การประเมินการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ ของ การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่

ระยะ

ระยะไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วขององค์การอนามัยโลก (2009)[86][87]
ระยะ รายละเอียด
ระยะ 1 ไข้หวัดใหญ่ที่สัตว์เป็น ไม่มีรายงานว่าทำให้มนุษย์ติด
ระยะ 2 ไข้หวัดใหญ่ที่สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าเป็น รู้แล้วว่าทำให้มนุษย์ติด ดังนั้น จึงพิจารณาว่ามีโอกาสเป็นอันตรายสร้างโรคระบาดทั่ว
ระยะ 3 ไวรัสที่ผสมยีนกับไวรัสชนิดอื่น (ผ่านกระบวนการเข้าชุดยีนใหม่คือ reassortment) ไม่ว่าจะเป็นของสัตว์หรือของสัตว์และมนุษย์ ได้ก่อโรคเป็นครั้งคราว หรือก่อโรคในคนกลุ่มเล็ก ๆ แต่ยังไม่ติดต่อระหว่างบุคคลพอให้ระบาดในระดับชุมชน
ระยะ 4 มีการติดไวรัสที่ได้เข้าชุดยีนใหม่ของสัตว์หรือของสัตว์และมนุษย์ในระหว่างบุคคล ที่อาจระบาดในระดับชุมชน โดยได้ยืนยันแล้ว
ระยะ 5 การระบาดไวรัสจากมนุษย์สู่มนุษย์ในประเทศสองประเทศหรือยิ่งกว่าภายในเขตหนึ่ง ๆ ตามกำหนดขององค์การอนามัยโลก
ระยะ 6 นอกจากผ่านเกณฑ์ในระยะ 5 แล้ว ไวรัสได้ระบาดจากมนุษย์สู่มนุษย์อย่างน้อยประเทศหนึ่งภายในเขตอีกเขตหนึ่งตามกำหนดขององค์การอนามัยโลก
หลังระยะระบาดสูงสุด ระดับการติดไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วในประเทศโดยมากที่มีการสอดส่องเพียงพอได้ลดลงจากระดับสูงสุด
หลังการระบาดทั่ว การติดไข้หวัดใหญ่ได้กลับคืนไปยังระดับที่เห็นเมื่อเกิดตามฤดูกาลในประเทศโดยมากที่มีการสอดส่องเพียงพอ

องค์การอนามัยโลกได้พัฒนาแผนเตรียมรับมือกับไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก ซึ่งได้ระบุระยะของโรคระบาดทั่ว, แสดงโครงร่างบทบาทขององค์การอนามัยโลก และแนะนำมาตรการสำหรับประเทศต่าง ๆ ที่ควรทำก่อนเกิดและระหว่างเหตุการณ์โรคระบาดทั่ว[upper-alpha 1]

ในการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับระยะของโรคปี 2009 องค์การได้เก็บการแบ่งระยะเป็น 6 ระยะไว้เพื่อให้สามารถรวมวิธีและคำแนะนำใหม่ ๆ ตาม 6 ระยะนี้เข้าในแผนการเตรียมตัวและตอบสนองของแต่ละประเทศที่ได้ทำอาศัยการแบ่งระยะเช่นนี้การจัดกลุ่มและรายละเอียดของระยะการระบาดทั่วได้ปรับปรุงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แม่นยำขึ้น โดยอาศัยปรากฏการณ์จริง ๆระยะ 1-3 เป็นช่วงการเตรียมตัว รวมทั้งการเพิ่มสมรรถภาพและการวางแผนการตอบสนอง ในขณะที่ระยะ 4-6 ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องตอบสนองและบรรเทาเหตุการณ์อนึ่ง ได้ให้รายละเอียดระยะหลังคลื่นโรคระบาดทั่วระลอกแรกเพื่ออำนวยการทำกิจเพื่อฟื้นสภาพ

แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 โฆษกขององค์การอนามัยโลกได้อธิบายว่า องค์การไม่ได้ใช้แบบจำลอง 6 ระยะนี้อีกต่อไป "เพื่อให้ชัดเจน องค์การอนามัยโลกไม่ได้ใช้ระบบมีระยะ 6 ระยะดั้งเดิม ที่เริ่มจากระยะ 1 (ไม่มีรายงานว่าไข้หวัดใหญ่ในสัตว์เป็นเหตุให้คนติดโรค) จนถึงระยะ 6 (การระบาดทั่ว) ที่บางคนอาจจะคุ้นเคยเพราะการติดเชื้อ H1N1 ในปี 2009"[89]

เพื่อเป็นที่อ้างอิง ระยะที่ว่ามีนิยามดังต่อไปนี้ คือ[90][ลิงก์เสีย]

ตามธรรมชาติแล้ว ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีวนเวียนอยู่ในสัตว์โดยเฉพาะนกแม้ไวรัสดังที่ว่าโดยทฤษฎีอาจพัฒนากลายเป็นไวรัสที่เกิดระบาดทั่ว แต่ในระยะ 1 ไวรัสที่แพร่อยู่ในสัตว์ยังไม่ได้รายงานว่าทำให้มนุษย์ติดเชื้อ

ในระยะ 2 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ของสัตว์ที่แพร่อยู่ในสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าได้ทำให้มนุษย์ติดเชื้อ และดังนั้น จึงพิจารณาว่ามีโอกาสเป็นอันตรายก่อการระบาดทั่ว

ในระยะ 3 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ได้เข้าชุดยีนใหม่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคประจำในสัตว์หรือเป็นทั้งในสัตว์และในมนุษย์ได้ก่อโรคเป็นครั้งคราว หรือก่อโรคในคนกลุ่มเล็ก ๆ แต่ยังไม่ได้ระบาดจากบุคคลสู่บุคคลเพียงพอให้ระบาดในระดับชุมชนการระบาดจากมนุษย์สู่มนุษย์อาจเกิดในบางกรณี ยกตัวอย่าง เมื่อคนดูแลอยู่ใกล้ชิดกับคนติดโรคแต่การระบาดในสถานการณ์จำกัดดังที่ว่าไม่ได้แสดงว่า ไวรัสได้ระบาดในมนุษย์จนถึงระดับโรคระบาดทั่วแล้ว

ระยะ 4 เป็นระยะที่ได้ยืนยันการติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ได้รวมชุดยีนใหม่ไม่ว่าจะประจำในสัตว์หรือในมนุษย์และสัตว์ที่สามารถเป็นเหตุให้ระบาดในระดับชุมชนเป็นการปรับระยะขึ้นที่สำคัญเนื่องกับความเสี่ยงเกิดโรคระบาดทั่วประเทศใด ๆ ที่สงสัยหรือได้ยืนยันเหตุการณ์เช่นนี้แล้วควรรีบปรึกษากับองค์การอนามัยโลกอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถร่วมประเมินสถานการณ์และตัดสินใจถ้าจำเป็นต้องปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อควบคุมโรคในประเทศนั้น ๆระยะ 4 บ่งการเพิ่มความเสี่ยงการระบาดทั่วอย่างสำคัญ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า โรคระบาดทั่วจะเกิดแน่นอน

ระยะ 5 เป็นระยะที่ไวรัสได้ระบาดจากมนุษย์สู่มนุษย์ในประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศภายในเขตหนึ่ง ๆ ที่กำหนดโดยองค์การแม้ประเทศโดยมากจะไม่ได้รับผลอะไรในระยะนี้ แต่การประกาศว่าถึงระยะ 5 เป็นตัวระบุสำคัญว่า การเตรียมตัวตั้งระบบจัดการ การสื่อสาร และการดำเนินมาตรการแผนการบรรเทาโรคที่จะเกิดเหลือเวลาน้อย

ระยะ 6 เป็นระยะโรคระบาดทั่ว คือเกิดการระบาดระดับชุมชนในประเทศอย่างน้อย 1 ประเทศในเขตอีกเขตหนึ่งที่กำหนดโดยองค์การ นอกเหนือจากเกณฑ์ที่ระบุในระยะ 5ระยะนี้บ่งว่า โรคระบาดทั่วโลกได้เกิดขึ้นแล้ว

ช่วงหลังระยะระบาดสูงสุด (peak period) ระดับการมีโรคระบาดทั่วในประเทศโดยมากที่มีการสอดส่องเพียงพอได้ตกลงต่ำกว่าระดับสูงสุดเท่าที่ผ่านมาระยะนี้ระบุว่าการระบาดทั่วเริ่มลดลงแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีระลอกใหม่ของโรคระบาดอีกหรือไม่ ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ จึงพึงเตรียมตัวรับมือกับคลื่นระลอกที่ 2

โรคระบาดทั่วที่เคยเกิดก่อน ๆ ได้เกิดเป็นระลอกคลื่น แต่ละระลอกห่างกันเป็นเดือน ๆ เมื่อระดับการระบาดของโรคได้ตกลง งานสำคัญก็คือสื่อสารข้อมูลนี้ให้เหมาะสมกับโอกาสการเกิดโรคระลอกต่อไปเพราะคลื่นโรคระบาดอาจห่างกันเป็นเดือน ๆ ดังนั้น การกลับไปวางตัวแบบสบาย ๆ อาจเร็วเกินไป

ช่วงหลังการระบาดทั่ว (post-pandemic period) การติดโรคจะกลับคืนสู่ระดับปกติที่เห็นสำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ไวรัสระบาดทั่วจะมีการดำเนินคล้าย ๆ กับไวรัสไข้หวัดใหญ่กลุ่ม A ที่เกิดประจำปีในระยะนี้ การเฝ้าสอดส่อง และการอัปเดตแผนงานเตรียมตัวและตอบสนองตามสมควรเป็นเรื่องสำคัญปฏิบัติการฟื้นตัวและประเมินเหตุการณ์อย่างเอาจริงเอาจังอาจจำเป็น

ช่วงการเกิดไข้หวัดใหญ่ตาม Pandemic Intervals Framework ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ (CDC)

ในปี 2014 ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ (CDC) ได้เสนอแผนงานคล้ายกับระยะโรคระบาดทั่วขององค์การอนามัยโลกที่เรียกว่า Pandemic Intervals Framework (โครงร่างช่วงโรคระบาดทั่ว)[91] ซึ่งมีช่วงก่อนการระบาดทั่ว 2 ระยะ คือ

  • การตรวจสอบ
  • การยอมรับ/การรู้จักว่าการระบาดทั่วได้เกิดแล้ว

และช่วงโรคระบาดทั่ว 4 ระยะ คือ

  • เริ่มต้น (Initiation)
  • เร่งเกิดอย่างรวดเร็ว (Acceleration)
  • ชลอเกิด (Deceleration)
  • เตรียมตัว (Preparation)

และประกอบกับตารางที่แสดงนิยามของช่วงต่าง ๆ และเทียบมันกับระยะโรคระบาดทั่วขององค์การอนามัยโลก

ความรุนแรง

ค่าประเมินผู้เสียชีวิตเพราะไข้หวัดใหญ่ (ประชากรประมาณ 310 ล้านคนปี 2010) ตามค่าต่าง ๆ ของอัตราตายของผู้ป่วยรายโรค (CFR)[upper-alpha 2] และ cumulative incidence of infection[upper-alpha 3] ภายในกลุ่มประชากร เส้นดำเป็นขีดแสดงการเปลี่ยนระดับความรุนแรงที่กำหนด ซึ่งสีพื้นหลังจะเปลี่ยนจากน้ำเงินเป็นเหลืองจนถึงแดงเมื่อจำนวนผู้เสียชีวิตมีค่าประเมินยิ่งขึ้น CFR เป็นตัวอย่างค่าวัดความรุนแรงทางคลินิกของโรค และ cumulative incidence เป็นตัวอย่างค่าวัดการติดต่อได้ของโรค[94]
ตัวอย่างไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วและไข้หวัดใหญ่ประจำปีในอดีตในประชากรสหรัฐถ้ามีประชากรเท่ากับปี 2010 ใช้สีเหมือนกับภาพติดกัน[94]

ในปี 2014 ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ (CDC) ได้เริ่มใช้แผน Pandemic Severity Assessment Framework (PSAF) เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคระบาดทั่ว[91]PSAF ใช้แทนที่ดัชนีความรุนแรงโรคระบาดทั่ว (PSI) ของสหรัฐซึ่งเป็นแบบจำลองเชิงเส้น, สมมุติว่าโรคระบาดในอัตราร้อยละ 30 และวัดค่าอัตราตายของผู้ป่วยรายโรค (CFR)[upper-alpha 2] เพื่อประเมินความรุนแรงและวิถีการดำเนินของโรคระบาดทั่ว[95]

ดั้งเดิมแล้ว ความรุนแรงของโรคระบาดทั่วจะวัดด้วยค่าอัตราตายของผู้ป่วยรายโรค (CFR)[upper-alpha 2][96]ซึ่งอาจไม่ดีพอในช่วงการตอบสนองต่อการระบาดทั่วของโรคเพราะเหตุต่าง ๆ รวมทั้ง[94]

  • จำนวนผู้เสียชีวิตอาจล่าช้าหลังเกิดกรณีโรคเป็นเวลาหลายอาทิตย์ ซึ่งก็จะทำให้ CFR เป็นค่าประเมินน้อยเกิน
  • จำนวนกรณีโรคอาจไม่สามารถรู้ได้ทั้งหมด ซึ่งก็จะทำให้ CFR เป็นค่าประมาณมากเกิน[97]
  • ค่า CFR เดียวสำหรับประชากรทั้งหมดอาจอำพรางผลต่อกลุ่มประชากรย่อยที่อ่อนแอ เช่น เด็ก คนชรา ผู้มีโรคเรื้อรัง และกลุ่มเชื้อชาติพันธุ์ต่าง ๆ
  • ความตายอาจไม่ได้แสดงผลของโรคระบาดทั่วทั้งหมด เช่น การขาดงาน หรืออุปสงค์ในการไปหาหมอ

เพื่อข้ามข้อจำกัดในการวัดด้วยค่า CFR อย่างเดียว PSAF จึงวัดความรุนแรงของโรคระบาดเป็น 2 มิติ คือความรุนแรงของโรคในคนไข้และการติดต่อได้ของโรคในกลุ่มประชากร[94]แต่ละมิติสามารถวัดได้ด้วยค่ามากกว่าหนึ่งอย่าง

ใกล้เคียง

การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 เรียงตามประเทศและดินแดน การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศทาจิกิสถาน การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศซาอุดีอาระเบีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบังกลาเทศ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ http://www.eletrica.ufsj.edu.br/~nepomuceno/refere... http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNew... http://www.france24.com/en/20090917-france-donate-... http://www.horizonpress.com/avir http://www.influenzareport.com/ir/ai.htm http://archive.jsonline.com/news/usandworld/437051... http://www.merck.com/mmhe/sec17/ch198/ch198c.html http://www.themalaysianinsider.com/index.php/world... http://www.timberlanebooks.com/cruel_wind_desc.sht... http://www.nap.edu/books/0309095042/html/115.html