การวินิจฉัย ของ กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

ผู้ป่วยที่สงสัยจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก และการตรวจเลือดเพื่อดูความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะช่วยให้แพทย์แยกระหว่าง ST elevation MI (STEMI) และ non-ST elevation MI (non-STEMI หรือ NSTEMI) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในด้านวิธีการรักษา

  • STEMI เป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พบการยกตัว (elevation) อย่างผิดปกติของช่วง ST (ST segment) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งมักแสดงถึงการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารีเส้นสำคัญ ทำให้เกิดภาวะขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจส่วนหนึ่งตลอดความหนาของผนังกล้ามเนื้อ (transmural infarction หรือ full-thickness infarction)
  • NSTEMI เป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ไม่พบการยกตัวของช่วง ST แต่มักพบการลดตัวของช่วง ST (ST segment depression) และอาจพบคลื่น T หัวกลับ (T wave inversion) NSTEMI บ่งบอกถึงการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารีย่อย หรือการอุดตันบางส่วนหรือการตีบลงของหลอดเลือดโคโรนารีใหญ่ กรณีนี้กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดเพียงส่วนหนึ่งของความหนาของผนังกล้ามเนื้อ

การตรวจเลือด

นอกจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้ว การวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดจะใช้การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาสารที่บ่งชี้ถึงความเสียหายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyocyte) สารพวกนี้เรียกว่า ไบโอมาร์กเกอร์ของหัวใจ (cardiac biomarker) ปัจจุบัน ตัวชี้วัดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจที่ใช้บ่อยคือระดับโปรตีนโทรโปนิน (troponin) T และ I รวมถึงสัดส่วนครีเอตินไคเนส-เอ็มบี (creatine kinase-MB; CK-MB) ในเลือด

โทรโปรนินเป็นโปรตีนที่มีความจำเพาะสูงแต่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ การตรวจพบระดับโทรโปนินที่สูงขึ้นกว่าปกติจึงมักตีความได้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจนั้นเกิดความเสียหายและได้ปล่อยโปรตีนโทรโปนินเข้าสู่กระแสเลือด อย่างไรก็ตาม ความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากการขาดเลือด (MI) เสมอไป อาการใดๆ ที่ทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจก็ย่อมทำให้ระดับของโทรโปนินสูงขึ้นได้เช่นกัน อาทิ ภาวะไตวาย (renal failure)[12] ภาวะหัวใจวาย (heart failure) หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocarditis) ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดจึงต้องทำร่วมกับการซักประวัติผู้ป่วยและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด http://heart.bmj.com/cgi/content/full/95/3/198 http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0021-... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4336825 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5055577 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12206127 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16501283 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16651468