เบื้องหลัง ของ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ_พ.ศ._2553

ลำดับเหตุการณ์
12 มีนาคมเริ่มการชุมนุม มีการชุมนุมย่อยในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
16-17 มีนาคมผู้ชุมนุมเจาะเลือดไปเทที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลและที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์[24] และบ้านพักนายกรัฐมนตรี[25]
20 มีนาคมกลุ่มผู้ชุมนุมจัดขบวนรถเคลื่อนขบวนไปรอบกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสำคัญ
28-29 มีนาคมตัวแทนรัฐบาลเจรจาเรื่องการยุบสภากับตัวแทน นปช. สองรอบ ได้ข้อสรุปว่าจะให้ยุบสภา แต่ยังไม่กำหนดเวลา
3 เมษายนย้ายไปชุมนุมบางส่วนยังแยกราชประสงค์
7 เมษายนนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
8-9 เมษายนรัฐบาลนำกำลังทหารเข้าระงับการออกอากาศของสถานีประชาชน; กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังสถานี จนสถานีกลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง แต่กำลังทหารก็ได้เข้าระงับการออกอากาศอีก
10 เมษายนเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มีผู้เสียชีวิต 27 ศพ บาดเจ็บ 1,427 ราย[26][27][28]
16 เมษายนตำรวจหน่วยอรินทราช 26 บุกจับกุมแกนนำ นปช. ที่โรงแรมเอสซีปาร์ค แต่ไม่สำเร็จ
28 เมษายนเจ้าหน้าที่สลายขบวนผู้ชุมนุมบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ มีผู้บาดเจ็บกว่า 16 ศพ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย[29]
29 เมษายนกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
12 พฤษภาคมศอฉ. ประกาศตัดระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งมวลชนรอบแยกราชประสงค์
13 - 18 พฤษภาคมทหารกระชับพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ มีผู้เสียชีวิต 43 ศพ[30]
19 พฤษภาคมทหารสลายการชุมนุม เสียชีวิต 15 ศพ; แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุม

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ซึ่งพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอันต้องยุติลง อีกทั้งศาลยังตัดสินให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

มีการรายงานจากสื่อมวลชนบางแห่งว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้สนับสนุน หรือบีบบังคับ ให้ ส.ส.จำนวนหนึ่ง มาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์[3]แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนในเรื่องนี้ ในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติก็ยังเป็นเพียงความเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น โดย ส.ส.เหล่านั้น เป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา ที่นำโดย สนั่น ขจรประศาสน์, พรรคภูมิใจไทย และกลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนบางส่วน[31] สนับสนุนให้นายอภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[32][33][34] และชนะการลงมติให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคู่แข่ง จึงทำให้พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน[35]

ใกล้เคียง

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2554 การชุมนุมโค่นล้มระบอบทักษิณ พ.ศ. 2556 การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ_พ.ศ._2553 http://www.brisbanetimes.com.au/world/16-dead-more... http://www.smh.com.au/world/Red-Shirts-on-rampage-... http://www.theage.com.au/world/army-declares-shoot... http://www.abc.net.au/news/2010-06-08/thai-king-si... http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_con... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/105233 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/108670 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/119852