แบบจำลอง ของ การจัดการความเครียด

แบบจำลองทั่วไป มีดังต่อไปนี้

  • การตอบสนองฉุกเฉิน (emergency response) / การตอบสนองโดยสู้หรือหนีโดย นพ. วอลเตอร์ แคนนอน (2457, 2475)
  • อาการปรับตัวทั่วไป (General Adaptation Syndrome) โดย นพ. แฮนส์ เซ็ลเยอ (2479)
  • Stress Model of Henry
  • แบบจำลองแบบดำเนินการ (Transactional/Cognitive Model) ของนักจิตวิทยาทรงอิทธิพล ดร. ริชาร์ด ลาซารัส (2517)
  • ทฤษฎีอนุรักษ์ทรัพยากร (Theory of resource conservation) โดย Stevan Hobfoll (2531, 2541, 2547)
แบบจำลองแบบดำเนินการ ของความเครียดและการรับมือ ของ ดร. ริชาร์ด ลาซารัส ซึ่งเริ่มจากตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม (แถบบนสุด) ที่ผ่านเครื่องกรองทางใจ (แถบดำ) แล้วเกิดการประเมินตัวสร้างความเครียด (แถบเหลือง) ถ้าเป็นแบบอันตราย เป็นเรื่องท้าทาย เป็นภัย หรืออาจทำให้บาดเจ็บหรือสูญเสีย (ช่องสองในแถบเหลือง) ก็จะเกิดการประเมินระดับสองว่าสามารถรับมือได้หรือไม่ (แถบส้ม) ถ้าไม่ได้ก็จะเกิดความเครียด (ช่องแรกในแถบส้ม) ซึ่งสามารถแก้ที่ตัวปัญหาหรือแก้ที่อารมณ์ (แถบม่วง) แล้วประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ (แถบน้ำเงินอ่อน)

แบบจำลองแบบดำเนินการ

ดร. ริชาร์ด ลาซารัส และเพื่อนร่วมงานเสนอในปี พ.ศ. 2524 ว่า สามารถมองความเครียดว่าเกิดจาก "ความไม่สมดุลระหว่างความต้องการและทรัพยากร (ที่มี)" หรือเกิดเมื่อ "ความกดดันเกินความสามารถที่ตนรู้สึกว่ารับมือได้"ดังนั้น จึงมีการสร้างเทคนิคจัดการความเครียดขึ้นอาศัยไอเดียว่า ความเครียดไม่ได้เป็นการตอบสนองโดยตรงต่อตัวก่อความเครียด แต่ทรัพยากรและความสามารถของบุคคลที่จะรับมือ เป็นตัวอำนวยความเครียดและดังนั้น จึงเปลี่ยนได้ ทำให้สามารถคุมความเครียดได้[4]

ในบรรดาตัวสร้างความเครียดที่ลูกจ้างกล่าวถึง ต่อไปนี้เป็นเรื่องสามัญที่สุด[5]

  • ความขัดแย้งภายในบริษัท
  • การปฏิบัติของเจ้านายหรือบริษัทต่อผู้ทำงาน
  • งานไม่มั่นคง
  • นโยบายบริษัท
  • ผู้ร่วมงานที่ไม่ทำงานของตน
  • ความคาดหวังที่ไม่ชัดเจน
  • การสื่อสารที่ไม่ดี
  • ไม่สามารถควบคุมว่าจะได้งานอะไรบ้าง
  • การมีเงินเดือนหรือสวัสดิภาพที่ไม่ดีพอ
  • ขีดจำกัดเวลาที่รีบเร่ง
  • งานมากเกิน
  • ต้องทำงานเกินเวลา
  • เป็นที่ทำงานที่ไม่สบาย
  • ปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น
  • เพื่อนร่วมงานทำการผิดพลาดแบบไม่ระวัง
  • ต้องรับมือกับลูกค้าที่ไม่สุภาพ
  • การไร้ความร่วมมือ
  • วิธีที่บริษัทปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน

เพื่อสร้างโปรแกรมจัดการความเครียดที่มีประสิทธิผล เป็นเรื่องจำเป็นที่จะระบุปัจจัยหลักในการควบคุมความเครียดของบุคคล แล้วจึงสามารถระบุวิธีการแทรกแซงที่มุ่งปัจจัยเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิผลทฤษฎีของ ดร. ลาซารัสและเพื่อนร่วมงาน เพ่งที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม (ที่รู้จักกันว่า แบบจำลองแบบดำเนินการ)แบบจำลองอ้างว่า สิ่งหนึ่งอาจไม่ใช่ตัวสร้างความเครียดถ้าบุคคลไม่รู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นภัย แต่ว่าเป็นอะไรที่ดีหรือที่ท้าทายนอกจากนั้น ถ้าบุคคลมีและสามารถใช้ทักษะการรับมือเพียงพอ ก็อาจจะไม่เครียดเพราะเหตุนั้นแบบจำลองเสนอว่า บุคคลสามารถเรียนรู้การจัดการความเครียดและรับมือกับสิ่งที่อาจสร้างความเครียดได้บุคคลอาจจะเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือได้ความสามารถหรือความมั่นใจเพื่อปรับปรุงชีวิตและรับมือกับตัวสร้างความเครียดทุกอย่าง

Health realization/innate health model

health realization/innate health model (แบบจำลองการได้สุขภาพ / แบบจำลองสุขภาพอาศัยสิ่งที่อยู่ในตน) ก็อาศัยไอเดียว่า ความเครียดไม่จำเป็นต้องติดตามสิ่งที่อาจเป็นตัวก่อความเครียดด้วยแต่แทนที่จะพุ่งความสนใจไปที่การประเมินตัวสร้างความเครียดโดยสัมพันธ์กับทักษะการรับมือของตนเหมือนกับแบบจำลองดำเนินการ ทฤษฎีพุ่งความสนใจไปที่ธรรมชาติของความคิด โดยอ้างว่า เป็นกระบวนการทางความคิดนั่นแหละที่เป็นตัวกำหนดการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่อาจสร้างความเครียดในภายนอกในแบบจำลองนี้ ความเครียดมาจากการประเมินตัวเองและสถานการณ์ผ่านตัวกรองทางใจแบบไม่มั่นใจ (insecurity) และมองสถานการณ์ในแง่ลบ (negativity) เปรียบเทียบกับความเป็นสุขที่มาจากการมองโลกด้วย "ใจที่สงบ"[6][7]

แบบจำลองนี้เสนอให้ช่วยคนเครียดให้เข้าใจธรรมชาติของความคิด โดยเฉพาะก็คือให้ทักษะในการรู้จักว่าเมื่อไรตนตกอยู่ใต้อิทธิพลของความคิดที่ไม่มั่นใจ แยกตนออกจากมัน แล้วเข้าถึงความรู้สึกที่ดี ๆ ที่มีโดยธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยความเครียด

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การจัดการความเครียด http://www.dailybsness.com/en-wiki/7_tips_to_preve... http://www.medscimonit.com/fulltxt.php?IDMAN=8224 http://www.psychtreatment.com/stress_management.ht... http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1207/s153271... http://humansystems.arc.nasa.gov/flightcognition/P... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1230339 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2038162 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10224513 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10333853 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11322841