เบื้องหลัง ของ การทำเหมืองเหล็กสวีเดนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

แร่เหล็กที่สกัดใน Kiruna และ Malmberget

ความตกลงนาวิกอังกฤษ-เยอรมนี (AGNA) ค.ศ. 1935 ซึ่งเป็นการจัดทำข้อตกลงระหว่างอังกฤษและเยอรมนี ได้ท้าทายเอกราชของสวีเดนและนโยบายที่ต้องการคงความเป็นกลางอย่าวเหนียวแน่น แม้ว่าจะขัดต่อสนธิสัญญาแวร์ซาย ความตกลงนาวิกระหว่างทั้งสองประเทศได้เปิดโอกาสให้เยอรมนีเพิ่มขนาดของกองทัพเรือจนมีขนาดเป็นหนึ่งในสามของขนาดของราชนาวีอังกฤษ ขณะเดียวกัน อังกฤษยังได้ตกลงที่จะถอนกองทัพเรือออกจากทะเลบอลติกอย่างสมบูรณ์ ทำให้เยอรมนีมีอำนาจครอบงำในพื้นที่ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสวีเดนและประเทศบอลติกอื่น ๆ

ความตกลงนาวิกอังกฤษ-เยอรมนียังได้เป็นผลให้กองทัพเรือเยอรมันสามารถควบคุมการสัญจรทางทะเลส่วนใหญ่ทั้งในและนอกทะเลบอลติกได้ รวมไปถึงการสัญจรทางทะเลผ่านอ่าวบอทเนีย การนำเข้าแร่เหล็กของเยอรมนีส่วนมากมาจากอ่าวบอทเนียและเมืองท่าลูเลียของสวีเดน อย่างไรก็ตาม ลูเลียเป็นน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาว ดังนั้น เมืองท่านาร์วิกของนอร์เวย์จึงกลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญสำหรับการขนส่งแร่เหล็กในช่วงฤดูหนาว ส่วนเมืองท่าที่ไม่เป็นน้ำแข็งในฤดูหนาวอีกแห่งหนึ่ง คือ โอเซโลซันด์ ทางตอนใต้ของสต็อกโฮล์ม สำหรับแร่เหล็กจากเหมืองแร่ในเบิร์กสลาเกน เนื่องจากแร่เหล็กมีความสำคัญต่อความพยายามเสริมสร้างกองทัพของเยอรมนี และเนื่องจาก 50% จากการนำเข้าแร่เหล็กของเยอรมนีมาจากสวีเดน ความปลอดภัยของเส้นทางการค้าในทะเลบอลติกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเยอรมนี

ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีสามารถผลิตแร่เหล็กได้เพียงหนึ่งในสี่ของปริมาณการบริโภคแร่เหล็กทั้งปี โดยส่วนที่เหลือจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1940 การนำเข้าแร่เหล็กจากสวีเดน เช่นเดียวกันนอร์เวย์ คิดเป็นน้ำหนักกว่า 11,550,000 ตัน จากปริมาณแร่เหล็กที่เยอรมนีใช้ไปทั้งหมด 15,000,000 ตันในปีนั้น

ใกล้เคียง

การทำให้เป็นประชาธิปไตย การทำฝนเทียม การทำลายเขื่อนกาคอว์กา การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ การทำแผนที่ การทำให้ไว การทำลายป่า การทำลายล้างวัตถุระเบิด การทำฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง การทำเครื่องหมายกางเขน