การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก
การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก

การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก

การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก (อังกฤษ: Emissions trading หรือ cap and trade) เป็นวิธีการอีกอย่างหนึ่งที่จะให้แรงจูงใจทางการเงินเพื่อให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก[1] โดยใช้การพัฒนาโครงการคาร์บอนขึ้นมาใช้ลดก๊าซเรือนกระจกและให้การตอบแทนเป็น คาร์บอนเครดิตซึ่งนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ พิธีสารเกียวโตได้ให้ช่องทางนี้ไว้เพื่อการลดคาร์บอนแล้วขาย (cap and trade) ในกลไกการพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism (CDM) รวมทั้งการทำ Joint Implementation เพื่อให้มีการยืดหยุ่นในการจัดการกับคาร์บอนในการซื้อขายนี้ เริ่มต้นจากผู้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งโดยมากจะเป็นรัฐบาล จะกำหนดจุดสูงสุดที่อนุญาตให้ปล่อยคาร์บอนได้ (อาจเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นแต่เทียบสัดส่วนกับคาร์บอนไดออกไซด์) แต่ละโรงงานก็จะได้สิทธิที่จะสามารถปล่อยได้ในจำนวนหนึ่ง โรงงานที่ปล่อยคาร์บอนเกินจุดที่กำหนดจึงต้องไปซื้อสิทธิมาจากโรงงานที่ปล่อยไม่ถึงสิทธิของตนนั้น ถ้าปล่อยเกินโดยไม่ซื้อจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น โรงงานหนึ่งก่อนเริ่มโครงการเคยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100,000 ตันต่อปี เมื่อเข้าโครงการโดยพันธะทางกฎหมายและสมัครใจ จะต้องลดการปล่อยลง 5% คือสามารถปล่อยได้ 95,000 ตันต่อปี ถ้าทำได้สามารถนำส่วนที่ลดได้ไปขายได้ แต่ถ้าลดไม่ได้ ต้องเสียเงินไปซื้อส่วนที่เกินไปจากผู้ที่ลดได้

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้นหาแบบทวิภาค การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก