การปฏิวัติฮังการี_ค.ศ._1956
การปฏิวัติฮังการี_ค.ศ._1956

การปฏิวัติฮังการี_ค.ศ._1956

สาธารณรัฐประชาชนฮังการีการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 เป็นการจลาจลทั่วประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนฮังการีและนโยบายที่กำหนดโดยสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ในครั้งนี้นับเป็นภัยคุกคามต่อการปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรก นับแต่กองกำลังโซเวียตมีชัยชนะเหนือกองกำลังนาซีในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ายึดครองยุโรปตะวันออก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม ถึง 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 ถึงแม้ว่าการก่อการครั้งนี้จะประสบความล้มเหลว แต่มีความสำคัญนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในหลายทศวรรษต่อมา[5]การจลาจลเริ่มต้นขึ้นจากการประท้วงของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งดึงดูดสายตาของผู้คนนับพันที่พวกเขาเดินผ่านจากในกลางกรุงบูดาเปสต์จนถึงอาคารรัฐสภา มีการกระจายเสียงผ่านทางคลื่นวิทยุเรดิโอฟรียุโรป โดยอาศัยรถตู้ติดลำโพง เพื่อหาแนวร่วมจากประชาชนตามท้องถนน ตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐได้กักกันผู้แทนนักเรียนนักศึกษาที่เข้าไปยังม็อดยอร์ ราดิโอเพื่อพยายามกระจายเสียงความต้องการของนักเรียนนักศึกษา ผู้ประท้วงด้านนอกได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้แทนนักเรียนนักศึกษา แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาจากเจ้าหน้าที่คือกระสุนปืนซึ่งยิงออกมาจากด้านในอาคารสถานีวิทยุ เมื่อมีการยิงกระสุนปืนใส่กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาคนหนึ่งเสียชีวิต ผู้ประท้วงได้นำร่างของเขาห่อด้วยธงชาติและยกขึ้นเหนือฝูงชน จากเหตุการณ์นี้เองกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฮังการี เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไปก็เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วเมืองหลวงของประเทศการก่อจลาจลแผ่ขยายอย่างกว้างขวางในประเทศฮังการี เป็นสาเหตุให้การเข้าปกครองของรัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องหยุดชะงักลง ชาวฮังการีหลายพันคนรวมกลุ่มกันตั้งตัวเป็นกองกำลังทหารต่อสู้กับกลุ่มตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ (Államvédelmi Hatóság) และกองทัพโซเวียต ในช่วงนี้มักมีการประหารชีวิตหรือจำคุกกลุ่มผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์โซเวียตและตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ สภาแรงงานหัวรุนแรงที่ตั้งขึ้นเฉพาะหน้าเข้าควบคุมการปกครองเทศบาลต่าง ๆ จากรัฐบาลกลางของพรรคประชาชนแรงงานฮังการีและเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลใหม่ประกาศยกเลิกตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐอย่างเป็นทางการ ประกาศความตั้งใจที่จะถอนตัวออกจากสนธิสัญญาวอร์ซอและสัญญาจะจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีขึ้นอีกครั้ง ในช่วงท้ายของเดือนตุลาคม การต่อสู้เริ่มลดน้อยลงและสัญญาณของสภาวะปกติเริ่มกลับมาอีกครั้งโปลิตบูโรเปลี่ยนความตั้งใจที่จะถอนกองกำลังทหารออกจากฮังการี และได้เคลื่อนพลเข้ายึดครองกรุงบูดาเปสต์และพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศอีกครั้งในวันที่ 4 พฤศจิกายน ชาวฮังการีจึงลุกขึ้นต่อต้าน แต่ด้วยความที่เหตุการณ์มีความรุนแรงมาก จึงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งฝ่ายฮังการีและโซเวียต โดยชาวฮังการีเสียชีวิตมากกว่า 2,500 คน ทหารโซเวียตเสียชีวิตมากกว่า 700 นาย และมีประชาชนอีกกว่า 200,000 คนที่หลบหนีออกนอกประเทศ มีการจับกุมและประณามกลุ่มมวลชนชาวฮังการีที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องหลายเดือน กระทั่งเดือนมกราคม ค.ศ. 1957 โซเวียตจัดตั้งรัฐบาลฮังการีชุดใหม่ได้สำเร็จและได้กำจัดฝ่ายปรปักษ์ ทำให้โซเวียตมีอำนาจขึ้นเหนือภูมิภาคยุโรปตะวันออก เกิดความบาดหมางกับแนวคิดมาร์กซิสตะวันตก ซึ่งเป็นแนวคิดการปกครองอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลในสมัยนั้นรัฐบาลฮังการีในสมัยต่อมาห้ามมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติครั้งนี้ในที่สาธารณะเป็นเวลามากกว่า 30 ปี กระทั่งในทศวรรษที่ 1980 หัวข้อเกี่ยวกับการปฏิวัติได้กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาและวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อมีการสถาปนาสาธารณรัฐฮังการีที่ 3 ในปี ค.ศ. 1989 วันที่ 23 ตุลาคมจึงได้รับการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

การปฏิวัติฮังการี_ค.ศ._1956

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่23 ตุลาคม10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
สถานที่สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
ผลลัพธ์โซเวียตชนะ
การปฏิวัติถูกปราบ
สถานที่ สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
ผลลัพธ์ โซเวียตชนะ
การปฏิวัติถูกปราบ
วันที่ 23 ตุลาคม10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

ใกล้เคียง