การขยายตัวในอดีต ของ การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาชิกผู้ก่อตั้ง

อาเซียนถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของห้าประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ประชุมกันที่อาคารกระทรวงการต่างประเทศของไทยในกรุงเทพมหานคร และลงนามปฏิญญาอาเซียน ซึ่งรู้จักกันมากกว่าในชื่อ ปฏิญญากรุงเทพ รัฐมนตรีทั้งห้า อันประกอบด้วย อดัม มาลิก แห่ง สาธารณรัฐอินโดนีเซียนาร์ซิโซ รามอส แห่ง สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อับดุล ราซัค แห่ง สหพันธรัฐมาเลเซีย เอส. ราชารัตนัม แห่ง สาธารณรัฐสิงคโปร์ ถนัด คอมันตร์ แห่ง ราชอาณาจักรไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร[8]

บรูไนและเวียดนาม

ใน พ.ศ. 2519 รัฐปาปัวนิวกินีในเมลานีเซีย ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์[9] กลุ่มอาเซียนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเมื่อบรูไนดารุสซาลามเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 เพียงแค่สัปดาห์เดียวหลังประเทศได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม ปีนั้น[10] วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่เจ็ด[11]

ลาว พม่า และกัมพูชา

สมาชิกสามประเทศล่าสุดของอาเซียนยื่นคำขอเข้าร่วมกลุ่มในคริสต์ทศวรรษ 1990 ลาวเป็นผู้สังเกตการณ์อาเซียนที่การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 25 ที่จัดขึ้นในกรุงมะนิลา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 ที่ AMM ครั้งที่ 28 ในบันดาร์เซอรีเบอกาวัน รัฐมนตรีต่างประเทศลาวกล่าวว่า เขาปรารถนาจะเห็นลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนใน พ.ศ. 2540 ความปรารถนาดังกล่าวแสดงในจดหมายขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของลาว ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539[4]

กัมพูชาได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ที่ AMM ครั้งที่ 28 ที่จัดขึ้นในบันดาร์เซอรีเบอกาวัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชายื่นคำขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในจดหมายลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2539 เช่นเดียวกับลาว กัมพูชาปรารถนาจะเข้าร่วมกับอาเซียนใน พ.ศ. 2540[4]

รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าเข้าร่วม AMM ครั้งที่ 28 จัดขึ้นในบันดาร์เซอรีเบอกาวัน ในฐานะแขกของรัฐเจ้าภาพ เขาเข้าร่วม AMM ครั้งที่ 27 จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ในฐานะเดียวกัน ระหว่าง AMM ครั้งที่ 28 พม่าเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยื่นคำขอสถานะผู้สังเกตการณ์อาเซียน ประมุขรัฐบาลพม่า พร้อมด้วยประมุขแห่งรัฐบาลลาวและกัมพูชา เข้าร่วมประชุมกับประมุขรัฐบาลอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ห้า จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เขาแสดงความหวังว่า พม่าจะได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์อาเซียนในการประชุม AMM ครั้งถัดไป คือครั้งที่ 29 ที่จัดขึ้นในอินโดนีเซีย ใน พ.ศ. 2539[4]

คณะกรรมการความมั่นคงอาเซียน (ASC) ก่อตั้งคณะทำงานว่าด้วยสมาชิกภาพของกัมพูชาและลาวเพื่อพิจารณาประเด็นทั้งหมดภายใต้ขอบเขตของ ASC ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการสำหรับและของสมาชิกที่คาดหวังทั้งสองประเทศในการเข้าร่วมกับอาเซียน วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 คณะทำงานจุดการประชุมกับเลขาธิการของกรมอาเซียนลาวในกรุงจาการ์ตา[4]

ที่ AMM ครั้งที่ 29 พม่าได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าได้ปรึกษากับอาเซียนและเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกเป็นครั้งแรก วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีต่างประเทศพม่ายื่นคำขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของพม่า เขายังได้แสดงความปรารถนาว่าประเทศพม่าจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนภายใน พ.ศ. 2540 พร้อมกับกัมพูชาและลาว[4]

ASC ได้ขยายอำนาจของคณะทำงานที่กำลังศึกษาสมาชิกภาพของกัมพูชาและลาวให้รวมสมาชิกภาพของพม่าด้วย[4] ลาวและพม่าได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 กัมพูชาเองก็มีกำหนดเข้าร่วมพร้อมกับลาวและพม่าเช่นกัน แต่ถูกเลื่อนออกไปเพราะการต่อสู้ทางการเมืองภายในประเทศ ภายหลังประเทศเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 หลังรัฐบาลมีเสถียรภาพมั่นคงแล้ว[12][13]

ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1990 กลุ่มมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับแรงขับเคลื่อนให้บูรณาการมากขึ้น ใน พ.ศ. 2533 มาเลเซียเสนอให้จัดตั้งความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก[14] ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกอาเซียนขณะนั้น เช่นเดียวกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของสหรัฐอเมริกาในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) เช่นเดียวกับในภูมิภาคเอเชียโดยรวม[15][16] อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวล้มเหลว เพราะได้รับเสียงคัดค้านอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น[15][17] แต่แม้จะล้มเหลว รัฐสมาชิกยังคงทำงานเพื่อบูรณาการต่อไปและอาเซียนบวกสามถูกจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2540

ใน พ.ศ. 2535 แผนอัตราศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff - CEPT) มีการลงนามเป็นกำหนดการภาษีศุลกากรและมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันของภูมิภาคเป็นฐานการผลิตที่ขับเคลื่อนตลาดโลก กฎหมายดังกล่าวอาจเป็นเสมือนกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 มาเลเซียก็รื้อฟื้นข้อเสนอขึ้นมาอีกครั้ง รู้จักกันในชื่อ การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเรียกร้องบูรณาการที่ดียิ่งขึ้นระหว่างเศรษฐกิจอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศอาเซียนบวกสาม[18]

ใกล้เคียง

การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การขยายเสียงของคอเคลีย การขยายขนาดของเวลา การขยายยี่ห้อของดับเบิลยูดับเบิลยูอี การขยายเขตเมือง การขยายในคอร์เทกซ์ การขยายพันธุ์ การขยายตัวของพื้นมหาสมุทร การขยายความรู้สึกจากกาย การขยายแนวโน้ม

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ http://www.smh.com.au/news/world/east-timor-asean-... http://www.newstoday.com.bd/index.php?option=detai... http://books.google.com/books?visbn=0415172799&id=... http://www.iht.com/articles/1994/07/26/caucus.php http://www.interaksyon.com/article/2969/aquino-to-... http://www.thejakartapost.com/news/2011/11/19/i-ha... http://digital.library.unt.edu/govdocs/crs//data/1... http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/2700.htm http://www.acp-eucourier.info/Timor-s-key-concern.... http://www.mof.go.jp/english/if/regional_financial...