เหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่ว ของ การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่

หนังสือปี 1921 ระบุเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่ว 9 เหตุการณ์ก่อนไข้หวัดใหญ่ปี 1889-90 โดยระบุเหตุการณ์แรกในปี 1510[6]ส่วนแหล่งอ้างอิงปี 2006 อ้างว่ามี 6 เหตุการณ์[29]

ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วที่สำคัญ ๆ ยุคปัจจุบัน[30][31]
ชื่อ ปี ประชากรโลก ชนิดย่อย Reproduction number[32] คนติด (คนโดยประมาณ) คนตายทั่วโลก (คน) อัตราป่วยตาย ระดับความรุนแรง
ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่ว
ค.ศ. 1889-1890[33]
1889-1890 1,530 ล้าน น่าจะ H3N8 หรือ H2N2 2.10 (IQR, 1.9-2.4)[33] 20-60%[33] (300-900 ล้าน) 1 ล้าน 0.10-0.28%[33] 2
ไข้หวัดใหญ่สเปน[34] 1918-20 1,800 ล้าน H1N1 1.80 (IQR, 1.47-2.27) 33% (500 ล้าน)[35] หรือ >56% (>1 พันล้าน)[36] 17[37] - 100[38][39] ล้าน 2-3%,[36] หรือ ~4% หรือ ~10%[40] 5
ไข้หวัดใหญ่เอเชีย 1957-58 2,900 ล้าน H2N2 1.65 (IQR, 1.53-1.70) >17% (>500 ล้าน)[36] 1-4 ล้าน[36] <0.2%[36] 2
ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง 1968-69 3,530 ล้าน H3N2 1.80 (IQR, 1.56-1.85) >14% (>500 ล้าน)[36] 1-4 ล้าน[36] <0.2%[36] 2
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009[41][42] 2009-10 6,850 ล้าน H1N1/09 1.46 (IQR, 1.30-1.70) 11-21% (700-1,400 ล้าน)[43] 151,700 - 575,400[44] 0.03%[45] 1
ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล[t 1] ทุกปี 7,750 ล้าน A/H3N2, A/H1N1, B, ... 1.28 (IQR, 1.19-1.37) 5-15% (340-1,000 ล้าน)[46]3-11% หรือ 5-20%[47][48](240-1,600 ล้าน) 290,000 - 650,000/ปี[49] <0.1%[50] 1
หมายเหตุ
  1. อาจไม่ใช่การระบาดทั่ว แต่แสดงไว้เพื่อเปรียบเทียบ

ไข้หวัดใหญ่สเปน (1918-1920)

ดูบทความหลักที่: ไข้หวัดใหญ่สเปน

ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่ว ค.ศ. 1918 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไข้หวัดใหญ่สเปน เป็นการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ระดับ 5 (ตาม Pandemic Severity Index ของสหรัฐ) ซึ่งรุนแรงมากสุด มีเหตุจากสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่กลุ่ม A ในกลุ่มย่อย H1N1 ที่รุนแรงและอันตรายผิดปกติ

การตายแจกแจงตามอายุในเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่ว ค.ศ. 1918 เทียบกับการระบาดปกติจำนวนตายต่อประชากรแสนคนในกลุ่มอายุแต่ละกลุ่มในสหรัฐ (เส้นตัด) สำหรับโรคระบาดธรรมดาปี 1911-1917 (เส้นทึบ) สำหรับโรคระบาดทั่วปี 1918[51]

การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่สเปนเกิดระหว่างปี 1918-1920[52]ดั้งเดิมประเมินคนตายระหว่าง 40-50 ล้านคน[53]ค่าประเมินปัจจุบันอยู่ที่ 50-100 ล้านคนทั่วโลก[26]เหตุการณ์นี้ได้เรียกว่า "เป็นเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ทางการแพทย์ซึ่งหนักที่สุดในประวัติศาสตร์" และอาจทำให้คนเสียชีวิตเท่ากับเหตุการณ์กาฬมรณะ[54]แม้กาฬมรณะจะประเมินว่าได้ทำให้ประชากรโลกเกิน 1/5 เสียชีวิต[55]ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าจำนวนคนมหาศาลที่ตายเพราะไข้หวัดใหญ่สเปนนี้มีเหตุจากอัตราการติดเชื้อที่สูงมากคือร้อยละ 50 และอาการที่รุนแรงมาก ซึ่งน่าจะมาจากภาวะที่เรียกว่าพายุไซโตไคน์[53]อาการในปี 1918 แปลกมากจนกระทั่งว่า โรคตอนแรกวินิจฉัยผิดว่าเป็นไข้เด็งกี อหิวาตกโรค หรือไข้รากสาดน้อยผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งบันทึกไว้ว่า "ภาวะแทรกซ้อนที่เด่นอย่างหนึ่งก็คือการตกเลือดจากเยื่อเมือกโดยเฉพาะจากจมูก ท้อง และลำไส้เลือดออกจากหูและจุดเลือดออกในผิวหนังก็เกิดด้วยเหมือนกัน"[26]การตายโดยมากเป็นเพราะปอดบวมเหตุแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการติดเชื้อทุติยภูมิเนื่องกับไข้หวัดใหญ่ แต่ไวรัสก็ทำให้คนเสียชีวิตโดยตรงเหมือนกัน โดยเป็นเหตุของการตกเลือดอย่างรุนแรงและอาการบวมน้ำในปอด[56]

ไข้หวัดใหญ่สเปนเป็นการระบาดทั่วโลกจริง ๆ เพราะระบาดไปถึงแม้เขตอาร์กติกและเกาะเล็กเกาะน้อยในมหาสมุทรแปซิฟิกโรคที่รุนแรงผิดปกตินี้ทำให้คนติดเชื้อเสียชีวิตร้อยละ 10-20 เทียบกับไข้หวัดใหญ่ระบาดปกติซึ่งมีอัตราตายร้อยละ 0.1[26][51]ลักษณะพิเศษอีกอย่างก็คือโรคโดยมากทำให้ผู้ใหญ่วัยเยาว์เสียชีวิต คือคนตายเพราะโรคร้อยละ 99 เป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 65 ปี และเกินครึ่งเป็นผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20-40 ปี[57]นี่ผิดปกติเพราะไข้หวัดใหญ่ทั่วไปเป็นอันตรายที่สุดต่อเด็กอายุน้อยมาก (น้อยกว่า 2 ขวบ) และคนชรามาก (มากกว่า 70 ปี)อัตราตายทั้งหมดของโรคปี 1918-1919 ประเมินอยู่ที่ 50-100 ล้านคน ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 3-6 ของประชากรโลกคนเสียชีวิตภายใน 25 สัปดาห์แรกอาจถึง 25 ล้านคนเทีบกับโรคเอชไอวี/เอดส์ที่ทำให้คนเสียชีวิต 25 ล้านคนภายใน 25 ปีแรก[26]

ไข้หวัดใหญ่เอเชีย (1957-1958)

ไข้หวัดใหญ่เอเชียเป็นการระบาดทั่วรุนแรงระดับ 2 ของไข้หวัดนกที่เกิดในประเทศจีนตั้งแต่ต้นปี 1956 จนถึงปี 1958เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อในเป็ดป่าโดยรวมยีนกับเชื้อสายพันธุ์มนุษย์ที่มีอยู่แล้ว[58]ไวรัสระบุแรกสุดที่มณฑลกุ้ยโจว[59]แล้วระบาดไปยังสิงค์โปร์ในเดือนกุมภาพันธ์ 1957 ไปถึงฮ่องกงเดือนเมษายน และสหรัฐเดือนมิถุนายนสหรัฐมีจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 116,000 คน[60]คนแก่อ่อนแอต่อโรคที่สุด[61]จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกประเมินต่าง ๆ กันโดยอยู่ที่ระหว่าง 1-4 ล้านคน

ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (1968-1969)

ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงเป็นการระบาดทั่วรุนแรงระดับ 2 ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 ซึ่งเกิดมาจากสายพันธุ์ H2N2 โดยยีนจากชนิดย่อยหลายชนิดได้รวมเข้าชุดใหม่ผ่านกระบวนการเลื่อนแอนติเจน (antigenic shift) กลายเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ปี 1968-1969 ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคนทั่วโลก[62][63]ผู้มีอายุเกิน 65 ปีมีอัตราการตายสูงสุด[61]สหรัฐมีผู้เสียชีวิต 1 แสนคน[64]

ไข้หวัดใหญ่ H1N1/09 (2009-2010)

ความเจ็บป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ที่ไม่ทราบสาเหตุได้เกิดระบาดขึ้นในประเทศเม็กซิโกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2009ในวันที่ 24 เมษายน 2009 หลังจากได้แยกเชื้อไข้หวัดใหญ่ A/H1N1 จากคนไข้ 7 คนในสหรัฐตะวันตกเฉียงใต้ องค์การอนามัยโลกได้แถลงการณ์ว่า มีรายงานคนไข้ที่ยืนยันว่ามีเชื้อ A/H1N1 ในประเทศเม็กซิโก และมีรายงานยืนยัน 20 กรณีในสหรัฐวันรุ่งขึ้น จำนวนกรณียืนยันก็เพิ่มขึ้นเป็น 40 รายในสหรัฐ, 26 รายในเม็กซิโก, 6 รายในแคนาดา และ 1 รายในสเปนแล้วโรคก็ได้ระบาดอย่างรวดเร็วในฤดูใบไม้ผลิที่เหลือ จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม ได้มีกรณียืนยันถึง 787 กรณีทั่วโลก[65]วันที่ 11 มิถุนายน องค์การอนามัยโลกได้ประกาศการระบาดของไข้หวัดใหญ่ A/H1N1 ซึ่งมักเรียกอีกอย่างว่าไข้หวัดใหญ่สุกรว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วเหตุการณ์แรกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยได้ระบุสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสไข้หวัดใหญ่กลุ่ม A ชนิดย่อย H1N1 ในเดือนเมษายน 2009[66]ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกลายพันธุ์ (แบบการเข้าชุดยีนใหม่หรือ reassortment) ของสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่กลุ่ม A ชนิดย่อย H1N1 ที่รู้จักแล้ว 4 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หนึ่งเกิดเฉพาะในมนุษย์ อีกสายพันธุ์หนึ่งเกิดในนก และอีกสองสายพันธุ์ในสุกร[67]การระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสใหม่นี้น่าจะเป็นเพราะสารภูมิต้านทานที่มีอยู่แล้วภายในประชากรมนุษย์ไม่อำนวยให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน[68]

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2009 องค์การอนามัยโลกได้ให้อัปเดตว่า "เขตต่าง ๆ รวมทั้งประเทศ อาณาเขต และชุมชน 199 แห่งได้รายงานอย่างเป็นทางการว่า มีกรณีการติดไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่ว H1N1 ที่ยืนยันโดยห้องปฏิบัติการทั้งสิ้น 482,300 กรณี รวมทั้งผู้เสียชีวิต 6,071 ราย"[69]เมื่อเหตุการณ์ได้ยุติลงแล้ว มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเชื้อ H1N1 ที่ยืนยันโดยห้องปฏิบัติการ 18,000 ราย[70]แต่เพราะประเทศหลายประเทศสอดส่องดูแลประชาชนทางสาธารณสุขอย่างไม่เพียงพอ จำนวนกรณีคนไข้และผู้เสียชีวิตน่าจะมากกว่าที่รายงานมากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ รวมทั้งองค์การอนามัยโลกเองได้เห็นพ้องกันว่า มีคนเสียชีวิตเพราะโรคประมาณ 284,500 ราย ซึ่งเป็นจำนวน 15 เท่าของผู้เสียชีวิตที่ประเมินในเบื้องต้น[71][72]

ใกล้เคียง

การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 เรียงตามประเทศและดินแดน การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศทาจิกิสถาน การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศซาอุดีอาระเบีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบังกลาเทศ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ http://www.eletrica.ufsj.edu.br/~nepomuceno/refere... http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNew... http://www.france24.com/en/20090917-france-donate-... http://www.horizonpress.com/avir http://www.influenzareport.com/ir/ai.htm http://archive.jsonline.com/news/usandworld/437051... http://www.merck.com/mmhe/sec17/ch198/ch198c.html http://www.themalaysianinsider.com/index.php/world... http://www.timberlanebooks.com/cruel_wind_desc.sht... http://www.nap.edu/books/0309095042/html/115.html