การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ
การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ[1] (อังกฤษ: Cardiopulmonary resuscitation) หรือ ซีพีอาร์ เป็นหัตถการฉุกเฉินทางการแพทย์สำหรับผู้ที่หัวใจหยุดเต้น หรือหยุดหายใจในบางกรณี[2] อาจทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือโดยคนทั่วไปที่ได้รับการฝึกก็ได้[3]ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นประกอบด้วยการจำลองการไหลเวียนโลหิต (เช่น การนวดหัวใจ) และการจำลองการหายใจ (เช่น การผายปอด) [2][4] อย่างไรก็ดี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) และสภาการกู้ชีพยุโรป (European Resuscitation Council) เสนอให้เห็นถึงผลดีของการนวดหัวใจเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องผายปอดสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นผู้ใหญ่[5][6] ส่วนการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นยังคงทำอยู่เป็นส่วนหนึ่งของการกู้ชีวิตระดับสูงจนกว่าหัวใจของผู้ป่วยจะกลับมาเต้นตามปกติ หรือเสียชีวิตหลักการของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพไม่ใช่การทำให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่ แต่เป็นเพื่อรักษาให้มีการไหลเวียนของเลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและหัวใจ เป็นการชะลอการตายของเนื้อเยื่อและเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยจะฟื้นกลับขึ้นมาโดยไม่มีความเสียหายถาวรเกิดขึ้นกับสมอง ปกติแล้วการกระตุ้นให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่จะต้องใช้การกู้ชีพขั้นสูง เช่น การช็อตไฟฟ้าหัวใจ

ใกล้เคียง

การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ การนวดแผนไทย การนวดเร้ากำหนัด การนวด การนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ การนวดกษัย การนวดอโรมาเทราพี การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การนำความร้อน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ http://icd9cm.chrisendres.com/index.php?srchtype=p... http://emsresponder.com/print/Emergency--Medical-S... http://www.erc.edu/index.php/docLibrary/en/viewDoc... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20951422 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956217 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956221 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20956249 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2987687 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?field=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00...