พยาธิสภาพ ของ การครุ่นคิด_(จิตวิทยา)

งานวิจัยมากมายเกี่ยวกับผลของการครุ่นคิด หรือความโน้มเอียงที่จะพิจารณาตัวเอง (self-reflect) แสดงว่าการครุ่นคิดเชิงลบจะขัดขวางสมาธิในการแก้ปัญหา และมีผลเป็นการหมกมุ่นอยู่ในความคิดเชิงลบเกี่ยวกับความล้มเหลวในอดีต[17]หลักฐานจากงานศึกษาแสดงว่า ผลลบของการครุ่นคิดมากจากความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เช่นความเอนเอียงทางความจำหรือการใส่ใจ ซึ่งทำให้บุคคลคิดเลือกเอาแต่สิ่งเร้าเชิงลบ[18]ความโน้มเอียงที่จะครุ่นคิดในเชิงลบดำรงอยู่อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานาน และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคซึมเศร้าไม่ใช่เพียงแค่คนครุ่นคิดเป็นประจำเท่านั้นที่เกิดความซึมเศร้า งานศึกษาแบบทดลองได้แสดงแล้วว่า บุคคลที่ถูกชักจูงให้ครุ่นคิดประสบกับความรู้สึกซึมเศร้ามากกว่า[7]มีหลักฐานด้วยว่า การครุ่นคิดสัมพันธ์กับความวิตกกังวลทั่วไป ความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การดื่มเหล้าเพื่อให้เมา (binge drinking) ความผิดปกติในการรับประทาน และพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

ความครุ่นคิดตอนเแรกเชื่อกันว่า เป็นตัวพยากรณ์ช่วงเวลาของอาการซึมเศร้ากล่าวอีกอย่างก็คือ การครุ่นคิดถึงปัญหา สมมุติว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการซ้อมความจำ (memory rehearsal) ซึ่งเคยเชื่อว่าทำประสบการณ์ซึมเศร้าให้ยาวนานขึ้นแต่หลักฐานปัจจุบันแสดงว่า แม้ว่าการครุ่นคิดจะมีส่วนก่อความซึมเศร้า แต่ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับช่วงเวลาการเกิดอาการ[2]

ใกล้เคียง

การครุ่นคิด (จิตวิทยา) การครอบงำกิจการสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด พ.ศ. 2564 การครองคู่ในสหราชอาณาจักร การครองราชย์ของจักรพรรดิญี่ปุ่น การครอบฟัน การครอบครองปรปักษ์ การครองราชย์ครบรอบแพลทินัมในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 การครองความเป็นใหญ่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19

แหล่งที่มา

WikiPedia: การครุ่นคิด_(จิตวิทยา) http://www.springerlink.com/content/n172473335188k... http://www.psy.miami.edu/faculty/jjoormann/publica... http://www.csom.umn.edu/assets/166704.pdf //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3562707 http://drsonja.net/wp-content/themes/drsonja/paper... //doi.org/10.1002%2F(sici)1099-0879(199905)6:2%3C1... //doi.org/10.1016%2F0005-7967(83)90121-3 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.01.002 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.03.003 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2011.11.002