การเตรียมการ ของ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ_พ.ศ._2553

ฝ่ายผู้ชุมนุม

วันที่ 8 มีนาคม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ยืนยันว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะเข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 14 มีนาคมนี้ อย่างแน่นอน โดยยึดหลักประชาธิปไตย ไม่สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง โดยการชุมนุมครั้งนี้ยึดหลักสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง และได้วางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม[36]วันที่ 12 มีนาคม 2553

ฝ่ายรัฐบาล

วันที่ 11 มีนาคม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง พร้อมด้วย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก พลโท คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พลตำรวจโท สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมกองอำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ที่กองบัญชาการกองทัพบก

โดยได้นำชุดควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งชายและหญิง ชุดสายตรวจ ชุดสายตรวจ ชุดปฏิบัติการพิเศษ หรือหน่วยสวาท ชุดจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว หรือชุดปะ ฉะ ดะ เพื่อให้ประชาชนรับทราบเจ้าหน้าที่ของตำรวจที่จะปฏิบัติหน้าที่ในช่วงประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ระหว่างวันที่ 11–23 มีนาคม พ.ศ. 2553

นายสุเทพ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ประกาศเป็นพื้นที่ความมั่นคง มีชุดสายตรวจ ชุดปฏิบัติการพิเศษหรือหน่วยสวาท ชุดจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว หรือชุด ปะ ฉะ ดะ จะมีอาวุธติดตัว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยจะมีเครื่องหมายเลขชัดเจน


ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่งตั้งให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย[37]

วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยม พันโท เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช และ จ่าสิบเอก ปรัชญา สูงสันเขต ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎ[38]

ต่อมาในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ ที่ ร.11 รอ. พล.อ.อนุพงษ์ ได้เรียก ผบ.หน่วย ที่รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เข้าร่วมประชุมรับนโยบาย โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ. พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผช.ผบ.ทบ. พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสธ.ทบ. พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ.ทบ. พล.ท.โปฎก บุนนาค ผบ.นสศ. พล.ท.ยุทธศิลป์ โดยชื่นงาม ผบ.นปอ. พล.ต.อุกฤษฎ์ ณรงค์วิทย์ ผบ.มทบ.11 พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.พล.1 รอ. พล.ต.สุรศักดิ์ บุญสิริ ผบ.พล.ม.2 รอ. พล.ต.อำพล ชูประทุม ผบ.พล.ปตอ. พล.ต.อุทิศ สุนทร ผบ.พล.ร.9 พ.อ. พ.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ รองผบ.พล.ร.2 รอ. ปฏิบัติหน้าที่แทน พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผบ.พล.ร.2 รอ.ที่บาดเจ็บจากการปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน เข้าร่วมประชุม[39]

ใกล้เคียง

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2554 การชุมนุมโค่นล้มระบอบทักษิณ พ.ศ. 2556 การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ_พ.ศ._2553 http://www.brisbanetimes.com.au/world/16-dead-more... http://www.smh.com.au/world/Red-Shirts-on-rampage-... http://www.theage.com.au/world/army-declares-shoot... http://www.abc.net.au/news/2010-06-08/thai-king-si... http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_con... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/105233 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/108670 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/119852