วิธีปฏิบัติ ของ การทำไม้ตัดเรือนยอด

ประเพณีการทำไม้ตัดเรือนยอดแต่เดิมมาก็เหมือนกับการทำไม้ตอฟืน หรือ ไม้สาวโสด คือการกระตุ้นให้ต้นไม้แตกกิ่งก้านและใบใหม่เป็นประจำเพื่อให้มีไม้ฟืนไว้ใช้สม่ำเสมอ หรือในบางกรณีเพื่อให้มีใบหรือกิ่งแห้งที่เรียกว่า “ฟางต้นไม้” (tree hay) เก็บสะสมไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูหนาว ระยะเวลาการตัดแต่งจึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานซึ่งผันแปรจากระยะตัดทุกๆ ปีสำหรับฟางใบไม้ไปจนระยะตัดถึงทุกๆ 5 ปีสำหรับไม้ใช้งานหรือไม้ทำฟืน บางครั้งจะทำการตัดเฉพาะแขนงที่แตกใหม่ในฤดูตัดโดยเชื่อว่าจะช่วยลดโอกาสการตายของต้นไม้ที่ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ตัดแต่งเรือนยอดมานาน

การตัดแต่งแบบไม้ตัดเรือนยอดเป็นที่นิยมมากกว่าการตัดแต่งแบบไม้ตอฟืนสำหรับการทำ “ทุ่งไม้ฟืน” (wood pasture) เพราะสัตว์เลี้ยงพวกโค กระบือ แกะ หรือกวางจะเล็มหน่อแขนงที่แตกใหม่ไม่ถึง ต่างกับไม้ตอฟืนที่มีหน่อแตกเตี้ยในระดับที่สัตว์เล็มถึง

แสงสว่างที่ตกกระทบพื้นดินได้มากกว่าเนื่องจากความเตี้ยของต้นเป็นตัวกระตุ้นให้พืชชั้นล่างแพร่กระจายได้มากขึ้นเนื่องจากปริมาณของแสงแดดที่ตกถึงพื้นได้มากกว่าต้นไม้สูง เป็นเหตุให้เกิดความหลากหลายของชนิดพืชพรรณของไม้พื้นล่าง อย่างไรก็ดี ในป่าปลูกที่แต่ก่อนมีการทำไม้ตัดเรือนยอดกันมากแต่ได้เลิกทำแล้วในปัจจุบันนั้นเกิดปรากฏการณ์ในลักษณะตรงกันข้าม โดยหน่อจะแตกออกทางข้างที่ระดับพื้นดินและบนลำต้นเติบโตมากจนเป็นกิ่งขนาดเท่าลำต้น ตัวอย่างดังกล่าวเกิดที่ป่าเอ็บปิง (Epping Forest) ในกรุงลอนดอน อันเป็นผลจากการทำไม้ตัดเรือนยอดท่ทำกันมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้ปริมาณของแสงสว่างตกถึงพื้นน้อยมากเพราะจากการขึ้นอย่างหนาแน่นของไม้ตัดเรือนยอดเดิม

ไม้ตัดเรือนยอดที่ตัดสูงประมาณ 1 เมตร เรียกว่า “ไม้ตอ” (stubs) ใช้สำหรับทำเครื่องหมายในทุ่งไม้ตอฟืนหรือป่าปลูกอื่นๆ ไม้ตอมักใช้ไม่ได้สำหรับพื้นที่ที่มีทุ่งเลี้ยงสัตว์ เพราะหน่อแตกใหม่จะเตี้ยกว่าระดับเล็มของสัตว์ดังได้กล่าวมาแล้ว

ต้นลินเด็นตัดเรือนยอด (Pollarded linden), ที่เมือง Dagobertshausen, ประเทศเยอรมนี

ใกล้เคียง

การทำให้เป็นประชาธิปไตย การทำฝนเทียม การทำลายเขื่อนกาคอว์กา การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ การทำแผนที่ การทำให้ไว การทำลายป่า การทำลายล้างวัตถุระเบิด การทำฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง การทำเครื่องหมายกางเขน