ยุทธศาสตร์ ของ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ_พ.ศ._2553

การเทเลือด

วันที่ 16 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมเจาะเลือดคนละ 10 ซีซี เพื่อที่จะนำไปเทยังสถานที่ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 น. ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนออกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมไปถึงทำเนียบรัฐบาล และเทเลือดบริเวณประตูของทำเนียบตั้งแต่ประตูที่ 2 ถึง 8 ต่อมาเวลา 18.45 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาถึงที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าไปเทเลือดที่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นของที่ทำการพรรค ส่วนเลือดที่เหลืออีก 10 แกลลอนนั้นได้เทลงยังบริเวณด้านหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เสร็จสิ้นแล้วจึงเคลื่อนขบวนกลับไปยังสะพานผ่านฟ้าลีลาศตามเดิม[44]

วันที่ 17 มีนาคม ช่วงเช้า เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 11.50 น. ทางกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนขบวนเพื่อที่จะไปเทเลือดบริเวณหน้าบ้านพักของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ซอยสุขุมวิท 31 โดยมี พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เป็นผู้คุมสถานการณ์ กลุ่มผู้ชุมนุมนำโดยอริสมันต์ พงษ์เรืองรองได้ฝ่าวงล้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บุกไปถึงหน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรี พร้อมเทเลือดกองบนพื้นถนนท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก[45][46] ผศ.จารุพรรณ กุลดิลก กล่าวสนับสนุนการเทเลือดในรายการพิเศษ "ฝ่าวิกฤตการเมือง ตอบคำถามคนของอนาคต" สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ซึ่งออกอากาศในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 16.00 - 17.00 น. ตอนหนึ่งว่า "เลือดเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ที่มีมาแต่สมัยบรรพบุรุษ การเสียเลือดเสียเนื้อเป็นสิ่งที่สะเทือนใจ เพื่อไม่ให้บาดเจ็บล้มตายกันจริง ๆ เราก็ใช้สัญลักษณ์นี้เป็นตัวแทนการสละเลือดเพื่อชาติ"[47]

ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ Christian Sciene Monitor ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับ 10 การประท้วงสุดพิสดาร ปรากฏว่า การเทเลือดของกลุ่ม นปช. ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ของการประท้วงสุดพิสดาร[48]

ขบวนรถดาวฤกษ์

ขบวนรถของกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกคลองตัน

วันที่ 20 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมจัดขบวนรถจำนวนมาก โดยเคลื่อนขบวนไปรอบกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายสำคัญต่าง ๆ โดยทางแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงอ้างว่าตลอดทางมีประชาชนมาร่วมให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. จนกระทั่งสิ้นสุดเมื่อเวลา 18.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ประเมินตัวเลขจำนวนผู้ชุมนุมในวันนี้ไม่น้อยกว่า 100,000 คน รถจักรยานยน ประมาณ 10,000 คัน และรถยนต์ประมาณ 7,000 คัน[49]

การเคลื่อนขบวนทั่วกรุงเทพมหานคร

วิทยุชุมชน

มีการเผยแพร่ถ่ายทอดเสียงทางวิทยุชุมชนของกลุ่มเพื่อเพิ่มความเกลียดชังรัฐบาลในขณะนั้น[50]

การโกนผม

วันที่ 25 มีนาคม สุภรณ์ อัตถาวงศ์ พร้อมแกนนำคนอื่น อาทิ วันชนะ เกิดดี, เจ๋ง ดอกจิก รวมทั้งผู้ชุมนุมทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กที่สมัครใจได้ทำการโกนศีรษะเพื่อประท้วงนายกรัฐมนตรีและขับไล่รัฐบาล รวมทั้งทำพิธีสาปแช่งนายกรัฐมนตรี โดยมีอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโกนผมให้สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ขณะที่พระสงฆ์ประมาณ 15 รูป โกนผมให้แก่ผู้ชุมนุม บนเวทีหลักสะพานผ่านฟ้าลีลาศ[51]

การเคลื่อนขบวนกดดันทหาร

วันที่ 27 มีนาคม คนเสื้อแดงได้เคลื่อนขบวนไปกดดันทหารให้ถอนกำลังกลับกรมกองตามจุดต่าง ๆ เอเอฟพีระบุว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 80,000 คน[52]

การแห่ศพผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม

วันที่ 12 เมษายน เวลา 10.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนแห่ศพผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมออกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยขบวนประกอบด้วยรถยนต์บรรทุกโลงศพจำนวนทั้งสิ้น 17 คัน พร้อมด้วยขบวนรถจักรยานยนต์และผู้ชุมนุมที่เดินเท้าตาม ซึ่งผู้ชุมนุมได้นำธงชาติไทยมาคลุมโลงศพพร้อมรูปผู้เสียชีวิต[53]

การยกเลิกใส่เสื้อแดงชั่วคราว

กลุ่มผู้ชุมนุมแสดง ตีนตบกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณห้างมาบุญครอง

วันที่ 24 เมษายน เวลา 18.00 น. วีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. กล่าวบนเวทีปราศรัยว่าจะมีการปรับยุทธวิธีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังยึดแนวทางที่สันติวิธี

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. ขอความร่วมมือจากกลุ่มคนเสื้อแดง

  1. ให้ถอดเสื้อสีแดง และวางสัญลักษณ์ของ นปช. จนกว่ารัฐบาลจะประกาศยุบสภา
  2. อาสาสมัครจักรยานยนต์ไปประจำด่าน ทั้ง 6 ด่าน จำนวนด่านละ 2 พันคัน
  3. ให้คนเสื้อแดงทั่วประเทศคอยสังเกตการณ์กองกำลังทหาร และตำรวจที่พยายามจะเข้ามาในกรุงเทพมหานคร หากพบให้ทำการขัดขวางอย่างสันติ
  4. ให้กลุ่มคนเสื้อแดงกระทำและปฏิบัติตัวอย่างใดก็ได้อย่างอิสระ
  5. ให้ทุกคนจับกลุ่มย่อยละ 5 คน แลกเบอร์โทรศัพท์มือถือ และทำความรู้จักกันไว้ เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกัน

ณัฐวุฒิกล่าวอีกว่ามาตรการทั้งหมดนี้ เป็นมาตรการที่เตรียมไว้รับมือกับอภิสิทธิ์ เชื่อว่าภายใน 48 ชั่วโมงนี้ (24-26 เมษายน) อภิสิทธิ์ได้เตรียมการที่จะสลายการชุมนุม พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มคนเสื้อแดงทั่วประเทศเดินทางเข้ามาชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ เพื่อแสดงความไม่ต้องการรัฐบาลอำมาตย์[54]

ใกล้เคียง

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2554 การชุมนุมโค่นล้มระบอบทักษิณ พ.ศ. 2556 การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ_พ.ศ._2553 http://www.brisbanetimes.com.au/world/16-dead-more... http://www.smh.com.au/world/Red-Shirts-on-rampage-... http://www.theage.com.au/world/army-declares-shoot... http://www.abc.net.au/news/2010-06-08/thai-king-si... http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_con... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/105233 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/108670 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/119852