บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน

บันดาร์เซอรีเบอกาวัน

บันดาร์เซอรีเบอกาวัน[1] (มลายู: Bandar Seri Begawan, بندر سري بڬاوان) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนดารุสซาลาม อยู่ในเขตการปกครองบรูไน-มัวรา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นในลักษณะแบบคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เซอรีเบอกาวันปัจจุบันกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นศูนย์กลางการเงิน ธุรกิจ การค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และกัมปงอาเยร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไนกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นเมืองเดียวของบรูไนที่เรียกว่าเมืองได้อย่างแท้จริง บันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นเมืองสวยสะอาด ถนนในเมืองกว้างขวางและมีตึกรามบ้านเรือนทันสมัย มีสุเหร่าขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง คือมัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ในบริเวณสุเหร่ามีสระขุดขนาดใหญ่ประดับสถานที่ให้ดูเด่นสง่างาม ภายในสุเหร่าปูพื้นด้วยหินอ่อนจากอิตาลี และปูพรมสั่งทอพิเศษผืนใหญ่มหึมา นับว่าเป็นศูนย์รวมชาวมุสลิมในบรูไนและเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลามในบรูไนนอกจากมัสยิดโอมาร์ อาลี ไชฟัดดินแล้ว กรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันยังเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายแห่งของบรูไน อาทิ พิพิธภัณฑ์บรูไน กับพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีมลายู ซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมการก่อสร้างบ้านในแม่น้ำอย่างที่กัมปงเอเยอร์ นอกจากนี้ยังมีพระราชวังหลวงที่ใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมากคือ พระราชวังหลวง อิสตานา นูรัล อีมาน ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมหลังจากเดือนเราะมะฎอนหรือหลังพิธีถือศีลอดส่วนแรกของชื่อ Bandar มาจากภาษาเปอร์เซีย بندر แปลว่า "ท่าเรือ" หรือ "ที่หลบภัย" ส่วนที่สองของชื่อคือ Seri Begawan มาจากคำว่า "ศฺรีภควนฺ"(ไทย: ศรีภควา/สิริภควา) (śrī bhagavan) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง พระศิริแห่งพระเจ้า จึงมีความหมายรวมกันว่า เมืองท่าอันเป็นศรีแห่งพระเจ้า

บันดาร์เซอรีเบอกาวัน

เว็บไซต์ www.municipal-bsb.gov.bn
เขต บรูไน-มัวรา
ประเทศ  บรูไน
• เขตเมือง 276,608
• ความหนาแน่น 1,395 คน/ตร.กม. (3,610 คน/ตร.ไมล์)
รหัสพื้นที่ +673 02
• เมืองหลวง 140,000
• ชื่อเรียกประชาชน Begawanese (ชาวเบอกาวัน)