ยุทธการตอกลิ่ม
ยุทธการตอกลิ่ม

ยุทธการตอกลิ่ม

เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
(กลุ่มกองทัพที่ 21, กองทัพสหรัฐฯที่หนึ่ง, กองทัพสหรัฐฯที่เก้า)
โอมาร์ แบรดลีย์
(กลุ่มกองทัพสหรัฐฯที่ 12)
คอร์ทนี่ย์ ฮอดจ์
(กองทัพสหรัฐฯที่หนึ่ง)
จอร์จ เอส. แพตตัน
(กองทัพสหรัฐฯที่สาม)
แอนโทนี แมคออลีฟฟ์
(กองบินที่ 101) วัลเทอร์ โมเดิล
(กองทัพบกกลุ่ม B)
แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
(OB ตะวันตก)
ฮัสโซ ฟ็อน มันท็อยเฟิล
(กองทัพยานเกราะที่ 5)
เซ็พ ดีทริช
(กองทัพยานเกราะที่ 6)
เอริช บรันเดินแบร์เกอร์
(กองทัพบกที่ 7)ยุทธการตอกลิ่ม (อังกฤษ: Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกันฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีดความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย[15] และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย[5] โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย[5][16] ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง[17][18][19][20][21][22]

ยุทธการตอกลิ่ม

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945
สถานที่อาร์เดน: ประเทศเบลเยียม ประเทศลักเซมเบิร์ก
ผลลัพธ์สัมพันธมิตรชนะ
  • แผนการรุกของสัมพันธมิตรตะวันตกล่าช้าไป 5 หรือ 6 สัปดาห์[1]
  • การบุกอันพินาศในอาร์เดนทำให้เยอรมนีหมดทรัพยากรในแนวรบตะวันตก การพังทลายของเยอรมนีเปิดทางให้ฝ่ายสัมพันธมิตรฝ่าแนวซีกฟรีดได้ในที่สุด
  • การรุกของโซเวียตในประเทศโปแลนด์เปิดฉากในวันที่ 12 มกราคม 1945 ก่อนที่จะตั้งใจไว้แต่เดิม 8 วัน[2]
สถานที่ อาร์เดน: ประเทศเบลเยียม ประเทศลักเซมเบิร์ก
ผลลัพธ์ สัมพันธมิตรชนะ
  • แผนการรุกของสัมพันธมิตรตะวันตกล่าช้าไป 5 หรือ 6 สัปดาห์[1]
  • การบุกอันพินาศในอาร์เดนทำให้เยอรมนีหมดทรัพยากรในแนวรบตะวันตก การพังทลายของเยอรมนีเปิดทางให้ฝ่ายสัมพันธมิตรฝ่าแนวซีกฟรีดได้ในที่สุด
  • การรุกของโซเวียตในประเทศโปแลนด์เปิดฉากในวันที่ 12 มกราคม 1945 ก่อนที่จะตั้งใจไว้แต่เดิม 8 วัน[2]
วันที่ 16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู