มาตรการปราบปรามการประท้วง ของ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ

อภิสิทธิ์เผชิญหน้ากับจำนวนผู้ที่ไม่พอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลของเขาเอง และท่ามกลางข่าวลือที่ว่าจะมีการยึดอำนาจเกิดขึ้น ในเดือนธันวาคม 2552 รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว.อ่างทอง เขียนบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าโดยบอกว่า ประเทศอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองแล้ว แม้ว่ายังไม่มีการสังหารหมู่แต่อย่างใด อภิสิทธิ์ประกาศใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และแต่งตั้ง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นอีกครั้งภายหลังจากที่ยกเลิกพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์แฉุกเฉิน โดยให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยก่อนหน้านี้ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้เคยถูกจัดขึ้นมาแล้วก่อนประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีนายสุเทพ เทือกสุพรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย อีกทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอำนาจ ตาม ประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในการปิดเว็บไซต์ ดำเนินการต่อศาลเพื่ออกหมายจับกุม หมายเรียก กับผู้กระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บางช่วงระยะเวลารวมถึงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 114 116 215 216[140] พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2546[141]

การสั่งฟ้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

อภิสิทธิ์ให้สัญญาว่าจะใช้หลักนิติรัฐและสั่งฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 21 คน ที่ต้องรับผิดชอบจากการยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งยังไม่ได้มีการออกหมายจับคดียึดสนามบิน[142] วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ศาลแพ่งได้ตัดสินให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต้องจ่ายชดเชยให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 522 ล้านบาท และค่าฤชาทนายความ โจทย์ 8 หมื่นบาท โดยศาลได้พิเคราะห์ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยส่วนหนึ่งได้เข้าไปในหอบังคับการบิน มีเจตนาที่จะยึด หรือก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย หรืออันตราอย่างหนึ่งอย่างใด รวมถึงเจตนาขัดขวางการทำงานของอากาศยานให้ชะงักหรือหยุด ลง[143] ในส่วนของศาลอาญาได้อนุมัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจฝากขังนายการุณ ใสงาม และ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์[144] ซึ่งต่อมาได้รับการประกันตัว ตำรวจได้สั่งฟ้องผู้ต้องหา 114 คนต่อพนักงานอัยการ เพื่อดำเนินคดีอาญาพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 มาตรา 6 ทวิ และมาตรา 11[145] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา135/1 มาตรา135/2 135/3 และ 135/4 [146]ในส่วนของศาลอาญาอัยการได้สั่งเลื่อนฟ้องคดีพันธมิตร ในคดีร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือ วิธีการอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือ ติชม โดยสุจริต เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือ รัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือ กำลังประทุษร้าย เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือ กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาญาจักร หรือ เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้เกิดความวุ่นวาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 215 216 ในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ มากกว่า 8 ครั้ง[147]คดียังไม่แล้วเสร็จ[148]

เหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ. 2552

นายกรัฐมนตรี เดินทางไปแถลงถึงกรณีตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงในเขตกทม. และปริมณฑล ที่กระทรวงมหาดไทย

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวหาผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้สั่งให้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และยังกล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรีว่ามีส่วนรู้ร่วมคิดในการก่อรัฐประหารขึ้นเพื่อรับรองให้อภิสิทธิ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าอภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อกล่าวหา กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงจำนวน 100 คนจาก 1,000 คนในกรุงเทพมหานครในช่วงต้นเดือนเมษายนมีความต้องการให้อภิสิทธิ์ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และต้องการให้ พล.อ.เปรม สุรยุทธิ์ และชาญชัย ลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี[149] พ.ต.ท. ทักษิณเรียกร้องให้มีการปฏิวัติโดยประชาชนอย่างเปิดเผย เพื่อให้มีชัยชนะต่อชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผู้ประท้วงเสื้อแดงแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติไปขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิทที่พัทยา ความรุนแรงจากการปะทะกันได้เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับกลุ่มเสื้อน้ำเงินที่สนับสนุนรัฐบาล และมีรายงานว่ากลุ่มคนเสื้อน้ำเงินได้ขว้างระเบิดมายังกลุ่มคนเสื้อแดง[150] การบุกรุกเข้าไปในที่ประชุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นสาเหตุให้การประชุมอาเซียนซัมมิทเป็นอันต้องยกเลิกไป ต่อมาอภิสิทธิ์จึงตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่พัทยาและชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน[151] ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้มีการรวมตัวกันมากกว่า 5 คนถูกห้ามไม่ให้นำเสนอข่าวที่ยุยงให้เกิดความวิตกกังวล[152]

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เริ่มต้นขึ้นนั้น ผู้ประท้วงได้ยกระดับการชุมนุมสูงขึ้นในกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงใช้รถยนต์ รถเมล์ และรถบรรทุกแก๊ส LPG จอดขวางตามถนนหลายจุดในใจกลางกรุงเทพมหานคร การต่อสู้ได้ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านรัฐบาล กลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนรัฐบาล และประชาชนทั่วไป การเดินขบวนไปยังหน้าบ้านสี่เสาว์เทเวศน์ มีผู้สนับสนุนพันธมิตรคนหนึ่งขับรถเข้าชนกลุ่มนปช. ก่อนที่จะขับรถหนีไป[153] อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากผู้ประท้วงกลุ่มเสื้อแดงยกระดับความตึงเครียดสูงขึ้นและกล่าวหาว่าผู้ที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลนั้นเป็นศัตรูของประเทศไทย[154] อภิสิทธิ์ยังได้ออกพระราชกำหนดมอบอำนาจให้รัฐบาลตรวจสอบการออกอากาศทางโทรทัศน์[155] ก่อนที่จะมีเหตุการณ์นองเลือด พ.ต.ท. ทักษิณ เรียกร้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ามาแทรกแซงไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากัน[156]

ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน ทหารใช้แก๊สน้ำตาและปืนที่บรรจุกระสุนซ้อมปนกับกระสุนจริงและปืนM16แบบพับฐาน,M-60,M-249สลายการชุมนุมจากแยกดินแดง ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 70 คนสูญหาย2คน[157][158] ผู้ประท้วงที่ต่อสู้กับกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ให้เข้ามาวางเพลิงในชุมชนของตัวเองถูกปืนจากคนเสื้อแดงยิงตาย 1 คน[159][160] ในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลสั่งให้ระงับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ช่องดีสเตชัน และสมาชิกของกลุ่มนปช.ในเวลานั้น ถูกเผยแพร่ภาพที่มีการปะทะกันขึ้น และวิทยุชุมชนหลายแห่งถูกปิด[161] ความรุนแรงจากการปะทะมีจำนวนมากในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำอีก 13 คน ต่อมาแกนนำนปช.เข้ามอบตัวกับตำรวจในวันที่ 14 เมษายน ภายหลังจากที่ความรุนแรงได้สิ้นสุดลง[162] หลังจากนั้นไม่นาน อภิสิทธิ์ได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ และออกหมายจับแกนนำเพิ่มอีก 12 คน[163]

รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลของผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบนี้จำนวนมากกว่า 120 คนเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มนปช.[164] ทางกลุ่มนปช.ประกาศว่ามีสมาชิกอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและถูกทหารนำศพไปโยนทิ้ง รัฐบาลได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ มีการตั้งข้อสงสัยว่า มีกลุ่มนปช.ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คนที่ดินแดงโดยมีบาดแผลที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เกิดจากอาวุธสงคราม ถึงแม้ว่ากองทัพจะออกมาปฏิเสธ[165] อภิสิทธิ์มอบหมายให้สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ออกมายืนยันว่าผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลถูกเสื้อแดงยิงตาย 2 คนที่ดินแดง[166] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประมาณมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท รวมถึงรถเมล์ที่ถูกเผาจำนวน 31 คัน[167]

วันที่ 21 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศ “สงครามสื่อ” มุ่งหมายจะเล่นงานข้อกล่าวหาของ นปช. อภิสิทธิ์ยังประกาศด้วยว่าจะแจกจ่ายวีซีดีเอกสารของรัฐบาลเกี่ยวกับสถานการณ์หลายล้านแผ่นไปยังประชาชน[168][169] ในเวลานั้น คำสั่งการตรวจสอบและฉุกเฉินของรัฐบาลยังคงอยู่ในที่ตั้ง ต่อมาประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 24 เมษายน[170]

การปฏิบัติต่อกลุ่ม นปช. ของอภิสิทธิ์โดยฉับพลันนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาใช้มาตรฐานอย่างหนึ่งต่อฝ่ายตรงข้าม และอีกอย่างหนึ่งต่อพันธมิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่าไว้ว่า “มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดว่าเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลอย่างไร จะเพียงแค่กระตุ้นให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลหันไปพึ่งการทำผิดกฎหมายมากขึ้น” ในเวลานั้น ยังไม่มีหมายจับพันธมิตรที่ไปยึดสนามบินเมื่อหลายเดือนก่อนหน้า ขณะที่หมายจับ นปช. เพียงไม่กี่ชั่วโมงภายหลังจากเหตุรุนแรงปะทุขึ้น[171] ในการไปให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ อภิสิทธิ์กล่าวว่า “ผมเข้าใจความรู้สึก (นปช.) ในกรณีที่ดูขัดแย้งกับของพันธมิตรฯที่ล่าช้า ปัญหาคือการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ผมเป็นรัฐบาล และกำลังอยู่ในขั้นตอนสืบสวน” เมื่อผู้สัมภาษณ์สังเกตว่าการยึดสนามบินยุติลงเพียงแค่ 2 สัปดาห์ก่อนที่อภิสิทธิ์จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขายืนยันว่า “ผมได้เรียกหัวหน้าตำรวจมาประชุมและแสดงความเป็นห่วงที่คดีกำลังตัดสินเป็นไปอย่างล่าช้า และพวกเขาทำคดีนี้คืบหน้าไปแล้ว”[172]

เหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ. 2553

ใกล้เคียง

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา การดำน้ำสกูบา การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา การดำน้ำ การดำเนินการ (คณิตศาสตร์) การดำน้ำในถ้ำ การดำเนินการพีชคณิต การดำเนินการเอกภาค

แหล่งที่มา

WikiPedia: การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ http://210.246.188.60/Rubstudent_web54/document/16... http://www.theage.com.au/articles/2009/04/14/12394... http://www.abc.net.au/news/stories/2009/01/29/2477... http://www.airandspaceclub.com/forum/index.php?top... http://www.aoodda.com/blog/?p=2023 http://news.asiaone.com/News/Latest+News/Asia/Stor... http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/KF10Ae... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics...