การปฏิวัติเยเมน_พ.ศ._2554–2555
การปฏิวัติเยเมน_พ.ศ._2554–2555

การปฏิวัติเยเมน_พ.ศ._2554–2555

ผู้ประท้วง: รัฐบาล:การก่อการกำเริบในเยเมน พ.ศ. 2554-2555 หรือเรียกว่า การปฏิวัติเยเมน เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติตูนิเซียขั้นเริ่มต้นและเกิดขึ้นพร้อมกับการปฏิวัติอียิปต์ และการประท้วงใหญ่อื่นในตะวันออกกลางเมื่อต้น พ.ศ. 2554 ในระยะแรกของการก่อการกำเริบ การประท้วงในเยเมนเดิมทีต่อต้านภาวว่างงาน สภาพทางเศรษฐกิจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง[1] เช่นเดียวกับข้อเสนอของรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญของเยเมน ข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงจากนั้นได้บานปลายขึ้นเป็นเรียกร้องให้ประธานาธิบดีเยเมน อะลี อับดุลลอฮ์ ศอเลียะห์ ลาออกจากตำแหน่ง มีการแปรพักตร์หมู่จากกองทัพ เช่นเดียวกับจากรัฐบาลของศอเลียะห์ ซึ่งเป็นผลให้ส่วนมากของประเทศอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลอย่างชะงัด และผู้ประท้วงสาบานว่าจะขัดขืนอำนาจของรัฐบาลการเดินขบวนหลักที่มีผู้ประท้วงกว่า 16,000 คน มีขึ้นในกรุงซานา เมืองหลวงของเยเมน เมื่อวันที่ 27 มกราคม วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ศอเลียะห์ประกาศว่าเขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกใน พ.ศ. 2556 และว่า เขาจะไม่ส่งต่ออำนาจให้บุตรชาย วันที่ 3 กุมภาพันธ์ มีผู้ประท้วง 20,000 คน ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงซานา[18][19] ขณะที่ยังมีการปะท้วงในเอเดน[20] นครเมืองท่าทางใต้ของเยเมน ฝ่ายทหาร สมาชิกติดอาวุธของสภาประชาชนทั่วไป และผู้ประท้วงจำนวนมากจัดการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลในกรุงซานา[21] ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ชาวเยเมนนับหลายหมื่นคนมีส่วนในการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลในเทียซ ซานาและเอเดน ในวันที่ 11 มีนาคม ผู้ประท้วงเรียกร้องการถอดศอเลียะห์ออกจากตแหน่งในกรุงซานา ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 3 ศพ ยังมีการจัดการประท้วงขึ้นอีกในนครอื่น รวมทั้งอัลมุกัลลา ที่ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1 ศพ วันที่ 18 มีนาม ผู้ประท้วงในกรุงซานาถูกยิงใส่ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 52 ศพ และสุดท้ายลงเอยด้วยการแปรพักตร์และลาออกหมู่[22]เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ศอเลียะห์ตกลงต่อข้อตกลงที่มีสภาความร่วมมืออ่าว (Gulf Co-operation Council) เป็นนายหน้า แต่กลับหลีกเลี่ยงก่อนการลงนามตามกำหนดถึงสามครั้ง หลังการหลีกเลี่ยงครั้งที่สาม สภาความร่วมมืออ่าวจึงยุติความพยายามในการไกล่เกลี่ยในเยเมน[23] วันที่ 23 พฤษภาคม หนึ่งวันหลังศอเลียะห์ปฏิเสธจะลงนามในความตกลงเปลี่ยนผ่าน ซาเดค อัล-อาห์มาร์ หัวหน้าสหพันธ์ชนเผ่าฮาชิด หนึ่งในชนเผ่าที่ทรงอำนาจที่สุดในประเทศ ประกาศสนับสนุนฝ่ายต่อต้านและผู้สนับสนุนติดอาวุธของเขาเข้าสู่ความขัดแย้งกับกำลังความมั่นคงที่ยังจงรักภักดีต่อรัฐบาลในกรุงซานา ได้เกิดการสู้รบตามท้องถนนอย่างหนักตามมา ซึ่งรวมทั้งการยิงปืนใหญ่และปืนครก[24][25][26][27][28] ศอเลียะห์และอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บ และอย่างน้อยห้าคนถูกสังหารในการทิ้งระเบิดทำเนียบประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน เมื่อการระเบิดฉีกผ่านสุเหร่าที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงใช้สวดมนต์[29] รายงานขัดแย้งกันว่าการโจมตีเกิดขึ้นจากการระดมยิงหรือระเบิดที่ถูกติดตั้งไว้[30] วันรุ่งขึ้น รองประธานาธิบดี อาบิด อัลรับ มันซูร์ อัลฮาดี รักษาการรัฐการแทนประธานาธิบดี[31] ขณะที่ศอเลียะห์บินไปยังซาอุดิอาระเบียเพื่อรักษาตัว ฝูงชนเฉลิมฉลองการส่งผ่านอำนาจของศอเลียะห์ แต่ทางการเยเมนยืนยันว่า การไม่อยู่ของศอเลียะห์นั้นเป็นเพียงชั่วคราวและอีกไม่นาน เขาจะกลับมาเยเมนเพื่อปฏิบัติตำแหน่งหน้าที่เช่นเดิม[32]ต้นเดือนกรกฎาคม รัฐบาลปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝ่ายต่ตอ้าน รวมทั้งการจัดตั้งสภาเปลี่ยนผ่านโดยมีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลรักษาการซึ่งมีเจตนาเพื่อดูแลการเลือกตั้งอันเป็นประชาธิปไตยครั้งแรกในประวัติศาสตร์เยเมน[33] กลุ่มต่าง ๆ ของฝ่ายต่อต้านสนองโดยประกาศการจัดตั้งสภาเปลี่ยนผ่านซึ่งมีสมาชิก 17 คนของตนเองเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ผ่านพรรคประชุมร่วม (Joint Meeting Parties) ซึ่งมีพฤติการณ์เสมือนสิ่งคุ้มครองสำหรับกลุ่มต่อต้านของเยเมนจำนวนมากระหว่างการก่อการกำเริบ แถลงว่า สภามิได้เป็นตัวแทนพวกเขา และไม่ลงรอย "แผนการ" สำหรับประเทศของพวกเขา[34]วันที่ 23 พฤศจิกายน ศอเลียะห์ลงนามในความตกลงเปลี่ยนผ่านอำนาจซึ่งมีสภาความร่วมมืออ่าวเป็นนายหน้าในกรุงริยาด ซึ่งเขาจะเปลี่ยนผ่านอำนาจไปยังรองประธานาธิบดีของเขาภายใน 30 วัน และสละตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยแลกกับการรอดพ้นการถูกดำเนินคดีอาญา[35][36] แม้พรรคประชุมร่วมจะยอมรับกับข้อตกลงของสภาความร่วมมืออ่าวดังกล่าว แต่ผู้ประท้วงจำนวนมากและกลุ่มฮูธิไม่เห็นด้วย[37][38]มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเยเมนขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ด้วยรายงานอ้างว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิ 65% ฮาดีได้รับคะแนนเสียง 99.8% อาบิด รับบูฮฺ มันซูร์ อัลฮาดีได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในรัฐสภาเยเมนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ศอเลียะห์เดินทางกลับประเทศในวันเดียวกันเพื่อเข้าร่วมการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของฮาดี[39] หลังการประท้วงนานหลายเดือน ศอเลียะห์ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและเปลี่ยนผ่านอำนาจให้แก่ผู้สืบทอดของเขาอย่างเป็นทางการ เป็นจุดสิ้นสุดการปกครองนาน 33 ปีของเขา[40]

การปฏิวัติเยเมน_พ.ศ._2554–2555

วิธีการ
ผล รัฐบาลถูกโค่นล้ม
บาดเจ็บ 22,000[16]
สาเหตุ
สถานที่ เยเมน
วันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2011 (2011-01-27) – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 (2012-02-27)
(1 year and 1 month)
เสียชีวิต 2,000 (ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2012)[16]
ถูกจับกุม 1,000[17]

ใกล้เคียง

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 การปฏิวัติทางวัฒนธรรม การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ การปฏิวัติเม็กซิโก การปฏิวัติซินไฮ่ การปฏิวัติเวทมนตร์ขององค์หญิงเกิดใหม่กับยัยคุณหนูยอดอัจฉริยะ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231 การปฏิวัติตูนิเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปฏิวัติเยเมน_พ.ศ._2554–2555 http://www.thenational.ae/news/worldwide/middle-ea... http://www.570news.com/news/world/article/231160--... http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2013/09/... http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2011/02/2... http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2011/11/2... http://armiesofliberation.com/archives/2010/03/20/... http://armiesofliberation.com/archives/category/ye... http://bikyamasr.com/47848/yemen-report-over-1000-... http://menasassociates.blogspot.com/2011/05/yemen-... http://www.cnn.com/2011/WORLD/meast/05/25/yemen.un...