การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก
การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

12th Army Group 21st Army Group 6th Army GroupArmy Group GArmy Group H
3,000,000+ captured (most from the eastern front)[14]การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นการประสานงานร่วมกันโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามในเขตสงครามยุโรปของสงครามโลกครั้งที่สอง ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร หนึ่งในปฏิบัติการรุกได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำการยึดและเข้ายึดทางตะวันออกและตะวันตกของฝั่งแม่น้ำไรน์: ปฏิบัติการเวริเทเบิลและปฏิบัติการเกรเนดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 และปฏิบัติการลัมเบอร์แจ็คและปฏิบัติการอันเดอร์โทน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มต้นด้วยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกทำการข้ามแม่น้ำไรน์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1945 ก่อนที่จะทำการกวาดล้างและเข้ายึดครองเยอรมนีตะวันตกทั้งหมดจากทะเลบอลติกในทางเหนือไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางตอนใต้ซึ่งพวกเขาจะเข้าสมทบกับกองกำลังทหารของกองทัพสหรัฐที่ห้าในอิตาลี เมื่อร่วมกับการเข้ายึดเมืองแบร์ชเทิสกาเดิน ที่เป็นความหวังของเหล่าผู้นำนาซีที่ยังคงทำสงครามต่อไปจากสิ่งที่เรียกกันว่า "ฐานที่มั่นแห่งชาติ" หรือการหลบหนีผ่านทางเทือกเขาแอลป์ก็ถูกทำลายลง ตามมาด้วยการยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขของเยอรมันในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า "การทัพยุโรปกลาง" ในประวัติศาสตร์การทหารของสหรัฐในช่วงต้นปี ค.ศ. 1945 เหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นที่ชื่นชอบของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป ในแนวรบด้านตะวันตก ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ต่อสู้รบในเยอรมนีด้วยการทัพต่อแนวซีคฟรีท นับตั้งแต่ยุทธการที่อาเคินและยุทธการที่ป่าเฮือร์ทเกินในปลายปี ค.ศ. 1944 และในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 ได้ผลักดันเยอรมันกลับไปยังจุดเริ่มต้นในช่วงยุทธการตอกลิ่ม ด้วยความล้มเหลวของการรุกครั้งนี้ทำให้กองกำลังสำรองทางยุทธศาสตร์ของเยอรมนีหมดลง ซึ่งไม่พร้อมที่จะต่อต้านการทัพครั้งสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป ความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นในไรน์ลันด์ยิ่งทำให้กองทัพบกเยอรมันอ่อนแอลง โดยหน่วยทหารที่แตกกระจายออกไป เพื่อปกป้องฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ในวันที่ 7 มีนาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดสะพานแห่งสุดท้ายที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เพื่อข้ามแม่น้ำไรน์ที่เรมาเกิน และได้สร้างหัวสะพานขนาดใหญ่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ในช่วงปฏิบัติการลัมเบอร์แจ็ค ปฏิบัติการพลันเดอร์และปฏิบัติการอันเดอร์โทนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เยอรมันได้ประสบความสูญเสียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ค.ศ. 1945 ประมาณ 400,000 นาย รวมทั้ง 280,000 นายที่ถูกจับกุมเป็นเชลยสงคราม[15]ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพแดงโซเวียต (รวมทั้งกองทัพโปแลนด์ในตะวันออกภายใต้บัญชาการของโซเวียต) พร้อมกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ได้เข้ายึดครองส่วนใหญ่ของโปแลนด์และเริ่มการรุกเข้าสู่เยอรมนีตะวันออกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 และในเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ห่างไม่ไกลจากกรุงเบอร์ลิน การรุกครั้งแรกในการเข้าสู่โรมาเนีย การรุกยาช–คีชีเนฟครั้งที่หนึ่งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ค.ศ. 1944 ได้ประสบความล้มเหลว การรุกยาช–คีชีเนฟครั้งที่สองในเดือนสิงหาคมซึ่งประสบความสำเร็จ กองทัพแดงยังรุกเข้าลึกไปยังฮังการี(การรุกบูดาเปสต์) และทางตะวันออกของเชโกสโลวาเกีย และหยุดเคลื่อนทัพชั่วคราวไว้ที่แนวโอเดอร์-นีสเซ บริเวณชายแดนระหว่างเยอรมัน-โปแลนด์ในยุคปัจจุบัน การรุกอย่างรวดเร็วในแนวรบด้านตะวันออกได้ทำลายหน่วยรบของเยอรมันที่ผ่านศึกมามากขึ้นและจำกัดขีดความสามารถของผู้นำเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อย่างสาหัสเพื่อเสริมกำลังในการป้องกันแม่น้ำไรน์ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้เตรียมการครั้งสุดท้ายสำหรับการรุกที่ทรงพลังของพวกเขาในการเข้าไปยังใจกลางของเยอรมัน ชัยชนะกำลังใกล้เข้ามาแล้ว

การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่22 มีนาคม – 8 พฤษภาคม 1945
สถานที่ตะวันตกของเยอรมนี, ตอนใต้ของเยอรมนี
ผลลัพธ์ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด
สถานที่ ตะวันตกของเยอรมนี, ตอนใต้ของเยอรมนี
ผลลัพธ์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด
วันที่ 22 มีนาคม – 8 พฤษภาคม 1945

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกครองยูโกสลาเวีย การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566