ในเอเชีย ของ การบังคับให้ฆ่าตัวตาย

การบังคับให้ฆ่าตัวตายเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์จีน เช่นในกรณีที่แม่ทัพหรือผู้นำทางทหารนำความเสียหายมาสู่บ้านเมือง ก็จะได้รับคำสั่งให้ฆ่าตัวตาย นอกจากนั้นก็ยังเป็นวิธีที่ใช้บ่อยในการสังหารอาชญากรสตรีที่ถือว่าเป็นวิธีที่ทารุณน้อยกว่าการตัดหัว

ในอินเดียวัฒนธรรมการสตีหรือการกระโดดเข้ากองไฟเผาตัวตายตามสามี[1][2][3] ไม่ถือว่าเป็นยโศโฆษาฆาต (honor killing) หรือการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ แต่เป็นการถูกบังคับตามประเพณีให้ฆ่าตัวตาย[4][5] แต่การจะกล่าวว่าการกระโดดเข้ากองไฟจะเป็นการกระทำโดยความตั้งใจของผู้กระทำเองหรือถูกบังคับให้ทำก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะตกลงกันได้ เช่นในกรณีเมื่อไม่นานมานี้ของรูพ คานวาร์[6] ที่สงสัยกันว่าเป็นการบังคับให้ทำสตี[7] นอกจากกรณีนี้แล้วก็ยังมีกรณีอื่นๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการสืบสวน[8] แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดใดที่สนับสนุนว่าเป็นการบังคับ[9][10][11]

ประเพณีเซ็ปปุกุของญี่ปุ่นก็อยู่ในข่าย “การบังคับให้ฆ่าตัวตาย” หรือประเพณีบูชิโดที่ปฏิบัติโดยซามูไรที่ต้องฆ่าตัวตายเมื่อพบว่าขาดความจงรักภักดี ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้ไดเมียวหรือโชกุนไม่ต้องเสียเกียรติในการที่จะต้องฆ่าผู้ติดตามด้วยตนเอง ที่ปฏิบัติกันโดยเฉพาะในยุคเอะโดะที่เห็นได้จากตัวอย่างในกรณีของ อาซาโนะ นางาโนริ (Asano Naganori)

ใกล้เคียง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การบัญชี การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ การบันเทิง การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าจอตา การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง การบังคับให้ฆ่าตัวตาย การบังคับใช้กฎหมายในประเทศสโลวีเนีย การบังคับบุคคลให้สูญหาย