วิธีการ ของ การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ

พ.ศ. 2553 สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการประสานงานนานาชาติว่าด้วยการกู้ชีพได้ปรับปรุงแนงทางปฏิบัติการกู้ชีพขึ้นใหม่[7]:S640[9] มีการให้ความสัมพันธ์กับคุณภาพของการกู้ชีพ โดยเฉพาะอัตราเร็วและความลึกของการกดหน้าอกร่วมกับการไม่ทำให้เกิดภาวะหายใจเกิน[7]:S640 มีการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนการช่วยชีวิตสำหรับทุกช่วงอายุยกเว้นทารก โดยเปลี่ยนจาก ABC (ทางเดินหายใจ การหายใจ การไหลเวียน) เป็น CAB (การกดหน้าอก ทางเดินหายใจ การหายใจ)[7]:S642 โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะผู้ป่วยที่ชัดเจนว่ามีภาวะหายใจหยุด เช่น จมน้ำ เป็นต้น[7]:S642

แบบมาตรฐาน

อัตราส่วนการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจที่แนะนำคือ 30:2[10]:8 ส่วนในเด็กหากมีผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปแนะนำให้ใช้อัตราส่วน 15:2[10]:8 ในทารกแรกเกิดใช้อัตราส่วน 3:1 เว้นแต่รู้อยู่ก่อนว่าเป็นภาวะหัวใจหยุดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจโดยตรง (cardiac cause) ให้ใช้อัตราส่วน 15:2 ได้[7]:S647 หากได้เริ่มการช่วยหายใจขั้นสูงแล้ว (เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจทางหลอดลม หรือหน้ากากปิดกล่องเสียง) ให้ดำเนินการช่วยหายใจและกดหน้าอกไปได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องนับเป็นจังหวะอัตราส่วน โดยให้ช่วยหายใจด้วยอัตรา 8-10 ครั้งต่อนาที[11] ลำดับของการช่วยเหลือที่แนะนำคือให้เริ่มจากการกดหน้าอก (Chest compression) ช่วยทางเดินหายใจ (Airway) และตามด้วยการช่วยหายใจ (Breathing) คือลำดับ CAB เว้นแต่มีข้อบ่งชี้อื่น[7]:S642 โดยกดหน้าอกเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที[10]:8 ความลึกของการกดหน้าอกสำหรับผู้ใหญ่และเด็กคือประมาณ 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) และในทารกคือประมาณ 4 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)[10]:8 ใน ค.ศ. 2010 Resuscitation council ของอังกฤษยังแนะนำให้ใช้ลำดับการช่วยเหลือ ABC ในการช่วยกู้ชีพเด็ก[12] เนื่องจากการจับชีพจรอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ช่วยเหลือที่เป็นคนทั่วไปจึงได้ตัดขั้นตอนนี้ออก แม้จะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่แนะนำให้เสียเวลากับการพยายามจับชีพจรนานเกิน 10 วินาที[10]:8 ในการกดหน้าอกผู้ใหญ่ให้ใช้สองมือ ในเด็กใช้มือเดียว และในทารกใช้สองนิ้ว[13]

แบบกดหน้าอกอย่างเดียว

หมายถึงการกดหน้าอกเพื่อช่วยกู้ชีพโดยไม่มีการช่วยหายใจ[7]:S643 เป็นวิธีที่ให้ใช้ได้สำหรับผู้ช่วยเหลือที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนหรือไม่เชี่ยวชาญเนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทำไปพร้อมกับรับคำแนะนำทางโทรศัพท์ได้โดยง่าย[7]:S643[10]:8[14] วิธีการกดหน้าอกเหมือนกันกับในวิธีมาตรฐานคือกดด้วยอัตราอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที เชื่อว่าการแนะนำให้มีการกดหน้าอกเพื่อกู้ชีพโดยไม่มีการช่วยหายใจนี้จะทำให้มีผู้ช่วยเหลือที่สมัครใจจะเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นได้มากขึ้น[15]

ใกล้เคียง

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ การนวดแผนไทย การนวดเร้ากำหนัด การนวด การนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ การนวดกษัย การนวดอโรมาเทราพี การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การนำความร้อน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ http://icd9cm.chrisendres.com/index.php?srchtype=p... http://emsresponder.com/print/Emergency--Medical-S... http://www.erc.edu/index.php/docLibrary/en/viewDoc... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20951422 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956217 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956221 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956249 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2987687 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?field=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00...