ในยุโรป ของ การบังคับให้ฆ่าตัวตาย

กรณีที่มีชื่อเสียงอีกกรณีหนึ่งของ “การบังคับให้ฆ่าตัวตาย” คือการฆ่าตัวตายของจอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) แม่ทัพของกองทัพเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อรอมเมลแสดงความขาดความเชื่อมั่นว่าเยอรมันจะชนะสงครามและถูกต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมในแผนการลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เพราะความที่เป็นที่นิยมของประชาชนเยอรมันรอมเมลจึงถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย ฮิตเลอร์ให้รอมเมลเลือกระหว่างการลงโทษโดยการกินไซยาไนด์ (cyanide) หรือโดยการลงโทษครอบครัวและผู้ที่ทำงานกับรอมเมลให้ได้รับความอัปยศ รอมเมลจึงเลือกวิธีแรก นอกจากกรณีนี้แล้วก็ยังมีผู้นำทางการทหารอีกหลายคนในรัฐบาลของฮิตเลอร์ที่ถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมีเหตุการณ์เกี่ยวกับ “การบังคับให้ฆ่าตัวตาย” หลายครั้งในระบบการทหารของสตาลิน เช่นที่แสดงในภาพยนตร์เรื่อง “Burnt by the Sun” ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีเกียรติกว่าการถูกขึ้นศาลทหาร

ใกล้เคียง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การบัญชี การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ การบันเทิง การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าจอตา การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง การบังคับให้ฆ่าตัวตาย การบังคับใช้กฎหมายในประเทศสโลวีเนีย การบังคับบุคคลให้สูญหาย