ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ของ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ

กัมพูชา

ดูบทความหลักที่: ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

อภิสิทธิ์แต่งตั้งกษิต ภิรมย์ แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประท้วงประเทศกัมพูชาที่กระตุ้นให้บรรยากาศต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำเนินไปข้างหน้า กษิตเคยเรียกสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ว่า "นักเลง" (ต่อมาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 กษิตส่งจดหมายขอโทษโดยให้ความหมายว่านักเลง หมายถึง เป็นคนที่ใจกล้า เป็นสุภาพบุรุษที่กล้าหาญและใจกว้าง)[79]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพกัมพูชาบริเวณปราสาทเขาพระวิหารบริเวณใกล้กับชายแดนไทย-กัมพูชา รัฐบาลกัมพูชาอ้างว่าได้สังหารทหารไทยไป 4 ศพและถูกจับกุมมากกว่า 10 คน ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาปฏิเสธว่าทหารไทยไม่ได้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บก็ตาม ทหารกัมพูชา 2 คนถูกสังหาร กองทัพทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าเป็นฝ่ายยิงนัดแรกและรุกล้ำเข้ามายังเขตแดนก่อน[80][81]

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุประชาชนกัมพูชาเหยียบกันตายบนสะพานแขวนข้ามแม่น้ำบาสัก รัฐบาลไทยได้ให้เงินช่วยเหลือจำนวน 3 หมื่นดอลล่าร์ในวันรุ่งขึ้น[82]

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดเหตุการณ์การปะทะที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี โดยยืนยันจากชาวบ้านในพื้นที่[83]เป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[ต้องการอ้างอิง] ในพื้นที่ ตำบลเสาธงชัย หมู่ที่ 2,3,9,10,12,13 และ ตำบุลรุง หมู่ที่ 5,7,10 อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 การปะทะได้เกิดขึ้นที่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอบ้านกรวดเป็นอำเภอแรกของประเทศไทยที่ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศทั้งอำเภอโดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ในขณะนั้น[84] จนถึงวันที่ 26 เมษายน มีรายงานว่า ทหารไทยเสียชีวิต 5 นาย และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 35 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 7 นาย ได้รับบาดเจ็บ 17 นาย และอีก 1 นายหายสาบสูญ[85][86]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

จีน

รัฐบาลไทยรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลจีนในการออกแบบและก่อสร้างศูนย์การแพทย์แผนไทย-จีน ที่สถานีอนามัยตำบลกมลาจังหวัดภูเก็ตที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิ เพื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพการแพทย์แผนไทย-จีน ให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว และพัฒนาวิชาการด้านการแพทย์ทางเลือก คาดเสร็จพร้อมบริการในปี 2554[87]

รัฐบาลได้ทำข้อตกลงร่วมทุนในการทำโครงการศูนย์การค้าดังกล่าวในประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในการประชุม คณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 21 มีนาคม 2554 กระทรวงคมนาคมจะเสนอการร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อพิจารณา โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสองประเทศ[88]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตอบรับการเชิญขอรัฐบาลจีนเข้าร่วมงาน เวิลด์เอ็กซ์โป 2010ณ นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน พ.ศ. 2553[89] ทั้งนีรัฐบาลไทยประกาศการขอเสนอตัวให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 อีกด้วย

วันที่ 27 - 30 เมษายน พ.ศ. 2554 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศไทย เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนว่าตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประเทศจีนอย่างเป็นทางการ[90]

สิงคโปร์

วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554 นาวาอากาศเอก ถาวรวัฒน์ จันทนาคม รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2011 (Cope Tiger 2011) เปิดเผยว่า กองทัพอากาศไทยร่วมกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ และกองกำลังสหรัฐอเมริกา จัดการฝึกปฏิบัติการทางอากาศที่มีการสนธิกำลังทางอากาศ ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ภายใต้รหัสการฝึก “Cope Tiger 2011” ระหว่างวันที่ 14-25 มี.ค.นี้โดยจัดตั้งกองอำนวยการฝึก ที่กองบิน 1 จ.นครราชสีมา[91]

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554 Land Transport Authority ช่วยออกค่าเดินทางของญาติเยาวชนไทยผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถไฟจนถึงแก่ความพิการ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้าน SMRT ได้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษา อีก 5,000 เหรียญสิงคโปร์ แก่ ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ ผู้ประสบอุบัติเหตุ รวมถึงนักธุรกิจชาวสิงคโปร์ นายเดวิด กงออกค่าใช้จ่ายอีก 2 หมื่นบาท และนางแองเจลีน เฉิงได้ร่วมบริจาคด้วย[92][93]

วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการเพื่อหารือโครงการความร่วมมือระหว่างข้าราชการไทย-สิงคโปร์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ[94]

อินโดนีเซีย

นายกษิต ภิรมย์ ได้เดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[95]นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมประชุม การประชุมสุดยอดอาเซี่ยน ครั้งที่ 18ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[96]
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้เยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554[97]
วันที่ 6-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ ได้เดินทางไปประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย[98]
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย[99]รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 5 ( ADMM 5 ) ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[100]วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ เดินทางถึงท่าอากาศยานฮาร์ลิมเปอร์ดานา กุสุมา เพื่อเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum on East Asia ครั้งที่ 20 ที่จาการ์ตาหรือการประชุมเศรษฐกิจโลกในประเด็นเอเชียตะวันออกนายกรัฐมนตรีได้หารือกับ Mr.Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร World Economic Forum ที่โรงแรมแชงกรีล่า จาร์กาตา[101]

อิหร่าน

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายเอบราฮิม อาซีซี เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมประจำปีเอสแคป สมัยที่ 67 โดยรองประธานาธิบดีอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านพร้อมจะให้การสนับสนุนไทยในทุกเวทีพหุภาคี[102]

พม่า

เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังกองกำลังสหพันธรัฐว้า (UWSA) ในบริเวณพื้นที่เขตตอนบนหมู่ 1 บ้านป่าแลวตำบลป่าแลวหลวงจังหวัดน่าน[103]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เดินทางไปยังประเทศพม่าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11-12 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยรัฐบาลทั้งสองประเทศได้เล็งถึงประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายที่จะร่วมมือพัฒนาท่าเรือทวายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษรองรับการเปิดด่านสิงห์ขร จ.ประจวบคีรีขันธ์[104]

ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึง 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554 นายอู หม่องมินท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพม่าเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อหารือความร่วมมือในการดูแลแรงงานพม่าให้เข้ามาในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจดทะเบียนให้ถูกต้องและพิสูจน์สัญชาติโดยมีกำหนดการเดินทางเยี่ยมชม ศูนย์พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าที่ต.มหาชัย อ.เมือง จังหวัดสมุทรสาครในวันที่ 14-15 มิถุนายน พ.ศ. 2554[105]โดยมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน คอยต้อนรับ

ฟิลิปปินส์

นายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26-27พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยก่อนหน้านั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้หารือทวิภาคีกับปรธานาธิบดีฟิลิปปินส์ที่ กรุงจาการ์ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18 โดยขอให้ช่วยโน้มน้าวประเทศกัมพูชาให้กลับเข้าสู้การเจรจาแบบทวิภาคี[106]

ฮ่องกง

อภิสิทธิ์ได้เดินทางไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[107] เพื่อพบปะสื่อนานาชาติและสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

เนเธอร์แลนด์

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขาธิการรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงต่างประเทศ นายอิทธิพร บุญประคอง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้เดินทางไปพบ ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตกรุงเฮกเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการไต่สวนคดีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในวันที่ 30 และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยมี ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตกรุงเฮก เป็นประธานฝ่ายไทย[108]

สหรัฐอเมริกา

ระหว่างวันที่ 21-27 กันยนยน พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก และเข้าร่วมประชุม จี 20 ที่เมืองพิตส์เบิร์ก โดยในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับเกียรติจาก นาย ดันแคน นีเดราเออร์ ผู้อำนวยการ NYSE Euronext เป็นผู้ลั่นระฆังปิดตลาดหุ้นนิวยอร์ก[109]ระหว่างวันที่ 20-26 กันยายน พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปยังนครนิวยอร์กเพื่อประชุมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 65 และการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน - สหรัฐฯ (ASEAN-US Summit) ครั้งที่ 2[110]
สหรัฐอเมริกาได้มีคำสั่งย้ายเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนาย Eric G. John ก่อนหน้านั้นนายกษิต ภิรมย์รัฐมนตรีต่างประเทศได้เชิญนาย Eric G. John เข้าพบเพื่อประท้วงอย่างเป็นทางการถึงกรณีผู้ช่วย รมต.ต่างประเทศสหรัฐได้เข้าพบกับนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยแลประท้วงถึงการส่งตัวแทนเข้าร่วมการฟังบรรยายสรุปของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [111]รวมถึงการส่งทูตไปฟังกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[112]ทั้งนี้ นางคริสตี้ เคนนี่ย์ เดินทางเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554[113]

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้สั่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย อันเนื่องมาจากนายบารัค โอบามาประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกาแถลงถึงการเสียชีวิตของ อุซามะห์ บิน ลาดิน หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ [114]วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้ประกาศผลการจัดอันดับไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 2554 อย่างเป็นทางการ โดยคงไทยเป็นประเทศที่อยู่ในบัญชีจับตามองเป็นพิเศษ (พีดับบลิวแอล) เช่นเดียวกับปี 2553 หรือต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงการณ์จะส่งหนังสือคัดค้านเรื่องนี้และแสดงความผิดหวังต่อท่าทีของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์)[115]

อภิสิทธิ์ กับ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติพิตส์เบิร์ก
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

มอนเตเนโกร

กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเดินทางไปเยือนมอนเตเนโกรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เพื่อหาตลาดใหม่ร่วมมือการลงทุน[116] ถือเป็นการเดินทางเยือนของผู้แทนระดับสูงคนแรกของไทย นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2550[117]
มีนาคม พ.ศ. 2553 รัฐบาลประเทศมอนเตเนโกร อนุมัติสัญชาติมอนเตเนโกร ให้กับ ทักษิณ ชินวัตร[118] อดีตนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทย นับเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกและคนเดียวของประเทศไทยที่ได้รับสัญชาติจากประเทศนี้ในฐานะนักลงทุน[119]

ฝรั่งเศส

นาย กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20-21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้ลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 ซึ่งกระชับความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น[120]นาย สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.โสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะ คณะกรรมการมรดกโลก เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[121]

ออสเตรเลีย

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและภริยา ให้การต้อนรับ เควนติน ไบนซ์ ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน 2554[122]

นิวซีแลนด์

รัฐบาลไทยได้ส่งเงินจำนวน 2.3 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือชาวนิวซีแลนด์ที่ประสบภัยพิบัติในเหตุการณ์แผ่นดินไหว[123]

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยเชิญชวนนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เข้าร่วมความร่วมมือในกรอบลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อครั้งเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 ที่ฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม[124]

ลาตินอเมริกา

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานการประชุม Latin Business Forum 2010 ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล [125] ร่วมกับ นายคาร์ลอส โพซาดา อูกาซ รัฐมนตรีช่วยว่าการการค้าต่างประเทศและการท่องเที่ยวประเทศเปรู เอกอัครราชทูตจากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาประจำประเทศไทย [126]

กาตาร์

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนประเทศกาตาร์ นับเป็นการเยือนครั้งแรกในระดับนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่ทั้งสองประเทศได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2523 และได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-กาตาร์ และ บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าไทยและสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมกาตาร์[127]

สหราชอาณาจักร

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม พ.ศ. 2552 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในระดับทวิภาคี[128]นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรเพื่อเข้าร่วมการประชุมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศ ณ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2552[129]

อินเดีย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปเยือน กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อวันที่ 4-6 เมษายน พ.ศ. 2554เพื่อหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินเดีย รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินเดีย และ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอินเดีย [130]

สวิตเซอร์แลนด์

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปเยือน เมืองดาวอส และซูริก สมาพันธรัฐสวิส เพื่อร่วมประชุม เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม เมืองดาวอส และ เป็นประธานการประชุมเอกอัครราชทูต ประจำภาคพื้นยุโรป เมืองซูริค[131] ระหว่างวันที่ 28 มกราคม-31 มกราคม พ.ศ. 2554[132]

เวียดนาม

อภิสิทธิ์เดินทางไปพบเหงียน เติ๊น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพื่อพิจารณาถึงหนทางแก้ปัญหาวิกฤตการณ์การเงินโลก อภิสิทธิ์ไปถึงฮานอยใช้เวลาหนึ่งวันไปเยียมเยียน เหงียน เติ๊น สุงกล่าวว่า "การมาเยี่ยมเยียนของคุณจะช่วยให้มิตรภาพขยายกว้างและลึกซึ้งมากขึ้นและความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยซึ่งมีหลายแง่มุม"
ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวง​การคลัง ​ได้​เป็นหัวหน้าคณะ​ผู้​แทน​ไทย​เข้าร่วม​การประชุมรัฐมนตรีว่า​การกระทรวง​การคลังอา​เซียน+3 ครั้งที่ 14 วันที่ 4 พฤษภาคม 2554 ณ ฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยม​เวียดนาม [133]
วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางไปพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งสาธารณะ ประเทศเวียดนามที่กรุงฮานอย เพื่อพิจารณาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกัน รวมทั้งทำพิธีส่งมอบผู้เสียหายฯ ให้กับฝ่ายเวียดนาม พร้อมจะได้ตรวจเยี่ยมหญิงชาวเวียดนามทั้งหมดที่ประเทศเวียดนาม[134]

ญี่ปุ่น

อภิสิทธิ์ กับยูกิโอะ ฮาโตยามะ ในปี 2552

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[135] คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยจาก 30 วัน เป็น 90 วัน ให้แก่คนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ[136]

จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 รัฐบาลได้เสนอเงินช่วยเหลือโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินช่วยเหลือราว 100-200 ล้านบาท[137] ด้านเซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นมิตรแท้ในยามยาก[138]

กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เดินทางไปร่วมการประชุมด้านธุรกิจ ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[139]

ใกล้เคียง

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา การดำน้ำสกูบา การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา การดำน้ำ การดำเนินการ (คณิตศาสตร์) การดำน้ำในถ้ำ การดำเนินการพีชคณิต การดำเนินการเอกภาค

แหล่งที่มา

WikiPedia: การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ http://210.246.188.60/Rubstudent_web54/document/16... http://www.theage.com.au/articles/2009/04/14/12394... http://www.abc.net.au/news/stories/2009/01/29/2477... http://www.airandspaceclub.com/forum/index.php?top... http://www.aoodda.com/blog/?p=2023 http://news.asiaone.com/News/Latest+News/Asia/Stor... http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/KF10Ae... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics...