การใช้ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ของ การฉาบปูนขาว

รัฐเผด็จการและรัฐอำนาจนิยม รวมถึงรัฐประชาธิปไตยด้วย มักใช้วิธีฉาบปูนขาวเพื่อทำให้ผลลัพธ์บางประการออกมาดูดี

ในยุคโซเวียต โจเซฟ สตาลิน (Iosif Stalin) ตัดต่อรูปที่ตนถ่ายคู่กับวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) โดยเขยิบรูปตนเองให้ใกล้เลนินมากขึ้น จะได้ให้ความรู้สึกว่าทั้งคู่มีความสัมพันธ์อันดี ต่อมา ในระหว่างที่โซเวียตยกพลขึ้นบกเชโกสโลวาเกียหลังจากเหตุการณ์ที่เรียก "ปรากสปริง" (Prague Spring) ใน ค.ศ. 1968 สื่อมวลชนของโซเวียตเผยแพร่ประมวล "ข้อเท็จจริง, เอกสาร, รายงานข่าว และคำบอกเล่าของประจักษ์พยาน" ซึ่งได้รับสมัญญาว่า "หนังสือสีขาว" (The White Book) เพราะมีปกสีขาวด้วยประการหนึ่ง และมีวัตถุประสงค์จะ "ฉาบปูนขาว" ให้แก่การยกพลขึ้นบกนั้นโดยเน้นย้ำว่า ประเทศภาคีแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอมีสิทธิและมีหน้าที่จะรุกรานได้ อีกประการหนึ่ง[4]

สถานีวิทยุของเกาหลีเหนือมักไขข่าวแพร่หลายในประเทศว่า ประเทศมีเสบียงเกียกกายเหลือหลาย แม้ว่ารัฐบาลตนต้องร้องขอความช่วยเหลือด้านอาหารจากต่างประเทศเสมอ[5]

ญี่ปุ่นเองก็ถูกหาว่า ฉาบปูนขาวใส่ประวัติศาสตร์ด้านการยุทธและจักรวรรดินิยมของตน โดยละทิ้งหรือลดทอนประเด็นหลาย ๆ ประเด็นในหนังสือเรียน เช่น ที่เกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่นานกิง[6]

ใกล้เคียง

การฉาบปูนขาว การฉายรังสี การทารุณเด็กทางเพศ การฆาตกรรมครอบครัวบุญทวี การหายใจระดับเซลล์ การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก การาวัจโจ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในฮ่องกง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การขาดโฟเลต