ภาวะแทรกซ้อน ของ การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพเป็นทางเลือกสุดท้ายของการช่วยชีวิตซึ่งหากไม่ได้ทำแล้วผู้ป่วยที่ไม่มีชีพจรจะเสียชีวิตอย่างแน่นอน ธรรมชาติของลักษณะการกดหน้าอกเพื่อช่วยกู้ชีพย่อมนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขภายหลัง ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ซี่โครงหัก กระดูกสันอกหัก เลือดออกในช่องอกด้านหน้า ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนบน การบาดเจ็บต่ออวัยวะในช่องท้อง และภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับเนื้อเยื่อปอด เป็นต้น

การบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดจากการช่วยกู้ชีพคือกระดูกซี่โครงหัก จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีโอกาสเกิดประมาณ 13-97% และกระดูกสันอกหักซึ่งมีโอกาสเกิดประมาณ 1-43% ภาวะเหล่านี้ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการให้การรักษา (iatrogenic) และอาจทำให้จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม (หากผู้ป่วยรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดได้) แต่ภาวะเหล่านี้เพียง 0.5% เท่านั้นที่เป็นมากจนถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต

โอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บชนิดใดหรือเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่นเพศและอายุ เช่น ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกสันอกหักมากกว่าผู้ชาย ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดกระดูกซี่โครงหักมากกว่าคนอายุน้อย เป็นต้น ผู้ป่วยเด็กและทารกมีโอกาสเกิดกระดูกซี่โครงหักน้อยโดยมีโอกาสประมาณ 0-2% ซึ่งหากเกิดมักเป็นกระดูกซี่โครงด้านหน้าหักและหักหลายชิ้น

ในกรณีที่มีการกดหน้าอกเพื่อกู้ชีพในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีภาวะหัวใจหยุด มีผู้ได้รับบาดเจ็บดังกล่าวเพียงประมาณ 2% (แต่มีความรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัวประมาณ 12%)

ใกล้เคียง

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ การนวดแผนไทย การนวดเร้ากำหนัด การนวด การนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ การนวดกษัย การนวดอโรมาเทราพี การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การนำความร้อน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ http://icd9cm.chrisendres.com/index.php?srchtype=p... http://emsresponder.com/print/Emergency--Medical-S... http://www.erc.edu/index.php/docLibrary/en/viewDoc... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20951422 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956217 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956221 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956249 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2987687 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?field=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00...