หลักทั่วไป ของ การทับศัพท์ภาษาฮินดี

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้ถ่ายเสียงภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันตามระบบการเทียบคำอักษรโรมันที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการเขียนตำราและเอกสารทางวิชาการ ซึ่งมีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritical mark) กำกับตัวอักษรเพื่อจำแนกความแตกต่างของอักษรแต่ละตัวได้ชัดเจน เป็นหลักในการจัดทำ

2. การเทียบเสียงสระและพยัญชนะตามหลักเกณฑ์นี้ยึดภาษาฮินดีที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นหลัก ซึ่งเรียกว่าเป็น "สระและพยัญชนะในระบบ" แต่เนื่องจากภาษาฮินดีซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ เปอร์เซีย และภาษาอื่น ๆ ด้วย หลักเกณฑ์นี้จึงได้เทียบเสียงสระและพยัญชนะที่มาจากภาษาอื่น ๆ นั้นไว้ด้วย และเรียกว่าเป็น "สระหรือพยัญชนะนอกระบบ" แต่เทียบไว้เฉพาะที่พบบ่อยเท่านั้น

3. ภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันมีทั้งที่เขียนตามระบบที่ใช้ตัวอักษรโรมันตามหลักเกณฑ์ข้อ 1. และที่ไม่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับตัวอักษรเนื่องจากไม่สะดวกในการพิมพ์หรือเขียน การทับศัพท์จากอักษรโรมันที่ไม่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรจึงอาจคลาดเคลื่อนจากศัพท์ในภาษาฮินดีไปบ้าง

4. คำบางคำในภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันเป็นคำที่เขียนตามการออกเสียงของชาวยุโรปและเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป เช่น Delhi, Bangalore, Shillong การทับศัพท์คำเหล่านี้ให้ใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษแทนหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฮินดี

5. การทับศัพท์ภาษาฮินดีตามหลักเกณฑ์นี้ได้แสดงไว้ 3 รูปแบบ คือ

5.1 ทับศัพท์แบบคงรูป หมายถึงการทับศัพท์แบบตรงตามรูปศัพท์เดิมโดยใช้เครื่องหมายพินทุด้วย เพื่อให้ถอดกลับเป็นอักษรโรมันหรืออักษรเทวนาครีได้ถูกต้องและออกเสียงได้ใกล้เคียงกับคำเดิม การทับศัพท์รูปแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ในหนังสือหรือเอกสารทางวิชาการ5.2 ทับศัพท์แบบปรับรูป หมายถึงการทับศัพท์โดยปรับให้เข้ากับอักขรวิธีไทย เช่น มีการประวิสรรชนีย์ท้ายคำหรือใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เพื่อให้ออกเสียงได้ง่ายและรูปคำกลมกลืนกับภาษาไทย5.3 ภาษาไทยใช้ หมายถึงคำที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต คำเหล่านี้ควรใช้ต่อไปตามเดิม คำบาลีสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้ในภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายลักษณะ เช่น5.3.1 แผลงพยัญชนะ ฏ เป็น "ฎ", ต เป็น "ด", ป เป็น "บ" และ ว เป็น "พ" เช่น
อักษรโรมัน

ṭīka
tej
pātāl
Vārāṇasī
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

ฏีกา

าตาล
าราณสี
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

ฏีกา
ชะ
าตาละ
าราณสี
ภาษาไทยใช้

ฎีกา
ชะ, เ
าดาล
าราณสี
5.3.2 แผลงสระเสียงสั้นเป็นเสียงยาว หรือเสียงยาวเป็นเสียงสั้น เช่น
อักษรโรมัน

bahu
dev
muni
vīthi
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

หุ
เทว
มุนิ
วีถิ
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

หุ
เทว
มุนิ
วีถิ
ภาษาไทยใช้

หู
เทว
มุนี
วิถี
5.3.3 ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตเพื่อให้ออกเสียงคำนั้นได้ง่ายขึ้นและกลมกลืนกับภาษาไทย เช่น
อักษรโรมัน

madhyasth
Nārāyaṇ
pūrṇ
śabd
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

มธฺยสฺถ
นารายณ
ปูรฺณ
ศพฺท
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

มัธยัสถะ
นารายณะ
ปูรณะ
ศัพทะ
ภาษาไทยใช้

มัธยัสถ์
นารายณ์
บูรณ์
ศัพท์

6. การเทียบเสียงสระและพยัญชนะให้ถือตามตารางเทียบเสียงสระภาษาฮินดีและตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาฮินดี

7. การเรียงสระและพยัญชนะในภาษาฮินดีที่ใช้ในตารางเทียบเสียงตามหลักเกณฑ์นี้ เรียงตามลำดับอักษรโรมัน

8. สระและพยัญชนะภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มีดังนี้

สระและพยัญชนะในระบบสระในระบบ:
 a = –ะ, –ั ā = –า i = –ิ ī = –ี u = –ุ
 ū = –ู ṛ (เมื่ออยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ) = ฤ
 e = เ– ai = ไ– o = โ– o (ตามหลังสระ) = ว au = เ–า
พยัญชนะในระบบ:
 วรรค ก (กะ): k = ก (กะ) kh = ข (ขะ) g = ค (คะ) gh = ฆ (ฆะ) ṅ = ง (งะ)
 วรรค จ (จะ): c = จ (จะ) ch = ฉ (ฉะ) j = ช (ชะ) jh = ฌ (ฌะ) ñ = ญ (ญะ)
 วรรค ฏ (ฏะ): ṭ = ฏ (ฏะ) ṭh = ฐ (ฐะ) ḍ = ฑ (ฑะ) ḍh= ฒ (ฒะ) ṇ = ณ (ณะ)
 วรรค ต (ตะ): t = ต (ตะ) th = ถ (ถะ) d = ท (ทะ) dh = ธ (ธะ) n = น (นะ)
 วรรค ป (ปะ): p = ป (ปะ) ph = ผ (ผะ) b = พ (พะ) bh = ภ (ภะ) m = ม (มะ)
 อวรรค (เศษวรรค): y = ย (ยะ) r = ร (ระ) l = ล (ละ) v = ว (วะ) ś = ศ (ศะ)
 ṣ = ษ (ษะ) s = ส (สะ) h = ห (หะ)
สัญลักษณ์พิเศษ:
 ṁ (ใช้แทนจันทรพินทุ) = ง ṃ (ใช้แทนอนุสวาร) = ง ḥ = ห์
สระและพยัญชนะนอกระบบสระนอกระบบ:
 āī = –าย, –าอี iā = เ–ีย, –ยา u = –ุ
พยัญชนะนอกระบบ:
 q = ก kh = ข g̱ = ค z = ซ d = ด
 b = บ f = ฟ ṛ = ร ṛh = รฺห h = ห, ฮ

9. การใช้เครื่องหมายพินทุ ใช้ในการทับศัพท์แบบคงรูป โดยใส่ไว้ใต้พยัญชนะไทยที่ถอดมาจากพยัญชนะโรมันที่ไม่มีสระกำกับ เช่น

อักษรโรมัน

candra
jhān
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

นฺทฺระ
ฌานฺสี
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

จันทระ
ฌานสี
ภาษาไทยใช้

จันทร์, จันทรา
ยกเว้นพยัญชนะท้ายคำซึ่งเดิม (ในภาษาบาลีและสันสกฤต) มี a กำกับ แต่ในภาษาฮินดีตัดออกไป ไม่ต้องใส่พินทุใต้พยัญชนะนั้น เช่น
อักษรโรมัน

karm
pātāl
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

กรฺ
ปาตา
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

กรรมะ
ปาตาละ
ภาษาไทยใช้

กรร
บาดา
แต่ถ้าพยัญชนะท้ายคำไม่มี a กำกับมาแต่เดิม ก็ใส่พินทุกำกับไว้ด้วย เช่น
อักษรโรมัน

brahmacārin
samrā
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

พฺรหฺมจารินฺ
สมฺราฏฺ
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

พรหมจาริน
สัมราฏ
ภาษาไทยใช้

––

10. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ใช้ในการทับศัพท์แบบปรับรูปในคำที่เป็นคำนอกระบบ (ไม่ได้มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต) โดยใส่บนพยัญชนะที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง เช่น

อักษรโรมัน

bādshāh
Kutubminār
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

บาดฺชาหฺ
กุตุบฺมินารฺ
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

บาดชาห์
กุตุบมินาร์
ภาษาไทยใช้

––

11. การประวิสรรชนีย์ท้ายคำ ใช้ในการทับศัพท์แบบคงรูปและปรับรูป ดังนี้

11.1 ใช้ทับศัพท์สระ a เมื่ออยู่ท้ายคำทั้งแบบคงรูปและปรับรูป เช่น
อักษรโรมัน

mantra
śiṣya
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

มนฺตฺร
ศิษฺย
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

มันตร
ศิษย
ภาษาไทยใช้

มนตร์
ศิษย์
11.2 ถ้าพยัญชนะท้ายคำมี a มาแต่เดิม (ในภาษาบาลีและสันสกฤต) แต่ในภาษาฮินดีได้ตัดออก ในการทับศัพท์แบบปรับรูปให้ประวิสรรชนีย์ด้วย เช่น
อักษรโรมัน

pūr
saṃsār
ทับศัพท์
(แบบคงรูป)

ปูรฺณ
สงฺสาร
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)

ปูรณ
สังสาร
ภาษาไทยใช้

บูรณ์
สงสาร, สังสาร (วัฏ)

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพกัวดัลคะแนล การทัพปราบอ้วนสุด