdown), Plyushkin's Syndrome (ตั้งชื่อตามตัวละครสมมติชื่อ Plyushkin),[5] ความแตกหักจากสังคม (social breakdown) และ อาการซกมกในวัยชรา (senile squalor syndrome)[8] Orrell และคณะ (1989) พบว่าความผิดปกติที่สมองกลีบหน้าอาจมีผลต่อการเกิดอาการนี้ได้[9]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการไดออจอินีส http://apresmoiledeluge.blogspot.com/2006/01/uso-y... http://findarticles.com/p/articles/mi_m2459/is_n5_... http://dialnet.unirioja.es/servlet/extaut?codigo=1... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10389361 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18752218 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1946843 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2390316 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3501323 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3535960 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3596484