การพลัดถิ่นในยุโรป ของ การพลัดถิ่น

ดูบทความหลักที่: การพลัดถิ่นในยุโรป
การพลัดถิ่นของกรีกในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช

ประวัติศาสตร์ยุโรปประสบกับเหตุการณ์ทำนองเดียวกับการพลัดถิ่นหลายครั้ง ในสมัยโบราณการค้าและการล่าดินแดนของกลุ่มชนกรีกกลุ่มต่างๆ จากคาบสมุทรบอลข่าน และ เอเชียไมเนอร์เป็นการโยกย้ายของชนที่มีวัฒนธรรมและใช้ภาษากรีกไปทั่วบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ และไปทำการก่อตั้งนครรัฐกรีกในซิซิลี, อิตาลีใต้, ตอนเหนือของลิเบีย, ทางตะวันออกของสเปน, ทางฝรั่งเศสใต้ และฝั่งทะเลดำ ชาวกรีกไปก่อตั้งอาณานิคมในภูมิภาคต่างๆ ถึงกว่า 400 บริเวณ[12] การพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชในจักรวรรดิอคีเมนียะห์เป็นการเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสติคซึ่งเป็นการเริ่มสมัยการตั้งอาณานิคมกรีกในเอเชียและแอฟริกาโดยชนชั้นปกครองกรีก ที่รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานในอียิปต์โดยราชวงศ์ทอเลมี, ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย[13]การโยกย้ายที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ หลายครั้งระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปก็เป็นเพียงตัวเดียวของการพลัดที่เกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ช่วงการโยกย้ายครั้งแรกเกิดขึ้นราวระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 500 รวมการโยกย้ายของชาวกอธ (ออสโตรกอธ และ ชาววิซิกอธ), แวนดัล, แฟรงค์, กลุ่มชนเจอร์มานิคต่างๆ (ชาวเบอร์กันดี, ลอมบาร์ด, แองเกิลส์, แซ็กซอน, จูท, ซูบิ, อลามานนิ, วารันเจียน และ นอร์มัน), อลัน และชนสลาฟกลุ่มต่างๆ การโยกย้ายครั้งแรกเกิดขึ้นราวระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 900 เป็นการโยกย้ายของสลาฟ, เตอร์กิค และชนเผ่าต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตะวันออกและทำให้บริเวณนี้กลายเป็นบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานหลักของชนสลาฟ ที่มีผลต่ออนาโตเลียและคอเคซัสเมื่อชนเตอร์กิคกลุ่มแรก (อวาร์, บัลการ์, ฮั่น, คาร์ซาร์, เพเชเน็ก และอาจจะรวมทั้ง มาจยาร์) มาถึง การโยกย้ายครั้งสุดท้ายของสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปเป็นสมัยที่ชาวมาจยาร์และไวกิงขยายตัวออกจากบริเวณสแกนดิเนเวียเข้ามาในยุโรปและหมู่เกาะบริติช ที่รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานในกรีนแลนด์และไอซ์แลนด์

การไปยึดครองดินแดนและตั้งถิ่นฐานอาจจะไม่ถือว่าเป็นการพลัดถิ่นได้เสมอไป หลังจากการตั้งถิ่นฐานแล้วในที่สุดผู้ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานก็กลืนตัวเข้ากับผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิม และถิ่นฐานที่ไปตั้งอยู่ใหม่ก็กลายเป็นบ้านเกิดเมืองนอนใหม่ เช่นในกรณีของประชาชนฮังการีสมัยใหม่ผู้ที่ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นผู้มีความสัมพันธ์แต่อย่างใดกับไซบีเรียตะวันตกซึ่งเป็นดินแดนบ้านเกิดเดิมของชนมาจยาร์ที่ทิ้งมาพันสองร้อยปีก่อนหน้านั้น เช่นเดียวกับชาวอังกฤษผู้สืบเชื้อสายมาจากแองเกิลส์, แซ็กซอน และ จูทที่ไม่มีความประสงค์ที่จะกลับไปตั้งถิ่นฐานบนที่ราบทางตอนเหนือของเยอรมนี

ในปี ค.ศ. 1492 กลุ่มนักสำรวจสเปนที่นำโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดินทางไปถึงทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการล่าอาณานิคมของยุโรปที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวยุโรปอาจจะราวถึง 240,000 ก็เดินทางไปยังทวีปอเมริกา[14] การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานทั้งในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ก็ยังคงดำเนินต่อมาเป็นเวลานาน เพียงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปกว่า 50 ล้านคนก็เดินทางจากยุโรปไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกา[15]

ตัวอย่างของการพลัดถิ่นที่ชัดเจนที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือการพลัดถิ่นของชาวไอริชที่เริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีสาเหตุมาจากนโยบายอันทารุณของบริติชและเหตุการณ์ที่เรียกว่า “An Gorta Mór” หรือ ความอดอยากครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ (Great Famine) ประมาณกันว่าในช่วงนั้นประชากรไอร์แลนด์ประมาณระหว่าง 45% ถึง 85% อพยพออกจากประเทศไปตั้งถิ่นฐานในประเทศต่างๆ ที่รวมทั้งบริเตนใหญ่, สหรัฐอเมริกา แคนาดา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ จำนวนผู้พลัดถิ่นอันมหาศาลของไอร์แลนด์เห็นได้จากจำนวนประชากรทั่วโลกที่อ้างว่ามีเชื้อสายไอริชในบางแหล่งข้อมูลว่ามีถึง 80 ถึง 100 ล้านคน

ใกล้เคียง

การพลัดถิ่น การพลัดถิ่นของชาวไอริช การพลัดหลง (ชีววิทยา) การพลิกคว่ำของเรือข้ามฟากเกาหลีใต้ 2014 การพลังงานแห่งชาติ การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว (การาวัจโจ) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การหลั่งน้ำอสุจิ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

แหล่งที่มา

WikiPedia: การพลัดถิ่น http://www.biomedcentral.com/1471-2350/2/5 http://www.foxnews.com/wires/2008Dec02/0,4670,EUWo... http://highered.mcgraw-hill.com/sites/0072424354/s... http://www.merriam-webster.com/dictionary/diaspora http://www.worldbusinesslive.com/research/article/... http://www.millersville.edu/~columbus/data/art/AXT... http://mars.wnec.edu/~grempel/courses/wc1/lectures... http://www.kirmus.ee/baltic_archives_abroad_2006/p... //doi.org/10.1186%2F1471-2350-2-5 http://web.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL/WBI/WBIPR...