การปรับปรุงกองทัพของเกาหลี ของ การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น_(ค.ศ._1592–98)

วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงกองทัพ

ป้อมที่มั่นแข็งแรงเช่น ป้อมฮวาซอง นั้นมีความสำคัญมาก แต่ทว่าการฉ้อราษฐ์ฯภยในทำให้แผนการสร้างป้อมปราการเหล่านี้ถูกระงับไว้

ในช่วงระหว่างการเจรจาสันติภาพ รัฐบาลเกาหลีมีโอกาสที่จะศึกษาถึงสาเหตุที่ญี่ปุ่นสามารถเข้ายึดครองเกาหลีได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมหาอุปราชรยูซองรยงเป็นผู้บรรยายถึงข้อเสียเปรียบของฝ่ายเกาหลี[ต้องการอ้างอิง]

รยูซองรยงระบุว่าปราสาทเกาหลีนั้นอ่อนแออย่างมากซึ่งเป็นประเด็นที่เขาเคยกล่าวเตือนในราชสำนักมาก่อนสงครามเสียอีก [ต้องการอ้างอิง] เขาแจกแจงถึงจุดบกพร่องของปราสาท ป้อมปราการ ตลอดจนแนวกำแพงซึ่งง่ายอย่างมากต่อการป่ายปีน[ต้องการอ้างอิง] เขาโน้มน้าวให้มีการสร้างหอคอยแข็งแรงพร้อมแนวยิงปืนใหญ่[ต้องการอ้างอิง] นอกเหนือไปจากปราสาทแล้ว เขายังโน้มน้าวให้มีการสร้างแนวกำแพงและป้อมป้องกันเพิ่มเติมหลาย ๆ ชั้นอีกด้วย ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ยากต่อข้าศึกในการรุกรานเนื่องจากต้องข้ามกำแพงหลายชั้นก่อนที่จะเดินทางเข้าถึงโซล[ต้องการอ้างอิง]

รยูซองรยงยังชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกองทัพญี่ปุ่นอันสามารถรุกคืบถึงโซลได้ในเวลาเพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้น รวมไปถึงความยอดเยี่ยมในการจัดหน่วยของญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง] รยูซองรยงชี้แจงยุทธวิธีอันซับซ้อนของฝ่ายญี่ปุ่น มักจะเริ่มด้วยการตัดกำลังข้าศึกด้วยปืนคาบศิลาก่อนที่จะเข้าโจมตีในระยะประชิด[ต้องการอ้างอิง] ในขณะที่กองทัพเกาหลีมักจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างไร้ยุทธวิธีและการจัดหน่วย[ต้องการอ้างอิง]

หน่วยฝึกทหาร

ในท้ายที่สุดพระเจ้าซอนโจและราชสำนักของพระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัพจัดตั้งหน่วยฝึกทหารขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1593[ต้องการอ้างอิง] หน่วยฝึกทหารนี้ถูกแบ่งออกกองทัพออกเป็นหน่วย ๆ อย่างระมัดระวัง ในแต่ละกองร้อยจะประกอบไปด้วยหมวดพลธนู หมวดพลปืนคาบศิลา หมวดพลดาบ และหมวดพลทวน[ต้องการอ้างอิง] หน่วยฝึกทหารนี้ยังจัดระเบียบกองพลในแต่ละมณฑลและการประจำการของแต่ละกองพันในแต่ละปราสาทอีกด้วย [ต้องการอ้างอิง] หน่วยงานนี้แต่แรกเริ่มมีข้าราชการทำงานเพียง 80 นาย แต่เติบโตขึ้นเป็นประมาณ 10,000 นายอย่างรวดเร็ว[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงเวลานี้เอง ฮัน กโย (한교) บัณฑิตสายทหารแต่งคู่มือฝึกทหาร มูเยเจโป ซึ่งดัดแปลงมาจากตำรา จี้เซี่ยวซินซูซึ่งแต่งโดยแม่ทัพคนดังของจีนนามชี จี้กวง

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566 การบุกครองยูโกสลาเวีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น_(ค.ศ._1592–98) http://www.britannica.com/eb/article-9070532/Suwon http://www.donga.com/fbin/output?n=200702200055 http://www.e-sunshin.com/e-sunshin/life/yimjin_04.... http://users.erols.com/mwhite28/warstat0.htm#Total http://find.galegroup.com/itx/infomark.do?&content... http://www.geocities.com/odamachi2/nihongi2.htm http://books.google.com/books?id=rnNnOxvm3ZwC&pg=P... http://www.google.com/url?sa=t&ct=res&cd=15&url=ht... http://times.hankooki.com/lpage/biz/200607/kt20060... http://www.japan-101.com/history/toyotomi_hideyosh...