การครุ่นคิด_(จิตวิทยา)

การครุ่นคิด[1](อังกฤษ: Rumination) เป็นการใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา[2]ทั้งความครุ่นคิดและความกลุ้มใจ (worry) สัมพันธ์กับความวิตกกังวล (anxiety) และอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ แต่ว่าก็ยังไม่มีวิธีการเดียวที่ตกลงใช้วัดระดับของมัน[3]ตามทฤษฎี Response Styles Theory เสนอในปี 1998 (โดย Nolen-Hoeksema)[4]ความครุ่นคิดนิยามว่าเป็น "การใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา"และเพราะว่าทฤษฎีนี้ได้หลักฐานเชิงประสบการณ์สนับสนุน ดังนั้นจึงเป็นแบบจำลองของความครุ่นคิดที่นิยมใช้กันมากที่สุดแต่ว่าก็ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เสนอนิยามอื่นยกตัวอย่างเช่น ในทฤษฎี Goal Progress Theory ความครุ่นคิดไม่ใช่เป็นปฏิกิริยาต่อสภาวะของพื้นอารมณ์ แต่เป็น "การตอบสนองต่อความล้มเหลวที่จะก้าวหน้าอย่างน่าพอใจไปยังเป้าหมายอย่างหนึ่ง"[5]บทความนี้แสดงแบบจำลองหลายอย่างของความครุ่นคิดและหมายจะแยก "ความครุ่นคิด" จากแนวคิด/โครงสร้างทางจิตวิทยาอื่น ๆ ที่อาจดูคล้ายกันหรือเหลื่อมกัน

ใกล้เคียง

การครุ่นคิด (จิตวิทยา) การครอบงำกิจการสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด พ.ศ. 2564 การครองคู่ในสหราชอาณาจักร การครองราชย์ของจักรพรรดิญี่ปุ่น การครอบฟัน การครอบครองปรปักษ์ การครองราชย์ครบรอบแพลทินัมในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 การครองความเป็นใหญ่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19

แหล่งที่มา

WikiPedia: การครุ่นคิด_(จิตวิทยา) http://www.springerlink.com/content/n172473335188k... http://www.psy.miami.edu/faculty/jjoormann/publica... http://www.csom.umn.edu/assets/166704.pdf //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3562707 http://drsonja.net/wp-content/themes/drsonja/paper... //doi.org/10.1002%2F(sici)1099-0879(199905)6:2%3C1... //doi.org/10.1016%2F0005-7967(83)90121-3 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.01.002 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.03.003 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2011.11.002