พระมหาราชินีหุ่นเชิดของเวียดนาม ของ กษัตรีองค์มี

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2378 นักองค์มี หรือ พระองค์หญิงมีได้รับการสถาปนาให้เป็น พระองค์เจ้าหญิง (quan-chua) ตามธรรมเนียมจากกรุงเว้และเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา พระภคินีทั้งสามพระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็น huyen quan (พระประมุขรอง)[10] ประชาชนชาวกัมพูชาไม่คุ้นเคยกับประเพณีที่ปกครองโดยสตรีและสิ้นหวังจากการ "ทำให้เป็นเวียดนาม" (Vietnamization) นโยบายนี้ถอนรากถอนโคนรากเหง้าทางวัฒนธรรมของกัมพูชา ซึ่งเป็นของไม่มีอารยะในทัศนะของเวียดนาม ตลอดจนชีวิตของคนทุกระดับตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินลงไปถึงประชาชน บรรดาศักดิ์ตั้งเป็นภาษาเวียดนาม ชาวกัมพูชาต้องแต่งกายแบบเวียดนาม ไว้ผมยาว เลิกเปิบข้าวด้วยมือ[11] ในสังคมภายนอก สตรีทุกคนถูกสั่งให้สวมกางเกงแทนที่ผ้านุ่งแบบเขมรและให้ไว้ผมยาวตามแบบเวียดนาม[12] ตลาดขายเฉพาะอาหารเวียดนาม ระบำหลวงของกัมพูชาได้ถูกปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมเวียดนามและจีน เวียดนามเรียกว่า ""ภารกิจแห่งความศิวิไลซ์"

วัดในลักษณะอัตลักษณ์แบบเขมรถูกกำจัดจนหมดสิ้น[13] แทนที่ด้วยชื่อแบบเวียดนาม พื้นที่รอบกรุงพนมเปญได้เปลี่ยนชื่อจาก อันนาม เป็น ตราน เตย์ (Tran Tay) แปลว่า "เขตอำนาจทางตะวันตก"[14] [15]

พงศาวดารกัมพูชาบันทึกเหตุการณ์ช่วงนี้ว่า "...มัน (เวียดนาม) คิดจะยึดเอาพระนครประเทศเขมรทั้งหมดให้อยู่ในกำมือของมัน"[16]ชาวเขมรซึ่งสนับสนุนสยามพยายามขอความช่วยหรือจากสยามให้สถาปนาพระประมุขซึ่งเป็นบุรุษคือ นักองค์ด้วง[17] เวียดนามได้ส่งทหารควบคุมพระองค์หญิงทั้งสี่ กษัตรีองค์มีทรงมีทหารติดตามถึง 100 นายเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของพระนาง ส่วนพระองค์หญิงอีกสามพระองค์มีทหารติดตาม 30 นาย เกี่ยวกับความปลอดภัยของพระองค์อย่างเห็นได้ชัด ทหารต้องแน่นอนว่าจะไม่ปล่อยให้พวกพระนางทรงหลบหนีไปได้[18]

สมเด็จพระจักรพรรดิมิน มางแห่งเวียดนามทรงประกาศถอดถอนกษัตรีองค์มีและลดพระอิสริยยศของพระองค์หญิงทั้งสี่ ทุกพระองค์ถูกจับและถูกคุมพระองค์มาที่เวียดนาม พระจักรพรรดิมีพระบัญชาให้จับพระองค์หญิงแบน พระเชษฐภคินีของพระนางใส่ในถุงกระสอบถ่วงน้ำจนสิ้นพระชนม์ที่แม่น้ำโขงจากการเป็นทุรยศต่อเวียดนาม

พระองค์หญิงแบน พระเชษฐภคินีของพระมหาราชินีองค์มีทรงประสบกับพระชะตาที่เหมือนกัน หลังจากทางการเวียดนามตรวจพบว่าพระองค์หญิงแบนทรงแค้นพระทัยอย่างมากที่เวียดนามกระทำการย่ำยีประเทศชาติของพระนางจึงทรงติดต่อกับพระมารดาและพระมาตุลาของพระนางซึ่งประทับอยู่ที่เมืองพระตะบองและพระนางทรงวางแผนที่จะลี้ภัยไปยังสยาม ซึ่งทางสยามยินดีที่จะช่วยเหลือ แต่แผนการกลับรั่วไหลพระนางทรงถูกจองจำและไต่สวนความผิดที่กรุงพนมเปญ สมเด็จพระจักรพรรดิมิน มางแห่งเวียดนามทรงประกาศถอดถอนกษัตรีองค์มีและลดพระอิสริยยศของพระองค์หญิงทั้งสี่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2384 ทุกพระองค์ถูกจับและถูกคุมพระองค์มาที่เวียดนามพร้อมข้าราชบริพาร[19] ในเวลานั้นพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ของพระองค์มีทรงถูกจองจำที่เกาะคอนสอน ตามเอกสารของฝ่ายไทยและกัมพูชาระบุไว้ว่าพระองค์หญิงแบนทรงถูกทหารเวียดนามจับใส่ถุงกระสอบถ่วงน้ำจนสิ้นพระชนม์ที่แม่น้ำโขงจากการเป็นทุรยศต่อเวียดนาม ถึงแม้ว่า คิน สก ได้ระบุไว้ว่า พระองค์หญิงแบนทรงถูกทารุณกรรมจนสิ้นพระชนม์และทหารเวียดนามนำพระศพไปถ่วงแม่น้ำโขง[20] การกระทำเช่นนี้ของเวียดนามในสายตาของชาวกัมพูชาแล้วเท่ากับเป็นการ "...ทำลายล้างวงศ์เจ้านาย ไม่มีพระมหากษัตริย์ปกครองต่อไปจะให้เมืองเขมรวินาศแลให้อยู่ในเงื้อมมือของญวนฝ่ายเดียว..."[21]

ในช่วงที่แผ่นดินกัมพูชาว่างกษัตริย์ เป็นระยะเวลาแห่งความสับสนวุ่นวายในกัมพูชา ด้วยว่า

ขุนนางน้อยใหญ่เจ้ากรมการทุก ๆ หัวเมืองและอาณาประชาราษฎรทุกคน พากันโกรธแคืองเจ็บแค้นญวนเปนอันมาก ก็ชักชวนกันรวมเปนหมู่เปนพวกไล่จับองญวนที่อยู่กำกับรักษาราชการตามหัวเมืองฆ่าเสียเปนหลายคน...ฝ่ายขุนนางแลราษฎรเขมรเมื่อเห็นว่าบ้านเมืองไม่มีกระษัตริย์แลไม่มีเจ้านายของตนปกครองแล้ว ต่างคนต่างก็ตั้งตนขึ้นเปนเจ้าฟ้าทะละหะบ้าง เปนออกญาจักรี ออกญาวังบ้างกับตำแหน่งอื่นๆทุกๆตำแหน่ง แล้วรวบรวมกันตั้งเป็นกองทัพทุกๆเมืองไม่ยอมอ่อนน้อมขึ้นกับญวน[22]
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งสยามทรงส่งกองทัพเข้ามากัมพูชาและมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร"

ขุนนางชาวกัมพูชาและผู้ติดตามจำนวนมากได้ก่อกบฏต่อต้านการปกครองเวียดนามในกรณีสิ้นพระชนม์ของพระองค์หญิงแบนและการจับกุมพระมหาราชินีองค์มี รัฐบาลเวียดนามในกรุงพนมเปญได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลกลางให้เชิญพระองค์มีกลับมาเพื่อขจัดการก่อกบฏแต่สมเด็จพระจักรพรรดิมิน มางทรงปฏิเสธข้อเรียกร้อง อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2384 ในเวลาที่พระนางเสด็จกลับพนมเปญได้มีการออกประกาศสู่ทางการท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนราชบัลลังก์ของพระนาง ในขณะนั้นนักองค์ด้วงได้รับการสนับสนุนจากอุดง[23] พระมหาราชินีองค์มีทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์อีกครั้งและพระองค์หญิงโพธิ์ พระขนิษฐาได้รับการเลือกให้เป็นองค์รัชทายาทในปีพ.ศ. 2387 อย่างไรก็ตามราชสำนักกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้เวียดนามจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2389 เมื่อเวียดนามได้ปลดปล่อยพระราชธิดาของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) และข้าราชบริพารชาวกัมพูชาได้มาร่วมกับนักองค์ด้วงที่กรุงอุดง ปัญหาไทยและเวียดนามในกรณีกัมพูชาได้รับการแก้ปัญหาโดยผลมาจากการประนีประนอมโดยให้ทั้งนักองค์ด้วงและพระองค์หญิงมีครองราชสมบัติร่วมกัน ทางฝ่ายไทยโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร" ดังนั้น เมื่อกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถจัดการเหตุการณ์ในเขมรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการอภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นครองราชสมบัติที่เขมรเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา มีพระนามว่า "สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี" ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2390 โดยได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชินีองค์มี ผู้ซึ่งเป็นพระนัดดา [24] (ภายหลังทรงแก้พระนามเป็น "สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี" เมื่อ พ.ศ. 2394)

แหล่งที่มา

WikiPedia: กษัตรีองค์มี http://cambodiatheroyalandourland.blogspot.com/200... http://ki-media.blogspot.com/2009/09/forgotten-his... http://www.chiangmai-chiangrai.com/ayutthaya19.htm... http://www.guide2womenleaders.com/Cambodia_Heads.h... http://www.guide2womenleaders.com/womeninpower/Wom... http://www.royalark.net/Cambodia/camboa7.htm http://www.san.beck.org/20-9-Siam,Laos,Cambodia180... http://www.ilovekhmer.org/blog/2009/07/list-of-khm... http://www.andybrouwer.co.uk/blog/2008/09/jacobsen...