เบื้องหลัง ของ การก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง

ก่อนคริสต์ศัตวรรษที่ 14 การปฏิวัติโดยชุมชนมิใช่เป็นสิ่งใหม่แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น แต่มักจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในท้องถิ่น แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศัตวรรษที่ 14 และ 15 ความกดดันจากชนชั้นสูงที่เพิ่มมากขึ้นก็ทำให้การก่อความไม่สงบหรือการปฏิวัติโดยชุมชนแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปก็จะเห็นได้จาก ระหว่างปี ค.ศ. 1336 ถึงปี ค.ศ. 1525 ในเยอรมนีมีการก่อความไม่สงบโดยเกษตรกรไม่น้อยไปกว่าหกสิบครั้ง[1]

การก่อความไม่สงบส่วนใหญ่เป็นการแสดงความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ของผู้ที่มีฐานะดีกว่าทั้งทางด้านความมั่งคั่ง, ทางฐานะ และทางด้านความเป็นอยู่ แต่ผลของการก่อความไม่สงบส่วนใหญ่ฝ่ายเกษตรกรก็จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อขุนนางผู้ปกครองและมีอำนาจมากกว่า ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการสร้างทัศนคติในยุโรปที่เหยียดหยาม“เกษตรกร”ว่าเป็นชนชั้นที่แยกจากชนชั้นอื่นและเป็นชนชั้นที่ไม่ดีในสายตาของผู้มีฐานะทางสังคมและความมั่งคั่ง ซึ่งเป็นการแบ่งชนชั้นในสังคมที่แตกต่างจากการแบ่งก่อนหน้านั้นที่แบ่งกลุ่มชนเป็นสามกลุ่ม: กลุ่มผู้ใช้แรงงาน, กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับศาสนา และ กลุ่มผู้ต่อสู้ ซึ่งในความหมายเดิมเกษตรกรก็แทบจะใกล้กับพระเจ้า แต่ในทัศนคติใหม่เกษตรกรดูราวจะไม่ใช่มนุษย์

ใกล้เคียง

การก่อการกำเริบ 8888 การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย (ค.ศ. 1968–1989) การก่อการร้าย การก่อการกำเริบในลาว การก่อการกำเริบวอร์ซอ การก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับ การก่อเทือกเขา การก่อสร้าง การก่อการกำเริบควังจู