กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์
กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์

กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (เยอรมัน: Oberkommando der Wehrmacht) หรือ OKW เป็นหน่วยบัญชาการระดับสูงสุดของแวร์มัคท์ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 จึงเทียบเท่าเป็นกระทรวงกลาโหมของประเทศเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองบัญชาการนี้มีหน้าที่กำกับสามเหล่าทัพเยอรมันอันได้แก่ แฮร์ (กองทัพบก) ครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือ) และ ลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ)การประชุมนายทหารระดับสูงในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 ที่กรุงเบอร์ลิน ฮิตเลอร์ได้แจ้งคำสั่งปลดนายทหารระดับสูงหลายคน อาทิ จอมพล ฟ็อน บล็อมแบร์ค รัฐมนตรีว่าการสงครามควบตำแหน่งผบ.เหนือเหล่าทัพแวร์มัคท์ และพลเอกอาวุโส ไฟรแฮร์ ฟ็อน ฟริทช์ ผบ.ใหญ่กองทัพบก การปลดดังกล่าวสร้างความตื่นตะลึงให้กับนายทหารจำนวนมาก ฮิตเลอร์ยุบกระทรวงการสงครามทิ้งและจัดตั้ง "กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์" อันขึ้นตรงต่อฟือเรอร์และผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์ (Führer und Oberste befehlshaber der Wehrmacht) ขึ้นมาแทน และตั้งจอมพล วิลเฮล์ม ไคเทิล เป็นหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ ทั้งยังตั้งพลเอกอาวุโส ฟ็อน เบราคิทช์ เป็นผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพบกคนใหม่ ด้วยการที่กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ขึ้นตรงต่อฟือเรอร์และผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์ (ซึ่งก็คือฮิตเลอร์) ทำให้ในช่วงสงคราม องค์กรนี้เป็นองค์กรที่ทรงอำนาจที่สุดของกองทัพเยอรมัน หลังปี 1942 องค์กรนี้รับผิดชอบปฏิบัติการทางทหารในทุกพื้นที่ยกเว้นแนวรบด้านตะวันออกที่ประจันหน้ากับกองทัพแดงของสหภาพโซเวียต ฮิตเลอร์ได้กลายเป็นทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้นำกองทัพในคนๆเดียว

กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์

ประเทศ  ไรช์เยอรมัน
ประจำการ 4 กุมภาพันธ์ 1938 - 8 พฤษภาคม 1945
บทบาท เทียบเท่ากระทรวงกลาโหม
ปฏิบัติการสำคัญ สงครามโลกครั้งที่สอง
ธงหัวหน้าบก. 1938-41
หัวหน้า.บก. จอมพล วิลเฮล์ม ไคเทิล

ใกล้เคียง

กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบัญชาการกองทัพไทย กองบัญชาการตำรวจสันติบาล กองบังคับการตำรวจน้ำ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ