ทฤษฎี ของ การครุ่นคิด_(จิตวิทยา)

Response styles theory

ทฤษฎีสไตล์การตอบสนอง (อังกฤษ: Response styles theory, ตัวย่อ RST) ดั้งเดิมนิยามความครุ่นคิดว่า เป็นการใส่ใจอย่างไม่ได้ตั้งใจ (passive) และอย่างซ้ำ ๆ ในอาการซึมเศร้าของตน และในเหตุและผลที่เป็นไปได้ของอาการเหล่านั้น[6]หลักฐานที่ยืนยันนิยามนี้มาจากผลงานวิจัยที่แสดงว่า การครุ่นคิดมีส่วนทำให้เกิด ดำรงรักษา และทำอาการซึมเศร้าต่าง ๆ ให้แย่ลง[7][8]และมีส่วนในการสำแดงอาการ (episodes) ของโรคซึมเศร้า[9]ในปี 2008 ผู้ตั้งทฤษฎีได้ขยายนิยามของความครุ่นคิดนอกเหนือไปจากความซึมเศร้า โดยรวมการใส่ใจอาการของความทุกข์ที่ไม่ได้ตั้งใจและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยทั่วไป เพราะว่าความครุ่นคิดปรากฏกว่ามีส่วนร่วมกับความผิดปกอื่น ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ความซึมเศร้า[2]ทฤษฎี RST ยังยืนยันด้วยว่า การหันไปใส่ใจเรื่องที่ดี (positive distraction) เป็นทางเลือกที่ดีแทนการครุ่นคิด คือใส่ใจในสิ่งเร้าเชิงบวกเรื่องอื่นแทนที่จะใส่ใจในความทุกข์ของตน[10]แต่ว่า ก็มีวรรณกรรมอื่น ๆ ที่แสดงว่า การหันไปใส่ใจเรื่องที่ดี อาจไม่สามารถช่วยเท่ากับที่เคยคิดมาก่อน[11]

Self-regulatory executive function model

แบบจำลอง self-regulatory executive function (S-REF) เกี่ยวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติทางอารมณ์ (affective dysfunction) ยืนยันว่า ความครุ่นคิดสามารถอธิบายได้อย่างแม่นยำภายในแบบจำลองของการควบคุมตัวเองแบบหลายระดับ (multilevel model of self-regulation)[11]โดยเฉพาะแล้ว แบบจำลอง S-REF นิยามการครุ่นคิดไว้ว่า "ความคิดซ้ำ ๆ ที่เกิดจากความพยายามเพื่อรับมือความขัดแย้งในตัวเอง (self-discrepancy) โดยมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติการต่อข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเป็นหลักและไม่ใช่เพื่อการกระทำมีเป้าหมายแบบทันที"[12]หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อบุคคลกำลังครุ่นคิด เขามุ่งที่จะตอบคำถามอย่างเช่น

  • ฉันรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นี้
  • ฉันจะเปลี่ยนความคิดความรู้สึกของฉันเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร
  • ฉันจะป้องกันความคิดความรู้สึกที่ไม่ดีในอนาคตได้อย่างไร

แต่ว่า ในการตอบปัญหาเหล่านี้ คนที่กำลังครุ่นคิดมักจะใส่ใจที่อารมณ์ของตนเอง (คือ ปฏิบัติการต่อข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง) แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา (คือ การกระทำที่มีเป้าหมาย)[12]ความสำนึกรู้ความคิดของตนเอง (Metacognition) เป็นส่วนสำคัญของแบบจำลอง S-REF และช่วยอธิบายการเชื่อมต่อกันระหว่างการครุ่นคิดและความซึมเศร้า[6]โดยเฉพาะก็คือ ผู้ที่เชื่อในเชิงบวก (เป็น metacognitive belief) ว่าการครุ่นคิดมีประโยชน์ (เช่น ฉันต้องครุ่นคิดเหตุการณ์ร้ายในอดีตเพื่อที่จะเข้าใจ)[13]จะมีแรงจูงใจในการครุ่นคิดต่อไป[14]และเมื่อเริ่มครุ่นคิดแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับการครุ่นคิดจะเปลี่ยนเป็นเชิงลบ คือว่ามันเป็นทุกข์ (เช่น การครุ่นคิดทำให้ฉันป่วยทางกาย) ควบคุมไม่ได้ (เช่น การครุ่นคิดหมายถึงฉันควบคุมตัวเองไม่ได้) และมีผลลบทางสังคม[14][15]ความเชื่อ (ที่เป็น metacognitive belief) เชิงลบจะมีส่วนให้เกิดและดำรงความซึมเศร้า[14]

Goal progress theory

ทฤษฎี Goal progress theory (ตัวย่อ GPT) อธิบายการครุ่นคิดว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการถึงเป้าหมายโดยเฉพาะก็คือ GPT มองการครุ่นคิดว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของ Zeigarnik effect ซึ่งแสดงว่า บุคคลจะจำข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ยังไม่เสร็จได้ดีกว่างานที่เสร็จแล้ว[5][11]จากมุมมองนี้ GPT นิยามการครุ่นคิดไว้ว่า "ความโน้มเอียงที่จะคิดถึงบ่อย ๆ ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญ และสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ที่ยังไม่ได้" หรือที่ยังไม่ก้าวหน้าอย่างเพียงพอ[11][16]ทฤษฎี GPT พยากรณ์ว่า บุคคลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายที่คิดถึงได้ง่ายมีโอกาสสูงกว่าที่จะครุ่นคิดซึ่งเป็นการพยากรณ์ที่มีหลักฐานจากงานศึกษาหลายงาน[5]

ใกล้เคียง

การครุ่นคิด (จิตวิทยา) การครอบงำกิจการสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด พ.ศ. 2564 การครองคู่ในสหราชอาณาจักร การครองราชย์ของจักรพรรดิญี่ปุ่น การครอบฟัน การครอบครองปรปักษ์ การครองราชย์ครบรอบแพลทินัมในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 การครองความเป็นใหญ่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19

แหล่งที่มา

WikiPedia: การครุ่นคิด_(จิตวิทยา) http://www.springerlink.com/content/n172473335188k... http://www.psy.miami.edu/faculty/jjoormann/publica... http://www.csom.umn.edu/assets/166704.pdf //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3562707 http://drsonja.net/wp-content/themes/drsonja/paper... //doi.org/10.1002%2F(sici)1099-0879(199905)6:2%3C1... //doi.org/10.1016%2F0005-7967(83)90121-3 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.01.002 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.03.003 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2011.11.002