การทดลองโดยคนไข้ปลอม ของ การทดลองโรเซนแฮน

ดร. โรเซ็นแฮนเอง และผู้ร่วมงานที่สุขภาพจิตปกติ ได้พยายามเข้าโรงพยาบาลจิตเวชโดยโทรศัพท์หาหมอ โดยแกล้งทำเป็นประสาทหลอนได้ยินเสียงและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่ได้รับแจ้งว่าจะมีการทดลองคนไข้ปลอมรวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาจิตวิทยาอายุในช่วง 20 คนหนึ่ง นักจิตวิทยา 3 คน กุมารแพทย์คนหนึ่ง จิตแพทย์คนหนึ่ง จิตรกรคนหนึ่ง และแม่บ้านอีกคนหนึ่งทั้งหมดไม่มีประวัติโรคจิตคนไข้ปลอมใช้ชื่อปลอม และคนที่ทำงานด้านสุขภาพจิตใช้อาชีพปลอมเพื่อไม่ให้ได้รับการบริการหรือการตรวจพิจารณาเป็นพิเศษแต่นอกจากเรื่องชื่อและอาชีพแล้ว ประวัติอื่น ๆ เป็นเรื่องจริง

ในช่วงการประเมินทางจิตเวชเบื้องต้น พวกเขาอ้างว่าได้ยินเสียงคนเพศเดียวกันซึ่งบ่อยครั้งไม่ชัด แต่ดูเหมือนจะออกเสียคำว่า "empty (ว่าง)", "hollow (กลวง)", "thud (เสียงดังตุ้ม)" และไม่มีอะไรอย่างอื่นคำเหล่านี้เลือกเพื่อชวนให้คิดว่า กำลังมีปัญหาเรื่องว่าเกิดมาทำไม (existential crisis) โดยไม่มีวรรณกรรมวิชาการที่กล่าวถึงคำเหล่านี้ว่าเป็นอาการโรคจิตและ"คนไข้" ก็ไม่ได้แจ้งอาการอะไรอื่น ๆ

ถ้ารับเข้าโรงพยาบาล คนไข้ก็จะ "มีพฤติกรรมปกติ" โดยรายงานว่า รู้สึกปกติและไม่ได้ยินเสียงแล้วประวัติโรงพยาบาลที่ขอได้หลังจากการทดลองระบุว่า เจ้าหน้าที่กล่าวถึงคนไข้ปลอมทั้งหมดว่า มีมิตรสัมพันธ์ดีและให้ความร่วมมือคนไข้ปลอมทั้งหมดได้รับเข้าโรงพยาบาล 12 แห่งในที่ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งโรงพยาบาลเก่า ๆ ที่ได้เงินสนับสนุนไม่เพียงพอในเขตชนบท โรงพยาบาลที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยในเมืองที่มีชื่อเสียง และโรงพยาบาลเอกชนที่แพงลิ่วแห่งหนึ่ง

แม้ว่าจะแสดงอาการอย่างเดียวกัน แต่ 7 คนกลับได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทในโรงพยาบาลรัฐ และคนหนึ่ง manic-depressive psychosis (ปัจจุบันโรคอารมณ์สองขั้ว) ซึ่งเป็นวินิจฉัยที่มองในแง่ดีกว่าและมีโอกาสหายดีกว่าที่โรงพยาบาลเอกชนคนไข้อยู่ใน รพ. 7-52 วัน โดยเฉลี่ยที่ 19 วันทั้งหมดให้กลับบ้านโดยวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทในระยะโรคสงบ (in remission) ซึ่ง ดร. โรเซ็นแฮนถือเป็นหลักฐานว่า ความเจ็บป่วยทางจิตใจมองว่าเป็นภาวะที่ฟื้นสภาพไม่ได้ ซึ่งสร้างมลทินชั่วชีวิต ไม่ใช่โรคที่หายได้

แม้ว่าคนไข้จะจดบันทึกบ่อย ๆ และอย่างเปิดเผยในเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่และของคนไข้อื่น ๆ เจ้าหน้าที่ก็จับไม่ได้สักคนว่าเป็นคนไข้ปลอม แม้ว่า คนไข้ทางจิตเวชอื่น ๆ หลายคนดูเหมือนจะสามารถระบุพวกเขาได้ว่าเป็นคนไข้ปลอมในการเข้าโรงพยาบาล 3 ครั้งแรก คนไข้อื่น 35 คนจาก 118 คนแสดงความสงสัยว่า คนไข้ปลอมเป็นคนปกติ โดยบางคนแม้แต่เสนอว่า คนไข้ปลอมเป็นนักวิจัยหรือนักข่าวที่กำลังตรวจสอบ รพ.ส่วนบันทึกโรงพยาบาลชี้ว่า เจ้าหน้าที่ตีความพฤติกรรมของคนไข้ปลอมว่าเป็นอาการโรคจิตยกตัวอย่างเช่น พยาบาลคนหนึ่งกำหนดการจดบันทึกของคนไข้ปลอมว่าเป็น "พฤติกรรมการเขียน (writing behavior)" โดยพิจารณาว่ามันเป็นส่วนของโรค (pathological)ส่วนประวัติคนไข้ที่จริง ๆ เป็นคนปกติก็บันทึกตามที่คาดหวังเหมือนกับคนไข้โรคจิตเภท ตามทฤษฎีหลักที่ใช้ตอนนั้นว่าเป็นสมุฏฐานของโรค

การทดลองกำหนดให้คนไข้ปลอมต้องออกจาก รพ. ได้โดยตนเอง คือให้ รพ. ปล่อยตัวกลับบ้าน แม้ว่าจะได้ว่าจ้างทนายไว้ล่วงหน้าเพื่อกรณีฉุกเฉินถ้าชัดเจนว่า จะไม่ปล่อยคนไข้ปลอมให้กลับบ้านอย่างง่าย ๆหลังจากรับเข้าโรงพยาบาลและได้การวินิจฉัย คนไข้ปลอมจะไม่ได้กลับบ้านจนกระทั่งตกลงกับจิตแพทย์ว่าตนเป็นโรคจิต และเริ่มทานยารักษาโรคจิต ซึ่งจริง ๆ คนไข้ทิ้งลงในส้วมไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนที่สังเกตเห็นคนไข้ทิ้งยาและก็ไม่ได้รายงานพฤติกรรมนี้ด้วย

ดร. โรเซ็นแฮน และคนไข้ปลอมอื่น ๆ รายงานความรู้สึกว่าถูกลดสภาพความเป็นมนุษย์ (dehumanization) ถูกบุกรุกภาวะเฉพาะส่วนตัวอย่างรุนแรง และความเบื่อหน่ายเมื่ออยู่ใน รพ. ทรัพย์สมบัติที่ตนมีจะถูกค้นโดยสุ่ม และบางครั้งแม้แต่ถูกสังเกตเมื่อใช้ห้องน้ำคนไข้รายงานว่า แม้ว่าเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะตั้งใจดี แต่โดยทั่วไปก็ยังลดสภาพความเป็นมนุษย์และปฏิบัติต่อคนไข้เหมือนกับเป็นวัตถุ บ่อยครั้งถกประเด็นเกี่ยวกับคนไข้ต่อหน้าเหมือนกับไม่ได้อยู่ และจะเลี่ยงปฏิสัมพันธ์กับคนไข้โดยตรงยกเว้นเมื่อจำเป็นต่อหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่บางคนมีแนวโน้มที่จะทารุณคนไข้ทางกายหรือทางวาจาเมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นอยู่ใกล้ ๆมีหมอคนหนึ่งที่กล่าวกับนักศึกษาของตนถึงกลุ่มคนไข้ผู้กำลังแสดงความเบื่อรอรับอาหารกลางวันว่า คนไข้กำลังประสบกับอาการทางจิตเวชแบบ "สนองปาก" (oral-acquisitive)คนไข้พบหมอประมาณ 6.8 นาทีต่อวัน

ผมบอกเพื่อน ๆ บอกครอบครัวว่า "ผมจะออก (จากโรงพยาบาล) ตอนที่ออก แค่นั้นแหละ ผมอยู่ที่นั่นสัก 2-3 วันแล้วจะออก" แต่ไม่มีใครรู้ว่าผมจะต้องอยู่ที่นั่นถึง 2 "เดือน" ... วิธีเดียวที่จะออกได้ก็คือต้องบอกว่า พวกเขา (จิตแพทย์) ถูกต้องแล้ว (เพราะ) หมอบอกว่าผมบ้า (ผมก็เลยต้องบอกว่า) "ผมบ้า แต่กำลังดีขึ้น" นั่นเป็นคำยืนยันมุมมองของพวกเขาต่อผม

— ดร. เดวิด โรเซ็นแฮน ในรายการ The Trap เผยแพร่โดย BBC[5]

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดลองของมิลแกรม การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองโรเซนแฮน http://books.google.ca/books?id=DtKcG6qoY5AC&print... http://journals.lww.com/jonmd/Citation/1968/10000/... http://web.cocc.edu/lminorevans/on_being_sane_in_i... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1194504 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3367027 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/4683124 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5683680 http://www.integratedsociopsychology.net/sane_insa... http://www.holah.karoo.net/rosenhan.htm http://www.spotlightradio.net/listen/how-mad-are-y...