การพลัดถิ่นของชาวเอเชีย ของ การพลัดถิ่น

การย้ายถิ่นฐานของชาวจีน (Chinese emigration หรือที่เรียกว่าการพลัดถิ่นของชาวจีน[ต้องการอ้างอิง]) เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว การย้ายถิ่นฐานที่เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึง ค.ศ. 1949 มีสาเหตุหลักมาจากสงคราม และ ความอดอยากบนแผ่นดินใหญ่จีน และรวมทั้งการฉ้อโกงทางการเมือง ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นผู้ขาดการศึกษาหรือเกษตรกรผู้มีการศึกษาขั้นต่ำ และชนชั้นแรงงาน (苦力) ผู้อพยพไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีความต้องการแรงงานสูงเช่นในทวีปอเมริกา, ออสเตรเลีย, แอฟริกาใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, คาบสมุทรมลายู และอื่นๆ

การพลัดถิ่นของชาวเอเชียที่ใหญ่ที่สุดคือการพลัดถิ่นของชาวอินเดีย เชื่อกันว่าชาวอินเดียโพ้นทะเลมมีด้วยกันทั้งสิ้นกว่า 25 ล้านคนที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณต่างๆ ทุกทวีปทั่วโลก ชาวอินเดียโพ้นทะเลเป็นกลุ่มมีมาจากบริเวณต่างๆ ของอินเดีย พูดภาษา และมีวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาต่างๆ กัน สิ่งที่เป็นสายผสานร่วมกันของชนกลุ่มนี้คือปรัชญาของความเป็นอินเดียและคุณค่าอันแท้จริงของความเป็นชาวอินเดีย[ต้องการอ้างอิง]

ชาวโรมานีเป็นกลุ่มชนที่พลัดถิ่นไปในบริเวณที่กว้างใหญ่ที่สุดที่ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป ภาษาพูดและหลักฐานทางพันธุศาสตร์บ่งว่าเป็นชาติพันธุ์ที่เดิมมาจากอนุทวีปอินเดียที่อพยพออกจากอินเดียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไม่เกินก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 11[16]

การพลัดถิ่นของชาวเนปาลเกิดขึ้นอย่างน้อยก็สามครั้งๆ แรกที่สุดเกิดขึ้นหลายร้อยปีมาแล้ว ที่มีสาเหตมาจากการแต่งงานกันตั้งแต่อายุยังน้อยที่ทำให้อัตราการเกิดสูง และเป็นผลให้เกิดแรงผลักดันให้มีการอพยพไปตั้งถิ่นฐานทางตะวันออกของเนปาลต่อมาในรัฐสิกขิมและภูฏาน จำนวนประชากรเชื้อชาติภูฐานเพิ่มมากขึ้นทุกขณะจนในที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ภูฏานก็ดำเนินนโยบายกดดันที่เป็นผลให้ชาวเนปาลกว่า 107,000 คนถูกขับออกจากภูฏานกลับเข้าไปในเนปาลสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกาจึงพยายามดำเนินการหาที่ตั้งหลักแหล่งให้แก่ชาวเนปาลจากภูฏานในสหรัฐอเมริกาในฐานะโครงการประเทศที่สาม[17]

การพลัดถิ่นครั้งที่สองของชาวเนปาลเกิดขึ้นเมื่ออังกฤษเริ่มรวมพลเป็นกองทหารรับจ้างที่เริ่มราวปี ค.ศ. 1815 และย้ายให้ไปตั้งหลักแหล่งในเกาะอังกฤษและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากปลดระวาง การพลัดถิ่นครั้งที่เริ่มราวคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อเกิดปัญหาขาดแคลนที่ดินทำมาหากินและผู้มีการศึกษามีจำนวนมากกว่าตำแหน่งงานที่มี การโยกย้ายเพื่อไปหางานใหม่ก็มักจะไปตั้งหลักแหล่งกันในอินเดียทำให้เกิดเป็นชุมชนชาวเนปาลขึ้นที่นั่น และในประเทศที่มั่งคั่งในตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ ประมาณกันว่าจำนวนผู้พลัดถิ่นของเนปาลมีจำนวนเป็นหลักล้าน

ใกล้เคียง

การพลัดถิ่น การพลัดถิ่นของชาวไอริช การพลัดหลง (ชีววิทยา) การพลิกคว่ำของเรือข้ามฟากเกาหลีใต้ 2014 การพลังงานแห่งชาติ การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว (การาวัจโจ) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การหลั่งน้ำอสุจิ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

แหล่งที่มา

WikiPedia: การพลัดถิ่น http://www.biomedcentral.com/1471-2350/2/5 http://www.foxnews.com/wires/2008Dec02/0,4670,EUWo... http://highered.mcgraw-hill.com/sites/0072424354/s... http://www.merriam-webster.com/dictionary/diaspora http://www.worldbusinesslive.com/research/article/... http://www.millersville.edu/~columbus/data/art/AXT... http://mars.wnec.edu/~grempel/courses/wc1/lectures... http://www.kirmus.ee/baltic_archives_abroad_2006/p... //doi.org/10.1186%2F1471-2350-2-5 http://web.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL/WBI/WBIPR...