การรุกรานครั้งที่สอง ของ การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น_(ค.ศ._1592–98)

กำลังพลฝ่ายญี่ปุ่นในการรุกรานครั้งที่สอง[136]
กองทัพฝ่ายขวา
โมริ ฮิเดะโทะโมะ30,000
คะโต คิโยมะสะ10,000
คุโรดะ นะกะมะสะ5,000
นะเบะชิมะ นะโอชิกะ12,000
อิเคะดะ ฮิเดะยุจิ2,800
โชโซกะเบะ โมโตชิกะ3,000
นะคะกะวะ ฮิเดะนะริ2,500
รวม65,300
กองทัพฝ่ายซ้าย
ยุกิตะ ฮิเดะอิ10,000
โคะนิชิ ยุกินะกะ7,000
โช โยชิโตชิ1,000
มะสึอุระ ชิเกะโนะบุ3,000
อะริมะ ฮะรุโนะบุ2,000
โอะมุระ โยะชิอะกิ1,000
โกโต ซุมิฮะรุ700
ฮะชิซุกะ อิมะสะ7,200
โมริ โยะชินะริ2,000
อิโคะมะ คะสุมะสะ2,700
ชิมะสุ โยะชิฮิโระ10,000
ชิมะสุ ทะดะทสึเนะ800
อะกิซุกิ ทะเนะนะกะ300
ทะกะฮะชิ โมะโตะทะเนะ600
อิโตะ ซุเกะทะกะ500
ซะกะระ โยะริฟุสะ800
รวม49,600
กองทัพเรือ
โทะโดะ ทะกะโทะระ2,800
คะโต โยะชิอะกิ2,400
วะริซะกะ ยะซุฮะรุ1,200
คุรุชิมะ มิชิฟุสะ600
มิไทระ ซะเอะมอน200
รวม7,200
รวมทั้งหมด122,100

ฮิเดะโยะชิรู้สึกไม่พอใจกับการรุกรานครั้งแรกที่ผ่านมา ความล้มเหลวในการยึดครองพื้นที่ในจีนและการถอนกำลังทั้งหมดกลับญี่ปุ่นทำลายขวัญทหารฝ่ายญี่ปุ่นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ในจุดที่แตกต่างอย่างที่สุดของการทัพครั้งแรกและครั้งที่สองคือเป้าหมายของการรุกราน ที่ลดขนาดจากเดิมที่มุ่งหมายจะยึดครองจีนลงเป็นการยึดครองเกาหลีแทน [ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนี้ การแบ่งกำลังพลซึ่งแต่เดิมแบ่งออกเป็นเก้ากองพล ก็เปลี่ยนเป็นกองทัพฝ่ายซ้ายและกองทัพฝ่ายขวา ซึ่งมีกำลังพล 49,600 นาย และ 30,000 นายตามลำดับ [ต้องการอ้างอิง]

ไม่นานนักหลังจากที่คณะทูตจีนเดินทางกลับอย่างปลอดภัยใน ค.ศ. 1597 ฮิเดะโยะชิส่งเรือ 200 ลำ พร้อมด้วยกำลังพล 141,100 นาย[137] ภายใต้การบังคับบัญชาอย่างเด็ดขาดของโคบะยะกะวะ ฮิเดะอะกิ[138] ในการรุกรานครั้งที่สองนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นเดินทางขึ้นบกบนชายฝั่งทางตอนใต้ของมณฑลกยองแซงโดยไร้การต้านทาน แต่ทว่าฝั่งญี่ปุ่นกลับพบว่าฝ่ายเกาหลีได้การปรับปรุงยุทโธปกรณ์และพร้อมต่อการตั้งรับในครั้งนี้[139] เมื่อทางจีนได้รับข่าวการมาของญี่ปุ่น ราชสำนักหมิงจึงแต่งตั้ง หยาง เหา เป็นผู้บัญชาการกองทัพชุดแรก นำกำลังพล 55,000 นาย[137] จากหลาย ๆ มณฑลในจีน (ซึ่งบางที่ห่างไกลมาก) เช่น เสฉวน เจ้อเจียง ฟูเจี้ยน และกวนตง[140] ในกองทำลังนี้มีทหารเรือเข้าร่วมด้วย 21,000 นาย[141] เล่น หวง นักประวัติศาสตร์ชาวจีนประมาณว่ากำลังพลทั้งทหารบกและทหารเรือที่เข้าร่วมในสงครามครั้งที่สองนี้มีมากกว่าครั้งแรกประมาณ 75,000 นาย[142] ฝ่ายเกาหลีมีกำลังทั้งสิ้น 30,000 นาย ภายใต้การนำของนายพล กวอน ยูนซึ่งตั้งทัพที่ภูเขาโกง (공산; 公山) ในแดกู กองทัพของกวอนยุงในกยองจู กองกำลังของกวาก แจยูในชางนยอง กองทัพของลี บุกนามในนาจูและกองกำลังของลี ซียุนในชุงปุงนยอง[137]

การเริ่มรุกราน

ในช่วงต้นของการทัพ ฝ่ายญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเล็กน้อยจากการเข้าครองพื้นที่ในมณฑลกยองแซงและจากการโจมตีระยะสั้นหลาย ๆ ครั้งเพื่อทำลายแนวรับของกองกำลังฝ่ายเกาหลีและจีน[139] และตลอดการรุกรานครั้งที่สองนี้ ญี่ปุ่นกลับตกเป็นฝ่ายตั้งรับและถูกกักบริเวณเอาไว้ในมณฑลกยองแซงเสียส่วนมาก[139] ฝ่ายญี่ปุ่นวางแผนที่จะโจมตีมณฑลจอนลาซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลีโดยมีจอนจูเมืองหลวงของมณฑลเป็นเป้าหมาย ยุทธการตีป้อมจีนจูครั้งแรกเมื่อการรุกรานครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 1592 ช่วยปกป้องความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นจากการสู้รบระหว่างสองฝ่ายเอาไว้ได้ แต่ในครั้งนี้ ฝ่ายเกาหลีตกเป็นฝ่ายปราชัย กองกำลังญี่ปุ่นสองกองทัพนำโดยโมริ ฮิเดะโทะโมะ และ ยุกิตะ ฮิเดะอิเอะเคลื่อนทัพเข้าโจมตีปูซาน และเดินทางฝ่ายจอนจู ยึดครองซาชอนและชางปยองซึ่งเป็นทางผ่าน

ยุทธการยึดป้อมนามวอน

ดูบทความหลักที่: ยุทธการยึดป้อมนามวอน

นามวอนเป็นเมืองที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองจอนจู ระยะห่าง 48 กิโลเมตร เนื่องจากว่าถูกคาดการณ์เอาไว้แล้วว่าจะถูกโจมตี กองกำลังผสมจีน-เกาหลี 6,000 นาย (เป็นทหารและทหารอาสาจีน 3,000 นาย) จึงมีความพร้อมต่อการเข้ารณยุทธ[143] ญี่ปุ่นเข้าล้อมแนวกำแพงของป้อมด้วยบันไดและหอคอยเคลื่อนที่[144] ทั้งสองฝ่ายระดมยิงปืนคาบศิลาและธนูเข้าใส่กัน และสุดท้ายญี่ปุ่นสามารถขึ้นสู่กำแพงและทะลวงเข้าสู่ป้อมได้ โอโคะชิ ฮิเมะโมะโตะเขียนบันทึกเอาไว้ว่าฝ่ายเกาหลีและจีนเสียชีวิต 3,726 นาย[note 1][145] แลมณฑลจอนลาทั้งมณฑลก็ตกอยู่ใต้อำนาจของญี่ปุ่นแต่การยุทธครั้งนี้ทำให้ญี่ปุ่นพบว่าตัวเองถูกปิดทางถอยเอาไว้รอบด้านและแนวป้องกันก็มีเพียงรอบมณฑลกยองแซงเท่านั้น[139]

ยุทธการที่ฮวางโซคซาน

ป้อมฮวางโซคซานคือป้อมที่สีการสร้างแนวกำแพงโอบล้อมภูเขาฮวางโซกเอาไว้และมีทหารประจำการนับพันนายภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโจ จองโดและกวาก จุน[ต้องการอ้างอิง] เมื่อคาโต้ คิโยมะสะเคลื่อนพลเข้าล้อมด้วยกองทัพขนาดใหญ่ ฝ่ายเกาหลีก็เสียขวัญและถอนกำลังด้วยยอดสูญเสีย 350 นาย [ต้องการอ้างอิง] แต่ถึงแม้จะยึดป้อมได้แต่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ยังไม่สามารถที่จะขยับกำลังออกจากมณฑลกยองแซงได้แต่ยังคงถูกบีบให้รักษาที่มั่นของตัวจากการโจมตีของกำลังผสมจีน-เกาหลีอย่างสม่ำเสมอ[139]

ปฏิบัติการทางทะเล (ค.ศ. 1597–98)

การรบระยะประชิดเป็นยุทธวิธีที่นายพล อี ซุน-ชิน ไม่ค่อยจะใช้

เช่นเดียวกับการรุกรานระรอกที่หนึ่ง กองทัพเรือโซซอนยังคงเป็นส่วนสำคัญในปฏิบัติการทางทหารเพื่อการปกป้องอธิปไตยของโซซอนในการรุกรานครั้งนี้เช่นเดิม การดำเนินกิจกรรมทางทหารของญี่ปุ่นต้องมีอันหยุดชะงักเนื่องจากความขาดแคลนกำลังหนุน เสบียงแลยุทธปัจจัย[146] เนื่องจากชัยชนะของกองทัพเรือเกาหลีสกัดกั้นการเข้ามาของฝ่ายญี่ปุ่นทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี[146] อีกทั้งในการรุกรานระรอกที่สองนี้ จีนได้ส่งกองเรือเข้ามาช่วยหนุนเกาหลี จนทำให้กองทัพเรือเกาหลีกลายเป็นภัยคุกคามที่หนักหนาขึ้นสำหรับญี่ปุ่นเนื่องจากขนาดที่มากขึ้น

แผนกำจัด อี ซุน-ชิน

ในช่วงต้นของการรุกราน ปฏิบัติการนาวีของเกาหลีนั้นเชื่องช้าเนื่องจากว่านายพล วอน กยูน เข้ามาแทนที่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือของนายพลอี ซุน-ชิน

เนื่องจากนายพลอี ซุน-ชิน ผู้บัญชาการทหารเรือโซซอนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนาวียิ่ง ฝ่ายญี่ปุ่นจึงวางแผนกำจัดเขาด้วยการใช้ประโยชน์จากพระธรรมนูญทหารของโซซอนให้เป็นประโยชน์ ฝ่ายญี่ปุ่นใช้สายลับสองหน้าเข้าไปปล่อยข่าวลวงว่านายพลคาโต้ คิโยะมะซะจะเคลื่อนกองเรือขนาดใหญ่ในวันเวลาที่แน่นอนเพื่อโจมตีชายฝั่งเกาหลีและให้ อี ซุน-ชิน ออกไปซุ่มโจมตี[147]

เนื่องจาก อี ซุน-ชิน ทราบถึงสมุทรศาสตร์ของยุทธบริเวณนั้นเป็นอย่างดีว่าเต็มไปด้วยหินโสโครก เขาจึงปฏิเสธพระบรมราชโองการที่จะออกรบอันเป็นเหตุให้พระเจ้าซอนโจลงพระอาญาปลดเขาและจองจำข้อหาไม่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ ยิ่งไปกว่านั้น วอน กยูน ผู้ซึ่งขึ้นมาแทนตำแหน่งของ อี ซุน-ชิน ยังใส่ความเพ็ดทูลว่า อี ซุน-ชิน นั้นมักจะเมาสุราและเฉื่อยชาอีกด้วย

ยุทธนาวีที่ช่องแคบชีลชอนลยอง

หลังจากวอน กยูนเข้าแทนที่ตำแหน่งของ อี ซุน-ชิน เขาก็เรียกกองเรือทั้งหมดของเกาหลี ประมาณ 100 ลำ ที่แม่ทัพลีรวบรวมมาได้อย่างยากเย็น มาประชุมพลที่ยอสุเพื่อหาฝ่ายญี่ปุ่น จากนั้นวอน กยูนก็ออกเดินเรือมุ่งหน้าสู่ปูซานโดยปราศจากการวางแผนหรือเตรียมพร้อมใด ๆ ทั้งสิ้น

หนึ่งวันผ่านไป วอน กยูนได้รับข่าวที่ตั้งของกองเรือขนาดใหญ่ญี่ปุ่นบริเวณปูซาน เขาออกคำสั่งโจมตีโดยทันทีโดยไม่สนใจคำทักท้วงของบรรดาผู้บังคับการเรือเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าของบรรดากะลาสี

และในยุทธนาวีที่ช่องแคบชีลชอนลยองนี้เอง วอน กยูนถูกตรึงเอาไว้ด้วยการโจมตีฉับพลันของญี่ปุ่น กองเรือของเขาถูกระดมยิงด้วยปืนไฟและการบุกยึดเรือซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ญี่ปุ่นช่ำชอง อย่างไรก็ตาม หลายเดือนก่อนการรบจะเริ่มขึ้น แบ โซล หนีทัพพร้อมด้วยเรือพานโอกซอน 13 ลำ

และนี่ครจะได้รับการชี้ชัดว่ายุทธนาวีครั้งนี้เป็นการรบเพียงครั้งเดียวที่กองเรือญี่ปุ่นมีชัยเหนือกองเรือเกาหลี ส่วนตัววอน กยูนเองก็เสียชีวิตในการรบจากการถูกทหารญี่ปุ่นที่ตั้งค่ายอยู่ชายฝั่งสังหาร

ยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยอง

ข่าวความปราชัยของวอน กยูนที่ช่องแคบชีลชอนลยองทำให้พระเจ้าซอนโจมีพระบรมราชโองการปล่อย อี ซุน-ชิน ออกจากคุกพร้อมทั้งคืนตำแหน่งให้เขา อี ซุน-ชิน เร่งกลับไปที่ฐานทัพเรือและพบว่าเขามีเรือรบเหลืออยู่เพียง 13 ลำ พร้อมกำลังพลเพียง 200 นายจากความปราชัยในยุทธการครั้งก่อน[148] อย่างไรก็ตาม ความชาญยุทธพิชัยของ อี ซุน-ชิน หาได้ถดถอยลงไม่และในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1597 อี ซุน-ชิน ใช้เรือรบเพียง 13 ลำ เข้าในยุทธนาวีกับเรือรบญี่ปุ่น 133 ลำที่ช่องแคบมลองยอง[149] และในยุทธนาวีนี้เองฝ่ายเกาหลีกลับเป็นผู้มีชัยและบีบบังคับให้โมริ ฮิเดะโทะโมะถอนกองเรือญี่ปุ่นกลับปูซานเปิดช่องให้ลีซุนชินเข้าครอบครองชายฝั่งเกาหลี[150] ยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยองนับได้ว่าเป็นยุทธนาวีที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ อี ซุน-ชิน จากความแตกต่างของกำลังรบนี้เอง

ยุทธการตีป้อมอูลซาน

ดูบทความหลักที่: ยุทธการตีป้อมอูลซาน
ทหารจีนและเกาหลีเข้าโจมตีป้อมของฝ่ายญี่ปุ่น

ช่วงปลาย ค.ศ. 1597 กองทัพผสมหมิง-โซซอนได้ชัยชนะในจีกซานและผลักดันญี่ปุ่นลงใต้ได้สำเร็จ หลังจากได้ทราบข่าวความปราชัยที่มยองลยาง คาโต้ คิโยะมะซะและกองทัพที่กำลังร่นถอยของเขาตัดสินใจทำลายกยองจู อดีตเมืองหลวงของของอาณาจักรซิลลาทิ้ง

อย่างแน่นอนที่สุดว่าเมื่อญี่ปุ่นทำลายเมือง ข้าวของแลวัดวาอารามล้วนถูกทำลาย ซึ่งสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่ถูกทำลายไปในครั้งนี้คือวัดพุลกุกซา อย่างไรก็ตามกองทัพผสมยังคงไล่ตามตีญี่ปุ่นจนถึงอูลซาน[151] เมืองท่าที่เคยเป็นแหล่งขนส่งสินค้าที่สำคัญของญี่ปุ่นมานานนับร้อยปี และคาโต้ คิโยมะสะเลือกเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการตั้งรับ

อีกทั้งเนื่องจากแม่ทัพลีครอบครองน่านน้ำในช่องแคบเกาหลีทั้งหมด ตัดเส้นทางลำเลียงจากทะเลฝั่งตะวันตกเข้าสู่ลำน้ำในแผ่นดินเกาหลี เนื่องจากความขาดแคลนเสบียงและกำลังหนุน ฝ่ายญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกนอกจากตั้งรับอยู่ในปราสาทแบบญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นและยังไม่แตก เพิ่อฉกฉวยความได้เปรียบนี้เอง กองทัพผสมเกาหลี-จีนจึงสนธิกำลังกันเข้าตีป้อมอูลซานนี้ และนี่เป็นยุทธการเข้าตีครั้งใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายเกาหลี-จีนในการรุกรานระรอกที่สองนี้

ฝ่ายญี่ปุ่นวางกำลังทหารขนาดใหญ่ 7,000 นาย[152]ไว้ที่อูลซาน และทุ่มเทกำลังเสริมความแข็งแกร่งของป้อมเพื่อเตรียมตัวรับมือการโจมตีที่กำลังจะมาถึง[152] คาโต้ คิโยะมะซะมอบอำนาจการบัญชาการและการป้องกันเอาไว้กับคาโต้ ยะสุมะสะ คิคุ ฮิโระฮะตะ อะสะโนะ นะกะโยะชิ และนายทหารอื่นก่อนที่ตัวเองจะเดินทางไปโซแซงโป[152] ฝ่ายเกาหลีและจีนเริ่มการโจมตีในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1597[note 2] โจมตีทหารญี่ปุ่นที่ไม่ทันระวังตัวและกำลังตั้งค่ายเพื่องานก่อสร้างแนวกำแพงที่ยังไม่เสร็จ[153]

กองกำลังผสม 36,000 นายพร้อมด้วยซีนกีจอนและฮวาชาเกือบจะบุกเข้ายึดปราสาทได้แล้วแต่ว่ากำลังเสริมนำโดยโมริ ฮิเดะโทะโมะยกพลข้ามแม่น้ำเข้ามาช่วยกู้สถานการณ์และทำให้การรบยืดเยื้อขึ้น[154] ต่อมา เนื่องจากเสบียงที่ร่อยหรอลงเรื่อย ๆ ของฝ่ายญี่ปุ่นทำให้ชัยชนะเกือบจะตกเป็นของฝ่ายเกาหลี แต่ทว่ากำลังเสริมของญี่ปุ่นกลับโผล่ขึ้นมาตีด้านหลังกองทัพผสมจีน-เกาหลี ทำให้สถานการณ์พลิกกลายมาเป็นเสมอกัน อย่างไรก็ตามฝ่ายญี่ปุ่นนั้นอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากผ่านความสูญเสียมามาก

ยุทธการแห่งซาซอน

ดูบทความหลักที่: ยุทธการแห่งซาซอน

ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1597 กองกำลังผสมเกาหลี-จีนสามารถป้องการการเข้ายึดจีกซาน (ปัจจุบันคือชานอาน) เอาไว้ได้ ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นสิ้นหวังที่จะยึดครองเกลาหลีและเตรียมการถอนกำลังกลับ นับแต่ต้นฤดูใบไม้ผลิของปีถัดมา ฝ่ายเกาหลีและกองทหารจีนหนึ่งแสนนายเริ่มทำการยึดปราสาทตามแนวชายฝั่งคืน และเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1598 สมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เฉิน หลิน ผู้เชี่ยวชาญด้านปืนใหญ่คุมกองเรือเดินทางมาช่วยราชการกองทัพเรือเกาหลีในปฏิบัติการต่อต้านกองทัพเรือญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน จากการเตือนถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายของการทัพนี้โดยโคนิชิ ยุกินะกะ ทหารเจ็ดหมื่นนายถูกถอนกำลังกลับคงเหลือทหารหกหมื่นนายซึ่งส่วนมากเป็นทหารจากแคว้นเซ็ตซึมะภายใต้การบัญชาการของชิมะสึ โยะชิฮิโระ และลูกชายของเขา ชิมะสึ ทะดะทสึเนะ[155] ซึ่งต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวต่อต้านการโจมตีของจีนในซูชอนและซาชอน

ฝ่ายจีนเชื่อว่าซาชอนนั้นเป็นจุดสำคัญต่อแผนการยึดคืนปราสาทและสั่งให้มีการโจมตีซาชอน ถึงแม้ว่าฝ่ายจีนจะมีความเข้มแข็งกว่าในช่วงต้น แต่เพราะกำลังเสริมของฝ่ายญี่ปุ่นเข้าตีท้ายกองทัพจีนและทหารญี่ปุ่นจากในป้อมเปิดประตูออกตีกระหนาบ ทำให้สถานการณ์สู้รบพลิกกลับ[156] และทหารจีนต้องถอยหนีและมียอดสูญเสียสามหมื่น[157] อย่างไรก็ตาม จากการถูกเข้าตีหลายต่อหลายครั้ง ทำให้ญี่ปุ่นอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และต้องถอนกำลังออกจากบริเวณแนวชายฝั่ง

อสัญกรรมของฮิเดะโยะชิ

วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1598 ฮิเดะโยะชิออกคำสั่งถอนทัพออกจากเกาหลีจากบนเตียงของเขาก่อนสิ้นใจ[158] คณะผู้ทรงคุณวุฒิทั้งห้า ตัดสินใจปิดข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของฮิเดะโยะชิเอาไว้เป็นความลับเพื่อป้องกันมิให้ขวัญกองทัพเสียและส่งคำสั่งถอนทัพไปยังนายทหารญี่ปุ่นปลายเดือนตุลาคม

ยุทธนาวีที่โนลยาง

ดูบทความหลักที่: ยุทธนาวีที่โนลยาง

ยุทธนาวีที่โนลยางเป็นการรบทางทะเลครั้งสุดท้ายของการรุกรานครั้งนี้ กองทัพเรือเกาหลีภายใต้การบังคับบัญชาของ อี ซุน-ชิน ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่และได้ความความช่วยเหลือจากกองทัพเรือจีนภายใต้การบังคับบัญชาของเฉิน หลิน ฝ่ายข่าวกรองรายงานการถอนสมอของเรือญี่ปุ่นห้าร้อยลำบริเวณช่องแคยโนลยางเพิ่นำทหารญี่ปุ่นที่เหลือกลับบ้าน[159] อี ซุน-ชิน และเฉิน หลินเลือกบริเวณที่แคบในการเข้าโจมตีฉับพลันต่อกองเรือญี่ปุ่น ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1598 เวลาตีสองด้วยการระดมยิงปืนใหญ่และธนูไฟ

ช่วงรุ่งสาง เรือญี่ปุ่นจมลงสู่ทะเลกว่าครึ่ง และเนื่องจากญี่ปุ่นกำลังเริ่มถอย อี ซุน-ชิน สั่งให้เข้าประจันบาญกวาดล้างเรือที่ยังเหลือ และเนื่องจากเรือธงของเขาอยู่หัวขบวน อี ซุน-ชิน ถูกยิงเข้าที่อกซ้ายบริเวณใต้แขน อันเป็นครั้งที่สามที่เขาถูกยิงตลอดการรุกรานครั้งนี้ เขาสั่งให้นายทหารเก็บข่าวการเสียชีวิตเอาไว้เป็นความลับและสั่งให้มีการสู้รบต่อไปเพื่อดำรงไว้ซึ่งขวัญกำลังใจกองทัพ แม่ทัพลี ถึงแก่อสัญกรรมหลังจากนั้นไม่นาน มีเพียงนายทหารเพียงสามนายเท่านั้นที่ได้อยู่ดูใจเขาก่อนตายรวมทั้งหลานของเขาด้วย

การสู้รบจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเกาหลี-จีน โดยเรือฝ่ายญี่ปุ่นถูกทำลายไปเกือบ 250 ลำ จาก 500 ลำ แต่สิ่งที่ทหารได้รับทราบหลังการรบคือข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของแม่ทัพ อี ซุน-ชิน และว่ากันว่าเฉินหลินตกใจกับข่าวการตายของเขาอย่างมากจนสิ้นสติไปหลายครั้งและกล่าวไว้อาลัยให้แก่ อี ซุน-ชิน[160]

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566 การบุกครองยูโกสลาเวีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น_(ค.ศ._1592–98) http://www.britannica.com/eb/article-9070532/Suwon http://www.donga.com/fbin/output?n=200702200055 http://www.e-sunshin.com/e-sunshin/life/yimjin_04.... http://users.erols.com/mwhite28/warstat0.htm#Total http://find.galegroup.com/itx/infomark.do?&content... http://www.geocities.com/odamachi2/nihongi2.htm http://books.google.com/books?id=rnNnOxvm3ZwC&pg=P... http://www.google.com/url?sa=t&ct=res&cd=15&url=ht... http://times.hankooki.com/lpage/biz/200607/kt20060... http://www.japan-101.com/history/toyotomi_hideyosh...