การประชุมไคโร
การประชุมไคโร

การประชุมไคโร

การประชุมไคโร (รหัสนามว่า เซ็กทันท์; sextant[1]) เมื่อวันที่ 22–26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 จัดขึ้นในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ได้สรุปใจความถึงการเป็นพันธมิตรร่วมต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและการตัดสินใจเกี่ยวกับเอเชียหลังสงคราม ผู้ที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์, นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล และจอมทัพ เจียง ไคเชก แห่งสาธารณรัฐจีน ผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลินได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมเพราะการเข้าพบกับเจียงอาจจะทำให้ส่งผลกระทบระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่น(กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1941 เป็นข้อตกลงห้าปีของความเป็นกลางระหว่างสองประเทศ ใน ค.ศ. 1943 สหภาพโซเวียตไม่ได้ทำสงครามกับญี่ปุ่น เว้นแต่จีน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯเท่านั้น) การประชุมไคโรได้จัดตั้งขึ้นที่บ้านพักของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำอียิปต์ Alexander Comstock Kirk ใกล้กับสุสานพีระมิด[2]สองวันต่อมา สตาลินได้เข้าพบกับโรสเวลต์และเชอร์ชิลในเตหะราน อิหร่าน สำหรับการประชุมเตหะรานฝ่ายอเมริกันไม่ได้ต้องการให้ฝรั่งเศสกลับไปครองอินโดจีน ได้เสนอให้เจียง ไคเชกเข้าควบคุมอินโดจีนฝรั่งเศสไว้ทั้งหมด แต่เจียง ไคเชกได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ต่อหน้าสาธารณชน[3]ปฏิญญาไคโรได้ประกาศออกไป เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 และได้ปล่อยในคำแถลงการณ์ไคโรผ่านวิทยุ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1943[4] ได้ระบุถึงเจตนารมณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะใช้กำลังทางทหารอย่างต่อเนื่องจนกว่าญี่ปุ่นจะยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข มาตราการหลักของปฏิญญาไคโรคือประเทศทั้งสามแห่งฝ่ายสัมพันธมิตรได้ต่อสู้รบในสงครามเพื่อขัดขวางและลงทัณฑ์ของการรุกรานของญี่ปุ่น พวกเขาไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์เพื่อพวกเขาเอง และจะไม่เกี่ยวข้องกับสงครามการขยายดินแดนภายหลังความขัดแย้ง "ญี่ปุ่นได้แย่งชิงหมู่เกาะทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งพวกเขาได้เข้ายึดหรือครอบครองตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1914", "ดินแดนทั้งหมดที่ญี่ปุ่นได้แย่งชิงมาจากจีน รวมทั้งแมนจูเรีย เกาะฟอร์โมซา(ไต้หวัน) และเกาะเปสกาโดเรส(เผิงหู)จะต้องนำกลับคืนสู่สาธารณรัฐจีน" ญี่ปุ่นจะต้องถูกขับออกไปจากดินแดนอื่นๆทั้งหมดที่พวกเขาได้กระทำความโหดร้ายและความละโมบ และ"ในขณะเดียวกัน ประเทศเกาหลีจะได้รับการปลดปล่อยและเป็นอิสระ"

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท