ลักษณะกิจกรรมการต่อต้าน ของ การประท้วงขับทักษิณ_ชินวัตรออกจากตำแหน่ง

รศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร แสดงอารยะขัดขืน ฉีกบัตรเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549

นายสนธิ ลิ้มทองกุล ร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมสร้างและเผยแพร่ทฤษฎี "ปฏิญญาฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยและก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามผู้ร่วมสร้างทฤษฎีไม่เคยแสดงหลักฐานแต่อย่างใดเพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีสมคบคิดนี้มีจริง ส่วนตัว พ.ต.ท. ทักษิณ นั้นได้ปฏิเสธเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลังจากที่ปฏิวัติยึดอำนาจไว้ได้ ก็ไม่ได้ตรวจสอบหรือสอบสวนรายละเอียดของแผนฟินแลนด์แต่อย่างใด[21][22][23]

การชุมนุมในแต่ละครั้งของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสริมบรรยากาศในการชุมนุม เช่น การแสดงดนตรี การแสดงงิ้วธรรมศาสตร์กู้ชาติ การละเล่นและบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ ละครศาลจำลอง การนำบุคคลต่าง ๆ และแขกรับเชิญนอกเหนือจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพือประชาธิปไตยมาสัมภาษณ์ รายการเสียงจากประชาชน (การพูดปราศรัยสั้น ๆ ของประชาชนโดยทั่วไปที่อาสาขึ้นเวที) กิจกรรมเกมส์ต่อต้านระบอบทักษิณ และกิจกรรมระดมทุน รับบริจาคและขายของที่ระลึก เป็นต้น ของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมในการประชุม ได้แก่ ผ้าพันคอและผ้าโพกศีรษะสีเหลือง/ขาวที่สกรีนข้อความ "กู้ชาติ" ผ้าผูกข้อมือ เสื้อยืด เอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ แฮนด์บิลล์ ซีดีเพลง บันทึกรายการในแต่ละครั้ง และอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละกลุ่ม บทเพลงยอดนิยมที่ผู้แต่งเพลงนิรนามส่งมาให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เปิด มีหลายบทเพลง เป็นบทเพลงที่บรรยายความไม่ชอบธรรมของระบอบทักษิณ และมีเนื้อหารุนแรง เพลงหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือเพลง ไอ้หน้าเหลี่ยม[ต้องการอ้างอิง]

ครั้งหนึ่งของการเดินทางช่วยผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยหาเสียงของรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บริเวณซอยละลายทรัพย์ ถนนสีลม ได้มีปรากฏการณ์การต่อต้านทางสังคมเกิดขึ้น โดยมีกลุ่มแม่ค้าในพื้นที่ อาทิ เจ๊ไก่ ออกมาตะโกนขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่มผู้ติดตาม ด้วยวลีที่ใช้ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[24]

กิจกรรมการต่อต้านระบอบทักษิณ ยังรวมไปถึงการรณรงค์เรื่องอหิงสาและอารยะขัดขืน และนำไปสู่รูปแบบการต่อต้านในภาคประชาชน ในการเลือกตั้งที่กลุ่มผู้ต่อต้านอ้างว่า "ไม่ชอบธรรม" เริ่มต้นจากการพยายามยับยั้งไม่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549 ต่อมาเป็นการให้ออกมาเลือกตั้งแต่กาในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร" การกาด้วยปากกาแดง นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวจากปัจเจกชน เช่น การฉีกบัตรลงคะแนน ที่นำโดย รศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร ซึ่งนายแก้วสรร อติโพธิได้กล่าวว่าการฉีกบัตรลงคะแนนเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือการกรีดเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อกาบัตรลงคะแนนโดยนายยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ส่วนในกรณี นพ. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ แกนนำกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา และชาวบ้านอีก 6 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ กรณีฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 ศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่จังหวัดตรัง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ[25]

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ จากหลายกลุ่มองค์กร เช่น[ต้องการอ้างอิง]

  • กิจกรรมต่อต้านทางสังคม ที่เสนอโดยเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ
  • กิจกรรมสัมมนา เวทีอภิปรายในสถานศึกษา หรือถ่ายทอดทางสถานีวิทยุ 92.25, 97.75 และเอเอสทีวี
  • การจัดทอล์คโชว์ เช่น แผนลอบสังหารท่านผู้นำของผม ที่ล้มเหลวและน่ารำคาญ โดย นายจรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือ ซูโม่ตู้
  • การเรียกร้องขอให้ข้าราชการอย่าทำตามคำสั่งที่ไม่ชอบธรรมของนักการเมือง โดยเครือข่ายเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย และจัดกิจกรรมต่อเนื่องอื่นๆตามแนวทางอหิงสา (จากการประชุมเครือข่ายครั้งใหญ่ ในวันที่ 2 กันยายน 2549) [26] ได้แก่
  1. เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาดทันที เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรตรวจสอบเข้ามาพิสูจน์ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่มีต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ
  2. เรียกร้องให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐคำนึงถึงศักดิ์ศรีว่ามิใช่ข้าพนักงานของบริษัทรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรม
  3. เรียกร้องให้ประชาชนอย่าได้เคารพกราบไหว้บุคคลผู้ไร้สัตย์ อย่าต้อนรับ อย่าให้ความสำคัญกับบุคคลประเภทนี้ไม่ว่าบุคคลประเภทนี้จะไปปรากฏกาย ณ สถานที่ใดๆ และร่วมกันแสดงพลังคัดค้านและประท้วงโดยสันติทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องจนกว่า พ.ต.ท. ทักษิณจะยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาด ทำกิจกรรมที่เน้นหลักอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่จะใช้ความอดทน เช่น
    • การเดินขบวนเรียกร้อง จนกว่าจะขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ
    • ไม่อยากให้มีการตะโกนไล่ แต่อยากเห็นคนไทยไม่ต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อพบเห็นก็รวมกลุ่มกันหัวเราะไล่ผู้นำดีกว่าการใช้ความรุนแรง
    • ไม่สนับสนุนหรือซื้อสินค้าของบริษัท ห้างร้าน ที่เชื่อว่าสนับสนุนระบอบทักษิณ เช่น เซเว่น อีเลฟเว่น ไทยแอร์เอเชีย เป็นต้น

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประท้วงขับทักษิณ_ชินวัตรออกจากตำแหน่ง http://www.bangkapi.com http://www.bangkokbiznews.com/2006/01/23/w001_7061... http://www.bangkokbiznews.com/2006/03/03/w001_8305... http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/petitio... http://www.ihtthaiday.com/Politics/ViewNews.aspx?N... http://www.konpanfa.com/ http://www.konpanfa.com http://www.managerradio.com http://www.nationmultimedia.com/2006/03/01/politic... http://www.nationmultimedia.com/2006/05/25/politic...