ที่มาและการวิวัฒนาการ ของ การพลัดถิ่น

คำว่า "พลัดถิ่น" ใช้เป็นครั้งแรกเมื่อมีการอพยพที่กล่าวถึงในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) 28:25 ว่า “เจ้าทั้งหลายจะเป็นผู้ “กระจัดกระจาย” ไปทุกอาณาจักรในโลก” การใช้คำนี้เริ่มใช้กันขึ้นตามความหมายเดิมเมื่อคัมภีร์ฮิบรูได้รับการแปลเป็นภาษากรีก[1] คำว่า “Diaspora” ขณะนั้นหมายถึงประชาชนที่เป็นยิวที่ลี้ภัยมาจากอิสราเอลเมื่อ 607 ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยการถูกขับไล่จากบาบิโลเนีย และจากยูเดีย ในปี ค.ศ. 70 โดยโรมัน[2] ต่อมาคำนี้ก็นำมาใช้ในบริบทของการพลัดถิ่นของกลุ่มชนอิสราเอลที่กระจัดกระจายไปยังดินแดนต่างๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ การวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนผู้พลัดถิ่น หรือ ตัวกลุ่มชนที่พลัดถิ่นเอง[3] ในภาษาอังกฤษถ้าสะกดด้วยตัวใหญ่ตัวแรกโดยไม่มีคุณศัพท์ขยาย -- “the Diaspora” -- ก็จะหมายถึงเฉพาะการพลัดถิ่นของชาวยิว (Jewish diaspora) เท่านั้น[4]

การใช้คำว่า “พลัดถิ่น” ที่กว้างกว่าความหมายเดิมวิวัฒนาการมาจากนโยบายการขับไล่ประชากรขนานใหญ่ของอัสซีเรียในดินแดนที่พิชิตได้ เพื่อเป็นการไม่ให้ผู้ถูกไล่กลับมาอ้างสิทธิในดินแดนของตน[5] ในสมัยกรีซโบราณ คำว่า “διασπορά” แปลว่า “การหว่าน” และใช้เป็นคำที่หมายถึงประชากรของนครรัฐที่มีอิทธิพลผู้อพยพไปตั้งหลักแหล่งยังดินแดนที่พิชิตได้โดยมีจุดประสงค์ในการยึดเป็นอาณานิคมเพื่อรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของจักรวรรดิ[6]

บางครั้งคำว่า “การพลัดถิ่น” ก็ใช้กับการลี้ภัยของชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ชาวยิว แต่คำสองคำนี้ไม่ใช่คำพ้อง[7][8]

คำว่า “การพลัดถิ่น” เป็นคำที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายในภาษาอังกฤษในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 ในการใช้ในการเรียกกลุ่มผู้ถูกโยกย้ายถิ่นฐาน (expatriate) จากประเทศใดประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศใดประเทศหนึ่งหรือจากบริเวณใดบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณใดบริเวณหนึ่ง[9][8][10][11]

การศึกษาการพลัดถิ่นวิทยา (diaspora studies) เป็นสาขาการศึกษาที่เป็นหลักฐานที่เกี่ยวกับการศึกษาการพลัดถิ่นตามความหมายโดยทั่วไปโดยไม่เจาะจงถึงชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง

โดยทั่วไปแล้วคำว่า “การพลัดถิ่น” มีนัยยะถึง 'ความผิดที่' ของประชากรที่กล่าวถึงที่ต้องไปตั้งหลักแหล่งในดินแดนที่ไม่ใช่บ้านเกิดเมืองนอนไม่ด้วยเหตุผลใดก็เหตุผลหนึ่ง และโดยทั่วไปแล้วผู้คนกลุ่มนี้ก็จะมีความหวังหรืออย่างน้อยก็ความต้องการที่จะเดินทางกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ถ้า “บ้านเกิดเมืองนอน” ยังคงมีเหลือให้กลับไป นักเขียนบางท่านตั้งข้อสังเกตว่าการพลัดถิ่นของผู้ที่พลัดถิ่นหลายครั้งอาจจะมีผลให้สูญเสียความรู้สึกคิดถึง “บ้านเกิดเมืองนอน” แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ ในกรณีนี้ผู้พลัดถิ่นอาจจะมีความรู้สึกผูกพันกับ “บ้านเกิดเมืองนอน” แต่ละแห่งที่ได้ไปตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่โยกย้ายออกมาจาก “บ้านเกิดเมืองนอน” เมืองนอนดั้งเดิม

ใกล้เคียง

การพลัดถิ่น การพลัดถิ่นของชาวไอริช การพลัดหลง (ชีววิทยา) การพลิกคว่ำของเรือข้ามฟากเกาหลีใต้ 2014 การพลังงานแห่งชาติ การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว (การาวัจโจ) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การหลั่งน้ำอสุจิ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

แหล่งที่มา

WikiPedia: การพลัดถิ่น http://www.biomedcentral.com/1471-2350/2/5 http://www.foxnews.com/wires/2008Dec02/0,4670,EUWo... http://highered.mcgraw-hill.com/sites/0072424354/s... http://www.merriam-webster.com/dictionary/diaspora http://www.worldbusinesslive.com/research/article/... http://www.millersville.edu/~columbus/data/art/AXT... http://mars.wnec.edu/~grempel/courses/wc1/lectures... http://www.kirmus.ee/baltic_archives_abroad_2006/p... //doi.org/10.1186%2F1471-2350-2-5 http://web.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL/WBI/WBIPR...